การพัฒนาประสิทธิภาพการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจเพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามการพัฒนาที่ยั่งยืนของกลุ่มคนทำงานในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

บุรินทร์ เหมทัต
สุดา สุวรรณาภิรมย์
วัลลภ รัฐฉัตรานนท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับของพฤติกรรมการใช้งานเฟซบุ๊ก รูปแบบการสื่อสาร เนื้อหา การสื่อสาร ภาพลักษณ์องค์กรการพัฒนา และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามการพัฒนาที่ยั่งยืนของกลุ่มคนทำงานในกรุงเทพมหานคร และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามการพัฒนาที่ยั่งยืนของกลุ่มคนทำงานในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างการวิจัยขนาดกลุ่มตัวอย่าง 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเพื่อนำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเชิงอนุมานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญภาพลักษณ์องค์กรการพัฒนามากที่สุด รองลงมาคือ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า ปัจจัยรูปแบบการสื่อสาร มากที่สุด รองลงมา ปัจจัยภาพลักษณ์องค์กรการพัฒนา เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามการพัฒนาที่ยั่งยืนของกลุ่มคนทำงานในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงมหาดไทย. (2565). จำนวนและสัดส่วนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามกลุ่มวัย (วัยเด็ก วัยแรงงาน วัยสูงอายุ) เพศ ภาค และจังหวัด พ.ศ. 2555 – 2565. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย.

ชันยนันต์ สมถวิลผ่องใส ไชยอนันต์ ตรีไพบูลย์ ทวีศักดิ์ แสงเงิน ปิ่นปินัทธ์ นฤนากบุญทรัพย์ และเกษมศรี วรวัสสิริ. (2565). เฟซบุ๊ก: ความเสี่ยงของเครือข่ายสังคมออนไลน์ยุคดิจิทัล. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(44), 461-470.

น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2558). เครือข่ายสังคมในสังคมเครือข่าย Social network in a networked society. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 8(2), 119-127.

ประวีณา พลเขตต์ และเจษฎา ศาลาทอง. (2561). การรับรู้และการรู้เท่าทันสื่อของผู้ชมรายการชัวร์ก่อนแชร์. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 4(3), 47-62.

ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2553). การตลาดแนวใหม่ผ่าน Social Media. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เมธาวี จำเนียร และเมธี แก้วสนิท. (2561). การสื่อสารสุขภาพเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีของคนในชุมชน. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 24(2), 155-166.

อัศน์อุไร เตชะสวัสดิ์. (2561). แบรนด์องค์กรที่ยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 38(3), 120-132.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

Kotler, P., Kartajaya, H. & Setiawan, I. (2021). Marketing 5.0: Technology for Humanity. Hoboken. N.J.: Wiley.

Schramm, W. (1973). The Process and Effects of Mass Communication. Schramm, W., and Robert, D. (eds.). Urbana, III.: University of Illinois Press.