ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา อาชีวศึกษาเอกชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ณภาภัช ก้องสิริบวรกุล
นิษฐ์วดี จิรโรจน์ภิญโญ
กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 เล่ม และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหารสำนักบริหารการอาชีวศึกษาเอกชนและผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสรุปการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษา เอกชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 5 ปัจจัยคือ 1) มีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม 2) การจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ดี 3) การพัฒนาบุคลากรคุณภาพ 4) เน้นคุณภาพงานวิชาการ 5) การจัดการความรู้เพื่อการเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชุติมา จันทร์ประเสริฐ กมลมาลย์ไชยศิริธัญญา และสุขุม มูลเมือง (2664). รูปแบบความเป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารวิจัยวิชาการ, 4(4), 143-156.

ชุลีพร อร่ามเนตร. (2562). ยกระดับคุณภาพคนไทย 4.0 เรียนรู้ สร้างนวัตกรรม พลเมืองเข้มแข็ง. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2565, จาก https://www.komchadluek.net/news/edu-health/365993.

โด่งสยาม โสมาภา. (2559). การวิเคราะห์ปัจจัยและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารจัดการสถานศึกษาเอกชนเพื่อรับรางวัลพระราชทาน.วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(1), 101-121.

ทิวา แจ้งสุข. (2558). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยการตลาดในการบริหารสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผู้เรียน.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 38(3), 67-75.

พระมหาสุพิชฐพล ชิตวิริโย (เชื้อกุล), พระฮอนด้า วาทสทฺโท, พระครูปลัดบุญช่วย โชติวํโส (2565). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร,10(3),1031-1046.

สิน งามประโคน, พีรวัฒน์ ชัยสุข, พระครูภัทรธรรมคุณ, พระมหาสมบัติธนปญฺโญ และเกษม แสงนนท์. (2562). การบริหารการศึกษา : แนวคิด ทฤษฎี และรูปแบบการบริหารจัดการ. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 6(3),134-146.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

DuBrin, A.J. (2007). Leadership Research Findings, Practice and Skill. 5th ed. Boston: Houghton Mifflin.

Fayol, Henry. (2004). “Administration Industrielle et generale”. Bulletin de la Societe de l’Industrie Minerale, fifth series, 10(3), 5-162.

Henderson, Iain S. (2008). Managerial Competencies: three dimension to managerial effectiveness. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566, จาก http://www.alummi.absmba.com/ablmmi/pdf/managerial competencies.pdf.

Morgan, F. (2008). What makes an excellence school. Retrieved May 8, 2023, from https://kcsdblog.wordpress.com/2008/01/01/ what-makes-an-excellent-school/.