การพัฒนาชุมชนสุขภาวะและการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทุกช่วงวัยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

ดังนภสร ณ ป้อมเพชร
สมศักดิ์ เจริญพูล
จันทรกานต์ ทรงเดช
ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต์
สุชาดา โทผล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ความต้องการและศักยภาพชุมชน รวมทั้งรูปแบบชุมชนสุขภาวะและการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทุกช่วงวัยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จัดทำคู่มือชุมชน  สร้างแกนนำกิจกรรมชุมชน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง 20 คน และสัมมนากลุ่มย่อย 2 ครั้ง ข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพนำมาวิเคราะห์ตามกรอบของ CIPP model ก่อนทำการอบรมแกนนำตามคู่มือที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ผลการศึกษาพบว่า สภาพการณ์ด้านสุขภาวะมีค่าที่ร้อยละ 84.95-97.96 ด้านการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีค่าร้อยละ 72.96-83.67 ส่วนสภาพการณ์ด้านชุมชนและด้านความต้องการของประชาชนเพื่อการพัฒนาเป็นชุมชนสุขภาวะ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านรูปแบบชุมชนสุขภาวะประกอบด้วยกิจกรรม 4 ประเภท ได้แก่ 1) การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน 2) การดูแลสุขภาพกายด้วยตนเอง 3) การออกกำลังกาย และ 4) อาหารสุขภาพโดยกิจกรรมดังกล่าวต้องมีลักษณะกิจกรรมดังนี้ 1) กิจกรรมมีลักษณะที่ประชาชนสามารถทำด้วยตนเองได้ 2) กิจกรรมที่ทำต้องใช้เวลาน้อย ไม่เป็นอุปสรรคในการประกอบอาชีพ และ 3) กิจกรรมที่ทำหากต้องมีอุปกรณ์หรือวัตถุดิบประกอบต้องสามารถหาได้ง่ายจากชุมชน และผู้วิจัยได้ทำการอบรมแกนนำประประชาชนที่สนใจกว่า 60 คนผ่านคู่มือที่พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์ 3 ได้แก่ 1) ลูกประคบสมุนไพรสด 2) น้ำพริกอบสมุนไพร และ 3) คัฟเค็กกล้วยน้ำว้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองยุทธศาสตร์การพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ๙ ย่างสู่ความยั่งยืน วิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ:บริษัทสตูดิโอ เอชคิว จำกัด.

กัญจน์นพร แทนรินทร์. (2564). บทบาทของผู้บริหารท้องถิ่นในการพัฒนาพื้นที่ในเขตอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารการจัดการภาครัฐและเอกชน, 3(3), 110-119.

กัมพล เพ็ชรล้อมทอง, สุรภา เอมสกุล และธนัสถา โรจนตระกูล. (2564). กระบวนการสร้างชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนแบบพึ่งพาตน. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(12), 354-368.

ธีรชัย เทพนอก. (2565). ภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(8),309-326.

นิภาวรรณ เจริญลักษณ์, เริงวิชญ์ นิลโคตร และชาตรี ลุนดำ. (2566). การวิจัยและพัฒนาเครือข่ายจิตอาสาในการสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มเปราะบางในชุมชน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(3), 848-861.

บรรจบ แสนสุข และคณะ. (2566). การประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อสำหรับผู้สูงอายุ จังหวัดยโสธร. วารสารสาธารณสุขชุมชน, 9(3), 179-190.

ปชาบดี แย้มสุนทร, พระครูสมุห์จิรชาติ พุทธรกฺขิโต และ พระครูจิตรการโกวิท สิรินนฺโท. (2565). การพัฒนาสุขภาวะชุมชนภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดชลบุรี. วารสารปัญญา, 29(2), 38-53.

พินทุสร โพธิ์อุไร. (2562). แนวคิดว่าด้วยการเสริมพลังชุมชนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพัฒนาสังคม, 21(2), 64-77.

วรัสยาพร พงศธรไชยภัทร์ และปนดา เตชทรัพย์อมร. (2565). การรับรู้บทบาทและอุปสรรคด้านการสร้างเสริมสุขภาพของนักกายภาพบำบัดไทยในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ. วารสารกายภาพบำบัด, 44(3), 159-179.

วีระยุทธ พรพจน์ธนมาส. (2565). การศึกษาเปรียบเทียบการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือวิจัยด้วยเทคนิค IOC, CVR และ CVI. รังสิตสารสนเทศ, 28(1), 169-192.

ศิริรุ่ง ภัทรเศวต. (2566). ความรับผิดชอบและคุณธรรมที่พึงประสงค์ของผู้นำองค์กรภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาล. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 6(2), 160-172.

สมพงษ์ เกษานุช และคณะ. (2562). บทบาทผู้นำกับกระบวนทัศน์ในการพัฒนาชุมชน. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 1(3), 293-306.

สำนักเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561- 2580). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

องค์การบริหารส่วนตำบลโคกโคเฒ่า. (2565). สภาพและข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://www.kokkothao.go.th/index.php.

Weiskopf, D. C., (1982). Recreation and leisure: Improving the quality of life. Allyn and Bacon: MA.