มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิดสิทธิ ในเครื่องหมายการค้า

Main Article Content

ปริญญา ศรีเกตุ
เกรียงไกร กาญจนคูหา
ศิริพงษ์ โสภา

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎี มาตรการทางกฎหมาย และปัญหาของการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน กรณีที่มีการละเมิดเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขกฎหมายให้มีการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยค้นคว้าข้อมูลจากตำราและตัวบทกฎหมายของไทยและต่างประเทศ บทความ เอกสารประกอบการอบรม งานวิจัย ข้อมูลจากเว็ปไซต์ทางอินเตอร์เน็ต ตลอดจนแนวคำพิพากษาของไทย และต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าจากการศึกษาพบว่า หลักกฎหมายที่ใช้ในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนและการลงโทษ ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้น ไม่สามารถเยียวยาความเสียหายที่แท้จริงที่ผู้เสียหายได้รับเนื่องจากขาดการกำหนดค่าสินไหมทดแทน ที่เหมาะสมกับความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับจากการกระทำของผู้ละเมิด จึงเห็นว่าควรมีการบัญญัติหลักกฎหมายการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เพื่อสามารถเยียวยาความเสียหายได้อย่างแท้จริง


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2565). ทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้ความตกลงค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) ยุคใหม่. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2566, จาก https://www.dtn.go.th/th/content /category /detail/id/42/cid/1517/iid/10975.

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2566). สาระสำคัญความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2566, จาก https://www.dtn.go.th.

กรมทรัพย์สินทางปัญญา.(2566). ทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับผู้ประกอบการเครื่องหมายการค้า สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2566, จาก https://www.ipthailand.go.th/images/Promote/3_book_TM.pdf.

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2567). สถิติการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญารายเดือน ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ และกรมศุลกากร ปี พ.ศ. 2567. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2567, จาก https://www.ipthailand.go.th/th/protect-005/item/staticpp_dipmonth -febuary67 -tha.html?category_id=2168.

เฉลิมชัย ก๊กเกียรติกุล.(2566).ความเป็นมาของความตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา (TRIPS Agreement) สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2566, จาก http://chalermchai-nbtc.blogspot.com/2013/06/ 1_7395.html.

เนติบัณฑิตยสภา. (2565). Week 4 ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2566, จาก https://thethaibar.or.th/thaibarweb/files/Data_web/dowloads_doc/term1/watchara/w4.pdf.

วารีย์ นาสกุล และจรัญ ภักดีธนากุล.(2567). คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้.กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน

ยรรยง พวงราช.(2563). ทรัพย์สินทางปัญญากับการพัฒนาธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2566,จาก https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Creator/personDc/82274.

สนธิกาญจน์ เพื่อนสงคราม. (2566). บทความวิทยุเรื่อง พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2434 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link. php? nid=1816.

สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ. (2566). คำอธิบายคำพิพากษาฎีกาที่ 9523/2544. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2566, จาก https://deka.in.th/view-44073.html.