แนวทางการจัดการที่พักแบบนักเดินทางของชุมชนเกาะมะพร้าว จังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

วริสา ราชกิจชอบ
ณัฐวุฒิ เหมาะประมาณ
นงเยาว์ ประสมทอง
ฉัตรมณี ประทุมทอง
วีรภัทร์ โชติวิริยะกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว บริบทการจัดการที่พักนักเดินทาง และสร้างแนวทางการพัฒนาการจัดการที่พักนักเดินทางของชุมชนเกาะมะพร้าว จังหวัดภูเก็ต ใช้วิจัยแบบผสมผสาน พื้นที่วิจัย คือชุมชนเกาะมะพร้าว จังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ นักท่องเที่ยว จำนวน 400 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา ความถี่ ร้อยละ นำผลการศึกษาที่ได้ใช้เป็นประเด็น ในการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้นำกลุ่มการท่องเที่ยว ผู้นำชุมชน ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ที่สนใจ ตัวแทนหน่วยงาน จำนวน 15 ราย วิเคราะห์ผลข้อมูลด้วยเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมผู้ใช้บริการมีการกำหนดงบประมาณในการท่องเที่ยวต่อครั้ง 10,000 – 20,000 บาท ระยะเวลาในการเข้าพัก 30 คืน ขึ้นไป ทราบข้อมูลที่พักจากคำแนะนำของเพื่อน สื่อออนไลน์ผ่าน Hostel world ได้รับอิทธิพลจากความคิดเห็นผ่านทางอินเตอร์เน็ต การเลือกห้องพักแบบห้องส่วนตัว เดินทางตามแผนที่กำหนด ไม่ประสงค์เข้าร่วมกิจกรรม และจะแนะนำเพื่อนให้มาใช้บริการ ให้ความสำคัญกับราคาถูก 2) บริบทการจัดการที่พักแบบนักเดินทางในด้านความสะอาด ความปลอดภัย และความเป็นธรรม อยู่ในระดับมาก สำหรับด้านความสะดวก และรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาที่พักแบบนักเดินทาง และ 3) ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องให้ความสำคัญด้านความสะอาดของที่พัก ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย การแสดงอัตราค่าบริการที่ชัดเจน และการรักษาสิ่งแวดล้อม ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ การผสมผสานระหว่างการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นจะส่งผลดีทั้งต่อชุมชน เปิดโอกาสให้ผู้เข้าพักได้เรียนรู้และสัมผัสกับวัฒนธรรมของชาวบ้านในแบบที่ไม่ได้พบจากที่พักแบบเดิม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและกีฬากระทรวงการ. (2563). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2563 (Tourism Statistics 2020). สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2566, จากhttps://www.mots.go.th/news/category/592

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ : สำนักงานพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนิตา ขวัญทอง และกัลยา สวางคง. (2564).พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปในการมาท่องเที่ยว เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร, 4(2). 166-182.

ชลิต เฉียบพิมาย และทัศนีย์ สิราริยกุล. (2564). แนวทางการพัฒนาคุณภาพบริการธุรกิจที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบทเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาบ้านปราสาทโฮมสเตย์ จังหวัดนครราชสีมา. RMUTI JOURNAL Humanities and Social Sciences, 8(1), 82-94.

ชิดชนก อนันตมงคลกุล และกัญญาพัชร์ พัฒนาโภคินสกุล. (2560). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 15(2), 1-20.

ธนาวิทย์ บัวฝ้าย และสุทธิพรรณ ชิตินทร. (2562). การพัฒนาที่พักสำหรับการท่องเที่ยวชุมชน ตำบลบ้านส้องอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 6(1), 231-250.

ธารนี นวัสนธี, สุขุม คงดิษฐ์, วรรษา พรหมศิลป์, เบญจพร เชื้อผึ้ง, ธาริดา สกุลรัตน์, จุฬารัตน์ ชัยพิทักษ์ และบุญสมหญิง พลเมืองดี. (2560). แผนการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนสามเรือน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Area Based Development Research Journal, 9(3), 167-177.

ปราชญ์ ปุณณศุภารมย์ และขวัญฤทัย ครองยุติ. (2564). ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้าพักโฮสเทล อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(1), 183-199.

วัชรินทร์ เกิดทรัพย์. (2561). พฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มโอเชียเนียช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(2). 127-138.

สมเกียรติ แดงเจริญ, เพ็ญนภา หวังที่ชอบ และสุภลัคน์ จงรักษ์. (2566). แนวทางการพัฒนาโฮมสเตย์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ของชุมชนเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 17(2),129-140.

สริตา ศรีสุวรรณ และบงกช เดชมิตร (2562). แนวทางการจัดการที่พักแบบโฮมสเตย์ให้คงเสน่ห์ และแตกต่างอย่างมีอัตลักษณ์เพื่อตอบโจทย์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(1), 1-13.

อรไท ครุฑเวโม, วสันต์ จันทร์ประสิทธิ์, วรพจน์ ตรีสุข และวริสา ราชกิจชอบ. (2561). การพัฒนาแผนแม่บทการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(2), 206-230.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.

Mouratidis, K., Peters, S., & van Wee, B. (2021). Transportation technologies, sharing economy, and teleactivities: Implications for built environment and travel. Transportation Research Part D: Transport and Environment, 92, 102716. https://doi.org/10.1016/j.trd.2021.102716.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R.K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch, 2,49–60.

Streimikiene, D., Svagzdiene, B., Jasinskas, E., & Simanavicius, A. (2021). Sustainable tourism development and competitiveness: The systematic literature review. Sustainable development, 29(1), 259-271

World Economic Forum. (2020a). The Future of Jobs Report 2020. Retrieved January 7, 2023, from https://www.weforum.org/reports