แนวทางในการบริหารจัดการศึกษาภาษาญี่ปุ่น เพื่อการบริบาลผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น

Main Article Content

ชีวิน สุขสมณะ
จรัญญา เทพพรบัญชากิจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการศึกษาภาษาญี่ปุ่นเพื่อการบริบาลผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น และปฏิบัติงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน 1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักบริหารการจัดการศึกษาภาษาญี่ปุ่นเพื่อการบริบาลผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น และ 2. ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการศึกษาภาษาญี่ปุ่นเพื่อการบริบาลผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ 1) ผู้อำนวยการโรงเรียนบริบาลผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น 3 คน 2) อาจารย์ผู้สอนภาษาญี่ปุ่นเพื่อการบริบาลผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นทั้งชาวไทยและชาวญี่ปุ่น 9 คน 3) ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นเพื่อการบริบาลผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น 4 คน และ 4) ผู้สูงอายุที่ได้รับการบริบาล 4 คน จาก 3 โรงเรียน ทั้งในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น โดยทำการคัดเลือกแบบเจาะจงรวมทั้งสิ้น 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างการวิเคราะห์ข้อมูล จากแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการสร้างข้อสรุปตามประเด็นจากการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า แนวทางในการบริหารจัดการศึกษาภาษาญี่ปุ่นเพื่อการบริบาลผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นและปฏิบัติงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น จำแนกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ ) ด้านการใช้หลักสูตร 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านอาจารย์ผู้สอน 4) ด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ 5) ด้านการวัดและประเมินผล 6) ด้านการศึกษาข้ามวัฒนธรรม (ไทย-ญี่ปุ่น)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญาภร เผือกวิสุทธิ์. (2561). ญี่ปุ่นเผยแผนดึงแรงงานต่างชาติเข้าประเทศ. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.thebangkokinsight.com/51453/.

เจแปนฟาวน์เดชั่น. (2559). สภาพปัจจุบันของการเรียนการสอน การสอนภาษาญี่ปุ่นในต่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2562, จาก https://www.jpf.go.jp/j/about/ press/2016/dl/2016-057-2. pdf.

ฉันทนา จันทร์บรรจง. (2560). การปฏิรูปการศึกษา-ญี่ปุ่น. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2557). การหนุนเสริมและเตรียมความพร้อมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่เรื่องการทำงานข้ามวัฒนธรรมเพื่อเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. สาขาวิชา บริหารธุรกิจ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีเสริมต่อให้กับนักศึกษาที่เรียนกระบวนวิชา เทคนิคการฝึกอบรมเพื่อจัดฝึกอบรมให้กับผู้สูงอายุ. การนำเสนอในงานวันประชุมทางวิชาการครั้ง ที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2560). การเรียนรู้ลักษณะการจัดการ: การจัดการข้ามวัฒนธรรม. เชียงใหม่: The Knowledge Center.

เพ็ญพร บางอร. (2562). แนวทางการบริหารจัดการระบบบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนสบเมยวิทยาคม อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน.วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(1), 3-11.

นิดา ลาภศรีสวัสดิ์. (2558). บุคลากรที่มีความรู้ด้านภาษาญี่ปุ่น ในประเทศไทยพึงประสงค์. วารสารเจแปนฟาวน์เดชั่น. 18 (12), 1-117.

สกาวรัตน์ ศิริมา. (2562). คนทำงานต้องมีความสุขก่อน หัวใจบริบาลผู้สูงอายุญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2566, จาก https://www.komchadluek.net/news/394665.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2562). ส่งเสริมแรงงานไทยสู่ตลาดแรงงานญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2566, จาก https://www.thaihealth.or.th/

สำนักงานข่าวเจาะลึกระบบสุขภาพ. (2560). 2544-2643 โลกเข้าสู่ศตวรรษแห่งผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม2567, จาก https://www.hfocus.org/content/2015/04/9734.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดปรารถนา ดวงแก้ว. (2562). สถานการณ์ขาดแคลนแรงงานและนโยบายเปิดรับแรงงานต่างชาติของญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2567, จาก http://www.ias.chula.ac.th/ias/th/Article-Detail.php?id=40.

Japan Foundation. (2023). JFT-basic The Japan Foundation Japanese Language Basic Test. Retrieved December 9, 2023, from https://www.jpf.go.jp/jft-basic.

Konstantyuk, Liina. (2004). Communicative language teaching methodology and the Teaching of Ukrainian. Master Abstracts International, 42(1), 51.

Ministry of Education. (2008). The basic education core curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok: Kurusapa Ladprao Publishing.

Ministry of Health Labor and Welfare. (2021). Educational Material of Specified Skill System (For Foreign Nationals with Specified Skills). Retrieved November 30, 2023, from https://www.mhlw.go.jp/content/11130500/000767142.pdf

Ministry of Foreign Affairs of Japan. (2023). SSW. Retrieved December 30, 2023, from https://www.th.emb-japan.go.jp/itpr_th/ssw/overview/