แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 149 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 2) การพัฒนาแนวทาง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจากสถานศึกษาที่มีแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 3 แห่ง ในจังหวัดหนองคาย รวมทั้งสิ้น 9 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 3) ประเมินแนวทางการพัฒนา ประเมินความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความเหมาะสม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มี 5 ด้าน เรียงลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุดดังนี้ การบริหารจัดการหลักสูตรและการเรียนการสอน การกำหนดภารกิจ การนิเทศและการประเมินผลการสอนของครู การตรวจสอบความก้าวหน้าของผู้เรียน และการเสริมสร้างบรรยากาศ ทางวิชาการ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 5 ด้าน รวมทั้งสิ้น 29 แนวทาง โดยใช้หลักการเรียนรู้ 70 : 20 : 10 สำหรับการพัฒนา 3) ผลการประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมมีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรองกาญจน์ อรุณเมฆ. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กษมา ชนะวงศ์. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษดีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ธนิต รัตนศักดิ์ดา. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก.
บุญร่วม เทียมจันทร์และศรัญญา วิชชาธรรม. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 - 2580 พร้อมหัวข้อเรื่องทุกมาตราฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : เดอะลอว์กรุ๊ป จำกัด.
รวิภา ศรีวัตร. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สำนักงาน กศน.จังหวัดหนองคาย. (2565). รายงานสรุปผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2566, จาก http://nongkhai.nfe.go.th/nongkhai/.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานแนวทางการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี่.
สุธิกานต์ บริเอก. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.