การเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สกินแคร์ ประเภทบำรุงผิวหน้า ของสตรีในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

หทัยชนก บุญช่วย
สมยศ อวเกียรติ
สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สกินแคร์ ประเภทบำรุงผิวหน้าของสตรีในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ 2) วิเคราะห์พฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สกินแคร์ ประเภทบำรุงผิวหน้าของสตรีในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ สตรีที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร จำนวน 385 ราย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็นด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกใช้แบบสอบถาม ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับสถิตอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (MRA) ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของสตรีในเขตกรุงเทพมหานครด้านอายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันจะมีการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สกินแคร์ประเภทบำรุงผิวหน้าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่สำหรับด้านสถานภาพ และอาชีพที่แตกต่างกันจะมีการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สกินแคร์ประเภทบำรุงผิวหน้าไม่แตกต่างกัน และ 2) วัตถุประสงค์ในการเปิดรับสื่อออนไลน์เป็นปัจจัยด้านพฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สกินแคร์ประเภทบำรุงผิวหน้าของสตรีในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การตลาดออนไลน์. (2566). เปิด พฤติกรรมนักช้อป ออนไลน์ของคนไทย ปี 2022, สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566, จาก https://digitorystyle.com/online-shopper.

ขนิษฏา กลีบยี่สุ่น. (2561). พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ในการเข้าถึงข้อมูลด้านศัลยกรรมความงามของผู้บริโภค. สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฐานิสร ไกรกังวาร. (2561). การตัดสินใจซื้อครีมกันแดดทาผิวกายของลูกค้าในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 9(3), 202-212.

พัสพล เฉลิมบงกช. (2564). การตัดสินใจซื้อของสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์เสริมความงามในกลุ่มลูกค้าผู้หญิงที่ซื้อสินค้าออนไลน์ กรณีศึกษา Central Online. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เพชรรัตน์ อนันต์เศรษฐการ และ เสาวนีย์ มะหะพรหม. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภคที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 5(3), 91-102.

ศิริพัทร บุญพิมพ์, วีรพงษ์ พวงเล็ก. (2565). การเปิดรับสื่อโฆษณาบนสื่อสังคมออนไลน์และการรู้เท่าทันสื่อโฆษณา ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเครื่องสำอางของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยธรรมศึกษา ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สํานักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 5(1), 176-187.

สาริศา เทียนทอง (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวออร์แกนิคแบรนด์ไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุภัสตรา สุขทองสา, วัชระ ยี่สุ่นเทศ. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อครีมบำรุงผิวหน้าของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 5(1), 264-265.

สำนักบริหารการทะเบียนกรมการปกครอง. (2566). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566. จาก https://stat.bora.dopa.go.th /stat /statnew/ statMONTH/statmonth/#/mainpage.

Best, John W. (1981). Research in Education. 3rd ed., Englewood Clifs, New Jersey: Prentice-Hall.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques.New York: John Wily & Sons.

Rovinelli, R.J. and Hambleton, R.K. (1977). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Tijdschrift Voor Onderwijs Research, 2,49-60.