การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการ เชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดล สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดแสมดำ

Main Article Content

ไวทยา ปิยรุ่งโรจน์
กัญณภัทร หุ่นสุวรรณ
สมาพร มณีอ่อน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดแสมดำ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 70 2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดแสมดำ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ประชากร ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวัดแสมดำ ทั้งหมด 107 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้วิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความก้าวหน้าทางการเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 21.60 คิดเป็นร้อยละ 72 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 2) ความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียน มีค่าเท่ากับ 0.63 (<g> = 0.63) อยู่ในระดับปานกลาง หรือคิดเป็นร้อยละ 63 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดลอยู่ในระดับมาก ( = 4.34, S.D. = 0.68)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนการกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่25). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพ: สุวีริยาสาส์น

ไพลิน หนูเปีย. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปาโมเดล (CIPPA Model) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. โรงเรียนวัดโนนสะเดา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประศึกษาพิจิตร เขต 1.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เสฎฐวุฒิ ไกรศรี และสมจิตรา เรืองศรี. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการ โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA Model) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อรุณี ทองปัน. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. โรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสาราญ จังหวัดอุบลราชธานี.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York : Harper Collins Publisher

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis. (6th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Hake, R. R. (1998). Interactive-engagement vs traditional methods: A six-thousand-student survey of mechanics test data for introductory physics courses. American Journal of Physics,66, 64.