การพัฒนาการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาร่วมกับประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปรากฏการณ์เรือนกระจก ของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

พิมพกานต์ ลาบุตรดี
อาภาพรรณ ประทุมไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 2) เปรียบเทียบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อน และหลังการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบ One Group Pretest-Posttest Design โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนกลุ่มโรงเรียนจุน 2 สังกัด สพป.พะเยา เขต 2 จำนวน 32 คน ที่ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนของแต่ละโรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาร่วมกับประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ 2) แบบทดสอบวัดสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ และ 3) แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบหาค่าที (dependent sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนอยู่ในระดับ 3 โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 58.97 (=17.69, S.D.= 3.31) โดยสมรรถนะความสามารถในการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นมากที่สุด และนักเรียนมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์เฉลี่ยหลังเรียน อยู่ในระดับมาก (=2.51, S.D.= 0.15) โดยด้านความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นมากที่สุด 2) นักเรียนมีสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนักเรียนมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2566 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

จตุรภัทร มาศโสภา,ธารทิพย์ ขุนทอง และบุษยารัตน์จันทร์ประเสริฐ. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมการรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. Journal of Roi Kaensarn Academi,7(2),1-5.

ชวนพิศ คณะพัฒน์, ธีรพงษ์ แสงประดิษฐ์, มนัส บุญประกอบ, และประสงค์ เมธีพินิตกุ, (2559). ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการใช้ปัญหานาทางและการวิพากษ์วิจารณ์ทางสังคมและแนวคิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสังคมเพื่อส่งเสริมการรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 6(11), 67-80.

ณัฐธิดา นาคเสน, ถาดทอง ปานศุภวัชร, และนิติธาร ชูทรัพย์. (2563). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง พลังงานในชีวิตประจำวัน สำหรับชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 43(2), 31-42.

ดุสิต ทองสุขนอก, และณัฐกานต์ ศาสตร์สูงเนิน. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง โยเกิร์ตข้าว. วารสาร บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 19(84), 128-138.

ธนวรรษน์ เหง้าดา, ศศิเทพ ปิติพรเทพิน, ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง และพงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ. (2565). สภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เป็นฐาน โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 45(2), 53-68.

นารีมะห์ วาโด. (2566). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(5), 389-403.

บัณฑิตา อินสมบัติ, สิริพร ปานาวงษ์ และอนงค์นาถ ยิ้มช้าง. (2560). การยกระดับคุณภาพผู้เรียนจากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 12(34), 39-50.

พัทธดนย์ อุดมสันติ. (2560). การพัฒนาการรู้วิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง แสงและทัศนูปกรณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

มนตรี จุฬาวัฒนทล. (2556). สะเต็มศึกษาประเทศไทยและทูตสะเต็ม (STEM Education Thailand and STEM Ambassadors). นิตยาสาร สสวท, 42(185), 14-18.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ ความเป็นเลิศและความเท่าเทียมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ. บริษัท ซัคเซสพับลิเคชั่น จำกัด.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ. บริษัท ซัคเซสพับลิเคชั่น จำกัด.

แสงแก้ว พานจันทร์. (2562). การจัดการเรียนรู้ตามแนวประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องระบบหมุนเวียนเลือด และระบบภูมิคุ้มกัน และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารชุมชนวิจัย, 13(3),212-224.

อภิชาติ พยัคฆิน. (2564). การเสริมสร้างสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อสะเต็มศึกษาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวสะเต็มศึกษา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 12(2), 128-139.

Herman C. B. , Sadler D. T., Zeidler L. D.,and Newton H. M.. (2018). A Socioscientific Issues Approach to Environmental Education.International Perspectives on the Theory and Practice of Environmental Education: A Reader, 145-161. https://DOI:10.1007/978-3-319-67732-3_11.

Sadler D. T.. (2004). Informal Reasoning Regarding Socioscientific Issues: A Critical Review of Research. Journal of research in science teaching, 41(5), 513-536.

Sole, F. B. (2021). Implementation of STEM-Based Learning for Strengthening Science Literacy of Students. Jurnal Penelitian Pendidikan IPA, 7 (Special Issue), 382-388.

Zeidler L. D. (2016). STEM education: A deficit framework for the twenty first century? A sociocultural socioscientific response. Cultural Studies of Science Education, 11(1), 11–26.