การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถ ด้านการอ่านจับใจความการคิดวิเคราะห์ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 4) ประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านจับใจความ การคิดวิเคราะห์ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 34 คน ปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านจับใจความ การคิดวิเคราะห์ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถการอ่านจับใจความ แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ จากการสัมภาษณ์ครู ผู้เชี่ยวชาญ และผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ควรใช้นิทานที่มีเนื้อเรื่องที่สนุกสนาน ให้ความรู้ การคิดวิเคราะห์ และปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ควบคู่กันไป (2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.83/84.56 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (3) ผลความสามารถทางการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ อยู่ในระดับดีมาก และคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับดีเยี่ยม และ (4) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกวรรณ นามวิจิตร. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีOK5R เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
จิตรลดา อ้นวงษา และคณะ. (2562). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง แม่กลองบ้านเรา โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร,17(2), 49-63
ธนภัทร จันทร์เจริญและทัศนีย์ ชาติไทย.(2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอบภาษาไทยตามแนวคิดเออแอลซีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นประถมศึกมาปีที่ 6. วารสารสุทธิปริทัศน์, 39(96),27-40.
ปฏิญญา โกมลกิติสกุล. และ ทรงภพ ขุนมธุรส.(2566). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ OK5R ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด.Journal of Modern Learning Development,8(10),169-185.
ปาริชาติ นามน้าวแสง และคณะ. (2563). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิค S4R. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 14(2),121-129.
ปิยวรรณ บุญฤทธิ์. (2561). ผลการใช้วิธีสอนอ่านแบบ OK5R ร่วมกับนิทานพื้นบ้านจังหวัดพัทลุงที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด จังหวัดพัทลุง.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มยุรี หอมขจร. (2560). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความเเละความภาคภูมิใจในท้องถิ่นด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรารักเพชรบุรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิไลลักษณ์ ไชยอาจ. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความด้วยวิธีการอ่านแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สำนักการศึกษาเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี. (2563). รายงานกิจกรรมประจำปี 2562 เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี. สุพรรณบุรี : สุพรรณการพิมพ์.
สุขาดา ปีติพร. (2559). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ในวิชาภาษาไทย (สาระที่ 5 วรรณคดี วรรณกรรม) โดยใช้กระบวนการกลุ่ม .วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.