คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนกวดวิชายุคใหม่

Main Article Content

กรกฤช ศรีวิชัย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนกวดวิชายุคใหม่ โดยทำการศึกษาและวิเคราะห์บนพื้นฐานของแนวคิด ทฤษฎี และการวิจัย ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันของโลกมีความเจริญก้าวหน้า   ในหลายๆ ด้าน แต่ก็มีปัญหามากมายเกิดขึ้นตามมา โดยแต่ละปัญหาก็มีความซับซ้อนมากกว่าที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ดังนั้นผู้บริหารโรงเรียนกวดวิชาสมัยใหม่จึงจำเป็นต้องมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่พร้อมจะปรับเปลี่ยนวิธีการคิดและมีการเตรียมความพร้อมในการบริหารและจัดการสถานศึกษาในรูปแบบใหม่ที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งจากภายในและภายนอกสถานศึกษาที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ (1) การมีวิสัยทัศน์และความเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง (Vision) (2) ความรอบรู้ในศาสตร์และศิลป์ที่หลากหลาย (Knowledge) (3) การมีทักษะในการบริหารสถานศึกษาที่มีความยืดหยุ่นและแตกต่างตามบริบทและสถานการณ์ (Skills) (4) การมีความรู้และความสามารถในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ (Apply) (5) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากองค์กรภายนอกและรับฟังข้อเสนอแนะจากทีมงาน ผู้ปกครองและนักเรียน (Team Work) หรือเรียกว่า VK-SAT เพื่อขับเคลื่อนสถานศึกษาไปสู่เป้าหมายของความสำเร็จที่ได้ตั้งไว้ โดยให้ครอบคลุมภาระงานของโรงเรียนกวดวิชาใน 6 ด้าน คือ (1) งานวิชาการ (2) งานธุรการและงานทั่วไป (3) งานกิจการนักเรียน (4) งานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม (5) งานเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา และ (6) งานสื่อสารและส่งเสริมการตลาด


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กมลวรรณ พันธุ์ดำหริ. (2564). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนนอกระบบประเภทกวดวิชาสู่มาตรฐานการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่. วารสารครุศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 6(1), 25-44.

กานต์ บุญศิริ, และพจนารถ พรเจริญวิโรจน์. (2557). ภาวะผู้นำกับการเป็นนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, 8(1), 1-16.

นิติบดี ศุขเจริญ, บุษรา อวนศรี, และเรวดี อันนันนับ (2561). ปัจจัยการขยายตัวของความต้องการเรียนกวดวิชา. Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะมหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(1), 1883-1897.

นำโชค อุ่นเวียง. (2564). โลกในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2564. จาก https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/34764

ปทุมพร เปียถนอม. (2563). ภาวะผู้นำการศึกษายุคการแทนที่ด้วยสิ่งใหม่กับทิศทางการศึกษาไทย.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 10(3), 115-123.

ปัญญา ศิริโกไศยกานนท์. (2559). กลยุทธ์ทางการตลาดธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (19 สิงหาคม 2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 74ก. หน้า 5 และ หน้า 16.

ยุทธชาติ นาห่อม. (2564). การบริหารสถานศึกษา บนฐานความปกติใหม่. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พ.ศ. 2564 (น. 1208-1217). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วารุณี พูนพิพัฒน์กิจ. (2564). แบบจำลองความสำเร็จของโรงเรียนกวดวิชาในประเทศไทย. วารสาร วิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 16(2), 239-265

สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2564). โรงเรียนกวดวิชาเงาสะท้อนความเหลื่อมล้ำและล้มเหลวของการศึกษาไทย. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2564, จาก https://research.eef.or.th/

สนุก สิงห์มาตร, พิกุล มีมานะ, และดุษฎีวัฒน์ แก้วอินทร์ (2560). คุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรในศตวรรษที่ 21. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พ.ศ. 2560 (น. 490-491). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560–2579. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

อัญชลี ศรีวิชัย. (2563). กลยุทธ์การบริหารและการจัดการโรงเรียนกวดวิชาที่สอดคล้องกับการศึกษายุคดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

Bray. (1999). The Shadow Education System: Private Tutoring and Its Implications for Planners.The United Nations Educational, Scientific and Cultural.

Goldsmith, Marshall. (2000). The Global Leader of the Future: New Competencies for a New Era. Retrieved April 28, 2024, from http://www.marshallgoldsmithlibrary.com/cim/articles_display.

Soldo A., & Powell S. (2011). The Phenomenon of Private tutoring in BiH. Network of Education Policy Centers.