ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกอาชีพของนักศึกษา ในสาขาด้านศิลปะการประกอบอาหาร ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกอาชีพของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในสาขาด้านศิลปะการประกอบอาหาร ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกอาชีพของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในสาขาด้านศิลปะการประกอบอาหาร ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางสำหรับสถานประกอบการในการกำหนดนโยบาย รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยเก็บรวบรวมจากแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด และสัมภาษณ์เชิงลึก (In Dept Interview) ผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 7 คน เครื่องที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured interview) การวิจัยเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบไคสแควร์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมของงาน มีความสัมพันธ์กับการเลือกอาชีพมากที่สุด ปัจจัยภายใน ได้แก่ ด้านความสนใจและความสามารถ มีความสัมพันธ์กับการเลือกอาชีพมากที่สุด 2) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ พบว่าปัจจัยด้านภูมิลำเนาเดิม มีความสัมพันธ์กับ การเลือกอาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เพียงด้านเดียว 3) แนวทางสำหรับสถานประกอบในการกำหนดยโยบายเพื่อจูงใจมีดังนี้ 1) สถานประกอบการควรมีโครงการสนับสนุนสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ 2) สถานประกอบการควรมีการจัดสรรผลตอบแทนและสวัสดิการให้ตรงกับความต้องการของนักศึกษา 3) สถานประกอบการควรเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีการแสดงศักยภาพในการทำงานของตนอย่างเต็มที่ 4) สถานประกอบการควรมี การสร้างความเชื่อมั่นให้แก่บุคคลภายนอก และควรรักษาภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชิงเชิง แก้วก่า, สาธิยา กลิ่นสุคนธ์, รัชดาพร คำแก้ว. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกงานของนักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย, 17(3), 62-79.
นรารัตน์ รอดแดง, ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง, ชาญเดช เจริญวิริยะกุล. (2565). การตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย เขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 12(12), 733-742.
บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน).(2566). วิกฤต…แรงงาน! ปัญหาใหญ่! “ร้านอาหาร-บริการ”. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.prachachat.net/marketing/news-1209905.
ไพรินทร์ บุญญสิริสกุล. (2559). ความพึงพอใจในหลักสูตรและความคาดหวังในการประกอบอาชีพของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(5), 167-175.
รัตนศักดิ์ เนียมโสภา. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานศูนย์ติดตั้งลับำรุงรักษาอุปกรณ์ตอนนอก บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จังหวัดสมุทรปราการ. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
วิจัยกรุงศรี. (2566).แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยปี 2566-2568. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/summary-outlook/industry-outlook-2023-2025.
องค์การกระจายเสียงและ แพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย.(2566). เอกชนเสนอรัฐเอ็มโอยูสถานศึกษาแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลน. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2566, จากhttps://www.thaipbs.or.th/news/content/323841.
อดิเรก นวลศรี, ณิชาภา ยศุตมธาดา, Wang Heng. (2560). ปัจจัยในการเลือกอาชีพของนักศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2555). วารสารช่อพะยอม มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 28(1), 115-124.
อภิณัฏฐ์ ทรัพย์มาก. (2557). ปัจจัยจูงใจบุคลากรในการเลือกประกอบอาชีพรับราชการโดยเปรียบเทียบกลุ่มที่เข้ารับราชการในช่วงก่อนและหลังการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติ
อาคเนย์ ถาเกิด. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกองค์การในการทำงานของกลุ่ม เจนเนอเรชั่น วายผ่านบริษัทจัดหางานแห่งหนึ่ง ย่านอโศก ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เอกรินทร์ ศุภรณ์พานิช. (2557). การศึกษาความต้องการทางอาชีพของผู้จบการศึกษาดนตรีในระดับ ปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุริยางคศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชา สังคีตวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.
Thaipublica. (2566).แนวโน้มตลาดแรงงานภาคการท่องเที่ยวหลังยุคโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2566, จาก https://thaipublica.org/2023/01/nida-sustainable-move17/?fbclid=IwAR1QxaK-sP4h97v_kUBq9dftiALGc8-QdmKtkFyW6uEQPyre9BhotgPniUs.