ศึกษาสภาพของการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบนพื้นที่สูง ในถิ่นทุรกันดารที่มีระดับความยุ่งยากมากที่สุด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบนพื้นที่สูง ในถิ่นทุรกันดาร ที่มีระดับความยุ่งยากมากที่สุด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน 1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. ศึกษาสภาพการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการตอบแบบสอบถาม จำนวน 258 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ จำนวน 24 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า1. ผลการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่ามี 3 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบที่ 1 กระบวนการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วย 1) การวางแผน 2) การจัดองค์กร 3) การจัดบุคลากรปฏิบัติงาน 4) การอำนวยการ 5) การประสานงาน 6) การรายงาน องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินการตามระบบการดูแลช่วยเหลือ ประกอบด้วย 1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) การคัดกรองนักเรียน 3) การส่งเสริมพัฒนานักเรียน 4) การป้องกันและแก้ไขปัญหา 5) การส่งต่อนักเรียน องค์ประกอบที่ 3 บทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูประจำชั้น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สภานักเรียน และผู้ปกครองสภานักเรียน 2. สภาพของการบริหารของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร ที่มีระดับความยุ่งยากมากที่สุดของ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ พบว่ามีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมสุขภาพจิต.(2552). ภาวะสุขภาพจิต องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกษา. รายงานสรุปการทะเลาะวิวาทและปัญหาการใช้ความรุนแรงของนักเรียนนักศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: คณะกรรมมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม.
กฤษฎิ์ณิชา พุทจิระ.(2564). การพัฒนารูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนวัดจันทรารม (ตั้งตรงจิตร5) เน้นสมรรถนะประจำสายงานของครูประจำชั้น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
ณฐพัฒน์ ถุงพลอย (2564). การพัฒนาคู่มือการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ธิตินัดดา สิงห์แก้ว. (2562). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจร PDCA : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดป่าตึงห้วยยาบ อําเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566, จาก www.obec.go.th/about.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3. (2565). กลุ่มส่งเสริมการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2566 จาก https://www.cmarea3.go.th/2566.