ผลการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบ JIGSAW ร่วมกับ STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตแบบสามมิติของนักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตแบบสามมิติ กลุ่มนักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทั้งก่อนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบ JIGSAW ร่วมกับ STAD 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 หลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบ JIGSAW ร่วมกับ STAD กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนในระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแท่นทัพไทย จำนวน 15 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และเครื่องมือที่ใช้ครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยมีการใช้รูปแบบ JIGSAW ร่วมกับ STAD รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตแบบสามมิติ ในระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 จำนวน 1 หน่วยการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ เรื่อง รูปเรขาคณิตแบบสามมิติ ในระดับประถมศึกษาชั้นปที่ 6 3) แบบวัดความพึงพอใจหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรูแบบร่วมมือโดยใชรูปแบบ JIGSAW ร่วมกับ STAD สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย และการทดสอบค่าที ค่าความเที่ยงตรง ค่าอำนาจจำแนก และค่าความยากง่าย ผลการศึกษางานวิจัยในครั้งนี้ ซึ่งพบว่า 1) ค่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตแบบสามมิติ หลังจากการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ โดยการใช้รูปแบบ JIGSAW ร่วมกับ STAD มีค่าสูงขึ้นมากกว่าก่อนเรียน โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบ JIGSAW ร่วมกับ STAD โดยรวมแล้วอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กัญญารัตน์ นามสว่าง ศรัณย์ ภิบาลชนม์ และ สมศิริ สิงห์ลพ. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค JIGSAW ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 8(1), 100-113.
จันทรา อุ้ยเอ้ง. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาคณิตศาสตร์เบื้องต้น. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
ทอฝัน แววกระโทก. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD รายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(2), 27 – 42.
ปรีชา วันโนนาม. (2565). ได้ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติและปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก โดยวิธีการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 1(1), 51 – 62.
พงษ์ลัดดา ปัญญาจิรวุฒิ และคณะ. (2567). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง จำนวนเชิงซ้อน รายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับครูฟิสิกส์ 1 ด้วยการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้เทคนิค JIGSAW. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(1), 162 – 175.
พิศิษฐ ตัณฑวณิช และพนา จินดาศรี. (2561). ความหมายที่แท้จริงของค่า IOC. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(2), 3-12.
ภควดี สุดสงวน. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน เรื่องความน่าจะเป็นเบื้องต้น โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์. วารสารครพิบูล, 7(1), 145 – 156.
ศิริวิมล หล้าหนูเหมา. (2566). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรูคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษสวนด้วยการจัดการเรียนรูแบบร่วมมือเทคนิค STAD ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 9(2), 155 – 167.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สู่ผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
อรญา เติมโพก. (2563). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเส้นขนาน โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย. วารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา, 4(2). 34 – 39.