การพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทย กรณีศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายภาครัฐในการส่งเสริมอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทยผ่านการศึกษา Eco-system ของอุตสาหกรรมยางพารา รวมถึงการวิเคราะห์แนวทางเพิ่มมูลค่าและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันอุตสาหกรรมยาง จากกรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้กระบวนการวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล (In-depth interview) โดยผลการศึกษาพบว่า รัฐควรดำเนินมาตรการดังนี้ 1. แก้ไขโครงสร้างการผลิตของอุตสาหกรรมยางพารา 2. มาตรการรวมกลุ่มการผลิตของอุตสาหกรรมยางพารา 3. มาตรการการสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 4. มาตรการตรวจสอบย้อนกลับ และ มาตรการการใช้ยางภายในประเทศ โดยพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และ เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZ)ควรรวมกลุ่มคลัสเตอร์บนพื้นฐานการผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยอุตสาหกรรมนำร่อง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์สนับสนุนการแปรรูปล้อยางกลุ่มผลิตภัณฑ์จากน้ำยางข้น และกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จำพวกยางรองเท้าและไม้ยาง ซึ่งหากเกิดการรวมกลุ่มจะทำให้มีมูลค่าการลงทุน 8.8 หมื่นล้านบาท จากการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในที่เกิดจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 6.8 แสนล้านบาท การส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง 2 แสนล้านบาทส่งผลต่อความต้องการใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้น 1.1 ล้านตัน สามารถสร้างงานในพื้นที่ 45,000 คน เกษตรกรชาวสวนยางจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 22,000 บาทต่อไร่ รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. (2565). ปริมาณการส่งออกยางพาราของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=MenucomRecode&ImExType=1&Lang=Th.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. (2565). ตลาดส่งออก 15 อันดับแรกของไทยรายสินค้ายางพารา. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=MenucomTopNRecode&Option=3&Lang=Th&ImExType=1.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). ยางพารา : เนื้อที่ยืนต้น เนื้อที่กรีดได้ ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ รวมทั้งประเทศ รายภาค และรายจังหวัด ปี 2563. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/para%20rubber63.pdf
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2563). สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 9 มิถุนายน 2563. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2566, จากhttps://www.thaigov.go.th.
สุธี อินทรสกุล, บัญชา สมบูรณ์สุข และปุรวิชญ์ พิทยาภินันท์. (2560). อุตสาหกรรมยางพาราไทย: สถานภาพและแนวทางการพัฒนาสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8, 80-107.
Buenstorf, G. & Klepper, S. (2010). Why does entry cluster geographically? Evidence from the US tire industry. Journal of Urban Economics, 68, 103-104.
Kawano, M. (2019). Changing Resource-Based Manufacturing Industry: The Case of the Rubber Industry in Malaysia and Thailand. Emerging States at Crossroads.
Rick Doner and George Abonyi. (2013). Upgrading Thailand’s Rubber Industry:Opportunities and Challenges. Thammasat Economic Journal, 31(4), 44-66.