การศึกษากลยุทธ์การสื่อสารตลาดออนไลน์เพื่อเพิ่มยอดขายและสร้างมูลค่าเพิ่มในธุรกิจอาหารเสริม

Main Article Content

พิทยุช ญาณพิทักษ์
ญาณกร วรากุลรักษ์
พรทวี พูลกลาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ของธุรกิจอาหารเสริม 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านสื่อออนไลน์ของธุรกิจอาหารเสริม การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยา โดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) จำนวน 4 คน ได้แก่ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ซึ่งเป็นผู้ดูแลภาพรวมการสื่อสารทุกกลุ่ม ผู้จัดการอาวุโส ซึ่งเป็นผู้ดูแลการสื่อสารกลุ่มอาหารเสริมประเภทยา และวิตามินเพื่อสุขภาพ ผู้ช่วยผู้จัดการอาหารเสริมประเภทยา และวิตามินเพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นผู้ดูแลการสื่อสารกลุ่มอาหารเสริมประเภทยา และวิตามินเพื่อสุขภาพ ฝ่ายกลยุทธ์และ การวางแผนการตลาดออนไลน์ ซึ่งเป็นผู้วางแผนกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ผู้ให้ข้อมูลประกอบเนื้อหา จำนวน 3 คน ได้แก่ ผู้ที่เคยใช้อาหารเสริมประเภทยา และวิตามินเพื่อสุขภาพ และศึกษาข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี  ผลการวิจัยพบว่ากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ของธุรกิจอาหารเสริม ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การเข้าใจแบรนด์ 2) การเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย 3) การสื่อสารที่ชัดเจน และ 4) การเข้าถึงทุกช่องทางที่ผู้บริโภค อยู่ และแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจอาหารเสริม เช่น การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งใหม่ที่ผู้บริโภคจะได้รับการสร้างคุณค่าที่มากกว่าการคาดหวังของผู้บริโภค การเพิ่มยอดขายจากปริมาณการซื้อของผู้บริโภค และความหลากหลายของผู้บริโภคในการซื้ออาหารเสริม และการสร้างความภักดีต่อแบรนด์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตนัน ดีเด่นกีรติสกุล และ ดวงกมล ชาติประเสริฐ. (2565). การรับรู้คุณค่าผลติภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไทยของผู้บริโภคภายในประเทศ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 17(2), 31-58.

กัญญ์ญาณัฐ จึงพัฒนา. (2563). ทัศนคติและแนวทางการพัฒนาขนมไทยในประเทศสิงคโปร์. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

เกศินี บัวดิศ และกัลยา พิมพเพราะ. (2564). การสรางแบรนดใหประสบความสําเร็จดวยเครื่องมือนวัตกรรมทางการสื่อสารการตลาด. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(2), 308-320.

จิราภรณ์ ถึงสุข และวสุธิดา นุริตมนต์. (2562). การรับรูการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ และการสื่อสารแบบปากต่อปากผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 21(2), 113-129.

เจษฎา อธิพงศวณิช. (2565). อิทธิพลของการตัดสินใจซื้อสินค้าบน Social media ที่ส่งผลต่อความภักดีต่อ แบรนด์ของผู้บริโภคในเขตภาคกลางของประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 11(2), 32-46.

ณัฐหทัย สุทธิวงษ์. (2562). โครงการเอพีโอ 18-AG-44-GE-WSP-B: Workshop on Value-added Agriculture .อิสลามาบัด,ปากีสถาน.

ต่อพงศ์ ผ่องชนะ. (2565). กลยุทธ์การจัดการธุรกิจร้านขนมไทยคุณเอ๋จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ทวีศักดิ์ รูปสิงห์และ พรรษวดี พงษ์ศิริ. (2565). กลยุทธ์การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์กลุ่มเกษตรอินทรีย์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันยุคดิจิตัล. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(3), 472-488.

นันท์นภัส กุนดี. (2564). กลยุทธ์การตลาดดิจิทัล ปัญหาเเละโอกาสของการส่งออกสินค้าเกษตร ผ่านรูปเเบบ B2B Marketplace ในยุคไทยเเลนด์4.0. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงกลยุทธ์. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปรียาพร พรมอารักษ์. (2563). ผลของการสื่อสารการตลาดผ่านแคมเปญ KING POWER #SHOPSAVE STAYSAFE ต่อแนวโน้มพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์เนมของผู้บริโภค. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการการจัดการสื่อสารองค์กร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรรณรุ้ง คุ้มพงษ์พันธ์. (2566). ทิศทางตลาดอาหารเสริมกับมูลค่าที่จะเติบโต 10% ตลอด 7 ปี. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2567,จาก https://www.thebusinessplus.com/.

รัชฎาภรณ์ พัฒนะ. (2563). แนวทางการเพิ่มมูลค่าข้าวของเกษตรกรตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(3), 89-99.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, (2565) การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย Thailand Internet User Behavior. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2567,จาก https://www.etda.or.th.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, (2564) การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย Thailand Internet User Behavior. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2567,จาก https://www.etda.or.th.

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2564). การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน มูลค่าเพิ่ม และความสามารถในการจัดการนวัตกรรม ของผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรมะม่วงเพื่อการส่งออก ในบริบทพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา.วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 41-54.