รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะ ตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีภาคเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบ และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบ การบริหารจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีภาคเหนือ การวิจัยเป็นแบบผสม ซึ่งมีทั้งเชิงปริมาณ และ เชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดด้านการบริหารจัดการเรียนรู้ และปัจจัยด้านการบริหารการจัดการเรียนรู้ และแนวคิดองค์ประกอบรูปแบบมากำหนดเป็นกรอบการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการวิทยาลัย และครู สังกัดวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีภาคเหนือ จำนวน 380 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง และวิทยาลัยต้นแบบที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นสูงสุดคือด้านการวางแผนและเตรียมการจัดการเรียนรู้ รองลงมาได้แก่ด้านการสร้างกระบวนการใช้สื่อการจัดการเรียนรู้ ด้านการสร้างการเรียนรู้ และด้านการประเมินผลการเรียนรู้ รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบหลัก 4 ประการ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการดำเนินงานของรูปแบบ 4) เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ ผลการประเมินพบว่า รูปแบบดังกล่าวมีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ในระดับสูงสุด ซึ่งสามารถนำไปใช้ในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นนี้มีศักยภาพในการยกระดับการศึกษาในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีภาคเหนือ โดยการประยุกต์ใช้ รูปแบบนี้ในสถานศึกษาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้และส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียนตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์.
ชยพล ธงภักดี. (2564). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สำหรับ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย. 15(4), 70-84.
ธนุ วงษ์จินดา. (2565). ผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง เพื่อการพัฒนาประเทศ.วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้, 7(2), 3-11.
บุญชม ศรีสะอาด (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสศาส์น.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2559). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
ประเวศ เวชชะ. (2561). การบริหารหลักสูตร การสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
พิจิตรา ธงพานิช. (2560). วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร.
สมมาตร เอียดฉิม. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท (อศ.กช.) โดยใช้อาชีพเป็นฐาน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น. สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.(2562). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. กรุงทพฯ: วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2556). กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2560). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สกศ.
Boyatzis. (1982). The Competent Manager. New York: John Wiley & Sons.
Hough and Duncan. (1970). Teaching: description and analysis. Reading, Mass., Addison-Wesley Pub. Co. Chicago.
Kaplan, & Norton. (2005). The balanced scorecard - measures that drive performance. Harvard Business Review, 70, 71-79.
McClelland, D. (1973). Testing for Competency Rather than for Intelligence. American Psychologist. 28(1),1 - 14.
Robbins. (1997). Management. (6th ed). Upper Saddle River, NJ : Prentice- Hall.