ปัจจัยด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคตในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกแห่งประเทศไทย

Main Article Content

วินัย รังสินันท์
วรเดช เพลิดพริ้ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประการแรก เพื่อศึกษาการจัดการทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคตในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกแห่งประเทศไทย ประการที่สอง เพื่อศึกษาความได้เปรียบในการแข่งขันของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคตในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกแห่งประเทศไทย  ประการที่สาม เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับความได้เปรียบในการแข่งขันของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคตในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกแห่งประเทศไทย และประการที่สี่ เพื่อศึกษาการพยากรณ์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ร่วมกับการพยากรณ์ความได้เปรียบในการแข่งขันของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคตในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกแห่งประเทศไทย การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน เชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารหัวหน้าองค์การ จำนวน 7 ราย เชิงปริมาณ  ประชากร คือ บริษัทอุตสาหกรรมยานยนต์ จำนวน 175 บริษัท ใช้ตัวอย่างจำนวน 440 ราย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติสหสัมพันธ์และความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และความได้เปรียบในการแข่งขันของกลุ่มอุตสาหกรรมในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกแห่งประเทศไทย พบว่า มีระดับความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก การจัดการทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์    มีความสัมพันธ์กับความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 76.5 (R-Square = .765) อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่า Tolerance = .304 - .386 ค่า VIF = 2.589 – 3.289 และค่า Durbin-Watson = 1.756

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2562). ข้อมูลโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมรวมถึงสถิติโรงงานที่ได้รับอนุญาตฯ รายเดือน และรายปี ตามพระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ.
2535. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2562, จาก https://www.diw.go.th/hawk/content.php? mode=data1search.
วีรวิชญ์ ปิยนนทศิลป์, ชุติมันต์ สะสอง, สุพจน์ คำมะนิด, บุปผา คำนวน, & กิตติ เขียวทอง. (2018).กลยุทธ์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน.
Mahamakut Graduate School Journal, 16 (2), 260-272.
โสรญา พิกุลหอม. (2561). ความต้องการแรงงานไทยในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ. 2561– 2570). สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 1(1), 1-18.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.). (2559). โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ ไทยแลนด์ 4.0. สืบค้นเมื่อเมื่อ 12 เมษายน 2563, จาก https://www.eeco.or.th.
Alajmi, S. A. et al. (2016). Human Resource Management Practices and Competitive Advantage : The Mediator Role of Person Organization Fit. Global Journal of Human Resource Management, 4 (1), 65-82.
Emeagwal, L., & Ogbonmwan, K. O. (2018). Mapping the perceived role of strategicHuman resource management practices in sustainable competitive advantage. Academy of Strategic Management Journal, 17 (2), 1-19.
Helmy, K. A., ElMokadem, M. Y., Abd el Bary, A., & El-Sayeh, M. (2018). THE IMPACTOF LOGISTICS PERFORMANCE ON COMPETITIVE ADVANTAGE: THE CASE OF FREIGHT TRANSPORTATION IN EGYPT. Journal of WEI Business and EconomicsApril, 7 (1).
Hosseini, A., Soltani, S., & Mehdizadeh, M. (2018). Competitive advantage and its impact on new product development strategy (Case study: Toos Nirro technical firm). Journal of Open Innovation: Technology, Market, and Complexity, 4 (2), 17.
Mullendore, C. (2019). Workplace deviance: Investigating the impact of human Resource management practices (Order No. 22592248). Available from ProQuest Dissertations & Theses Global. (2292041339). Retrieved from https://search.proquest. com/docview/ 2292041339?accountid=44377.
Ovesni, K. (2017). Interplay Between the Human Resource Development Activities and Organizational Commitment. European Journal of Multidisciplinary Studies,
2(7),40-52.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment Of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(1), 49-60.
Uraon, R. S. (2018). Examining the impact of HRD practices on organizationalCommitment and intention to stay within selected software companies in India. Advances in Developing Human Resources, 20 (1), 11-43.