ตัวบ่งชี้ทางภาษาแสดงความลังเลไม่มั่นใจ: ลักษณะทางภาษาที่ใช้จำแนกคำให้การจริงและเท็จ

Main Article Content

ภัทณิดา โสดาบัน
วิโรจน์ อรุณมานะกุล

Abstract

มีความเชื่อว่าเราสามารถจำแนกคนที่พูดความจริงกับคนที่พูดเท็จออกจากกันได้ด้วยการสังเกตอากัปกิริยาและภาษาที่ใช้ได้ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและยืนยันว่า ตัวบ่งชี้ทางภาษาแสดงความลังเลไม่มั่นใจสามารถใช้จำแนกคำให้การจริงออกจากคำให้การเท็จได้ โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้ผู้บอกภาษาจำนวน 60 คน ทั้งหมดจะได้ชมฉากฆาตกรรมฉากหนึ่ง จากนั้นจะได้รับคำสั่งให้ให้การตามสิ่งที่ได้เห็นในฐานะประจักษ์พยานทั้งที่เป็นจริงและเท็จ จากนั้นจะนับตัวบ่งชี้ทางภาษาแสดงความลังเลไม่มั่นใจและนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบความถี่การปรากฏ ซึ่งพบว่าคำให้การจริงและเท็จมีจำนวนความถี่การปรากฏที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ p<0.05 โดยคำให้การจริงมีความถี่การปรากฏที่สูงกว่า ดังนั้นจำนวนความถี่การปรากฏใช้ตัวบ่งชี้ทางภาษาแสดงความลังเลไม่มั่นใจที่ต่างกันนี้สามารถใช้จำแนกคำให้การจริงและเท็จได้

Article Details

Section
บทความวิทยานิพนธ์