การวิเคราะห์และเปรียบเทียบกลวิธีการขอร้อง ของผู้พูดชาวไทยและผู้พูดภาษาไทยชาวเกาหลี

Main Article Content

ยิ่งยศ กันจินะ

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มุ่งวิเคราะห์และเปรียบเทียบกลวิธีการขอร้องของผู้พูดชาวไทยและผู้พูดภาษาไทยชาวเกาหลีโดยศึกษาจากกลุ่มข้อมูล 50 คนแบ่งเป็นผู้พูดชาวไทย 25 คนและผู้พูดชาวเกาหลี 25 คน เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามชนิดเติมเต็มบทสนทนา ผลการศึกษาพบว่าผู้พูดทั้งสองกลุ่มใช้กลวิธีการขอร้องหลัก 4 ประเภทเหมือนกัน ได้แก่ 1) กลวิธีแบบตรงไปตรงมา (Direct strategy) 2) กลวิธีแบบอ้อมที่มีแบบแผน (Conventional indirect strategy) 3) กลวิธีแบบอ้อมที่ไม่มีแบบแผน (Non-conventional indirect strategy) และ 4) กลวิธีแบบไม่กล่าวถ้อยคำ (Withholding intentions)ทั้งนี้พบการใช้กลวิธีแบบตรงไปตรงมา (Direct strategy) ประเภทย่อย การแสดงว่าเป็นภาระหน้าที่ (Obligation statements) ในกลุ่มผู้พูดชาวเกาหลีแต่ไม่พบในกลุ่มผู้พูดชาวไทย ผลการศึกษานอกจากจะแสดงให้เห็นลักษณะที่เหมือนและต่างกันของการใช้กลวิธีการขอร้องของผู้พูดทั้งสองกลุ่ม ยังแสดงให้เห็นลักษณะทางอันตรภาษาของกลุ่มข้อมูลที่เป็นผู้พูดชาวเกาหลีที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชาพิมญชุ์ บุญวิทยา. (2550). การศึกษาเปรียบเทียบต่างกลวิธีตอบรับการขอโทษในภาษาญี่ปุ่นและภาษาไทย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีญี่ปุ่น). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ประภัสสร เจียมวงษา. (2558). กลวิธีการขอร้องของชาวพม่าผู้พูดภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง: การศึกษาตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ระหว่างภาษาและวัจนปฏิบัติศาสตร์ระหว่างวัฒนธรรม (ปริญญานิพนธ์ สาขาวิชาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ยางวอน ฮยอน. (2559). การศึกษากลวิธีแสดงความเห็นแย้งของนักศึกษาเกาหลีที่พูดภาษาไทยเป็นภาษาที่ 2 ในการสนทนาแบบแสดงความคิดเห็นในภาษาไทยตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์อันตรภาษา. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 34(2), 1-19.

รดารัตน์ ศรีพันธ์วรสกุล และณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2563). การศึกษาวัจนกรรมการแสดงความเห็นแย้งของผู้เรียนภาษาไทยชาวจีนตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์อันตรภาษา: กรณีศึกษานักศึกษาชาวจีนจากมณฑลยูนนานและกวางสี. วารสารวจนะ, 8(1), 1-26.

สุขใจ สัจจเทพ. (2555). การศึกษาความหลากหลายเชิงวัจนปฏิบัติศาสตร์: การตอบรับคำชมภาษาอังกฤษของผู้พูดชาวไทยและปัญจาบี (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุจริตลักษณ์ ดีผดุง. (2544). สถานภาพการวิจัยภาษาศาสตร์ในประเทศไทย: ระบบหน่วยคำถึงระบบประโยคและความหมาย. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 20(3), 21-41.

สุจริตลักษณ์ ดีผดุง. (2549). วัจนปฏิบัติศาสตร์เบื้องต้น. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: เอบิซ อินเตอร์กรุ๊ป.

ฮามัม สุปรียาดี. (2548). การศึกษาลักษณะวัจนกรรมที่ปรากฏในเว็บโฆษณาไทย-อินโดนีเซียตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Austin, J. L. (1975). How to Do Things with Words (2nd ed.). Oxford: Oxford University Press.

Blum-Kulka, S., House, J., & Kasper, G. (Eds). (1989). Cross-cultural pragmatics: requests and apologies. Norwood. NJ.: Ablex.

Blum-Kulka, S., & Olshtain, E. (1984). Requests and Apologies: A Cross-Cultural Study of Speech Act Realization Patterns (CCSARP). Journal of Applied Linguistics, 5(3), 196-213.

Boonkongsaen, N. (2013). Filipinos and Thais Saying “No” in English. Manusya: Journal of Humanities, 16(1), 23-40.

Brown, P., & Levinson, S. (1978). Universals in Language Usage: Politeness Phenomena. In E. Goody (Ed.), Questions and Politeness: Strategies in Social Interaction (pp. 56-310). Cambridge: Cambridge University Press.

Brown, P., & Levinson, S. (1987). Politeness: Some universals in language usage. Cambridge: Cambridge University Press.

Chen, R., He, L., & Hu, C. (2013). Chinese requests: In comparison to American and Japanese requests and with reference to the “East-West divide”. Journal of Pragmatics, 55, 140-161.

Goffman, E. (1967). Interaction Ritual: Essays in Face-to-Face Behavior. New York: Routledge.

Hall, E. T. (1959). The Silent Language. New York: Doubleday.

Hofstede, G. (2021). Country comparison. Retrieved June 28, 2021, from https://www.hofstede-insights.com/country-comparison/south-korea,thailand/.

Kanchina, Y. (2019). Speech act of requests in Thai spoken by Chinese as a second language: a pragmatic study of interlanguage (Unpublished doctoral dissertation). Mahidol University, Nakhon Pathom.

Searle, J. R. (1969). Speech acts: An essay in the philosophy of language. Cambridge: Cambridge University Press.

Searle, J. R. (1976). A classification of illocutionary acts. Journal of Language in Society, 5(1), 1-23.

Trosborg, A. (1995). Interlanguage pragmatics: Requests, complaints, and apologies. Berlin: Mouton de Gruyter.