การเมือง...เบื้องหลักละครโศกนาฏกรรมของกอร์แนย์

Main Article Content

นงนภัส ตาปสนันทน์

Abstract

ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นยุคสมัยแห่งความวุ่นวาย ไร้ระเบียบในประเทศฝรั่งเศส พระคาร์ดินาล ริเชอลิเยอ คือ "อัศวินขี่ม้าขาว" ที่เข้ามาบริหารบ้านเมืองให้เข้าสู่ความเป็นระบบ ปูทางสู่การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนถึงจุดสมบูรณ์สูงสุดในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แต่บนเส้นทางการเมืองสายนี้ ริเชอลิเยอต้องใช้ความจริงจัง เด็ดขาด ยากที่จะหลีกเลี่ยงต่อการเป็นคน "มื้อเปื้อนเลือด" ได้ การต่อต้านรูปแบบต่างๆ จึงเกิดขึ้นภายใต้การปกครองที่ประชาชนขาดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น วรรณกรรมคือรูปแบบหนึ่งที่นักเขียนในสังคมเผด็จการมักใช้เป็นสื่อเผยแพร่เพื่อวิพากษ์วิจารณ์ผู้มีอำนาจ กอร์แนย์คือหนึ่งในนักเขียนบทละครที่มีชื่อเสียงที่สุดของยุคนั้นที่อาจหาญใช้บทละครวิพากษ์นโยบายฝ่ายรัฐ ละคร 4 เรื่องของกอร์เนย์คือ Le Cid, Horace, Cinna และ Polyeucte แสดงพัฒนาการทางความคิดของพลเมืองคนหนึ่งที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัย และต้องการสะท้อนสิ่งไม่ถูกต้องที่เกิดขึ้นในสังคม กอร์แนย์นับว่าเป็นนักเขียนคนแรกๆ ที่ใส่ใจในปัญหาบ้านเมือง โดยนำวรรณกรรมมา "รับใช้สังคม" ด้วย

Article Details

Section
Academic Articles
Author Biography

นงนภัส ตาปสนันทน์

ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง