ภูมิลำเนาของหมู่บ้านในจังหวัดลำพูน

Main Article Content

โอฬาร รัตนภักดี
วิมลศิริ กลิ่นบุบผา

Abstract

     งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับภูมินามของหมู่บ้านในจังหวัดลำพูน โดยศึกษาทั้งในส่วนของประวัติความเป็นมา ลักษณะภาษา และคุณค่าของภูมินามของหมู่บ้าน ผลของการศึกษาพบว่าโครงสร้างทางภาษาของภูมินามหมู่บ้านประกอบด้วยคำมูล 1-5 คำ ที่พบมากที่สุดคือชื่อประกอบด้วยคำมูล 2 คำ หากเป็นภูมินามที่เป็นคำมูลเพียงคำเดียวจะมีส่วนประกอบเป็นคำหลัก แต่ถ้าเป็นภูมินามที่มีคำมูลตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปจะประกอบด้วยคำหลักและคำขยาย โดยมีการเรียงคำ 3 รูปแบบ คือ "คำหลัก+คำขยาย" "คำหลัก+คำหลัก" และ "คำขยาย+คำหลัก" ส่วนโครงสร้างทางความหมายของภูมินามหมู่บ้านพบว่ามีศัพท์หลักแบ่งเป็น 13 กลุ่มความหมาย ที่พบมากที่สุดคือลักษณะทางภูมิศาสตร์ และศัพท์ขยายทั้งหมด 15 กลุ่มความหมาย ที่พบมากที่สุดคือศัพท์ที่เกี่ยวกับพืช อีกทั้งเมื่อนำศัพท์ฺหลักและศัพท์ขยายทั้งหมดมาเปรียบเทียบกัน พบว่ารูปศัพท์ที่พบมากที่สุดคือ "ป่า" รองลงมาคือ "หนอง" "ห้วย" "สัน" และ "แม่" ตามลำดับ

     นอกจากนี้ภูมินามของหมู่บ้านยังมีคุณค่าในแง่ที่สามารถสะท้อนให้เห็นลักษณะต่างๆ ของจังหวัดลำพูนได้ ทั้งลักษณะทางกายภาพ ตลอดจนสภาพทางสังคมและวัฒนธรรม โดยจำแนกได้เป็น 8 ด้าน ได้แก่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ พรรณพืชพรรณสัตว์ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ตำนานและนิทานพื้นบ้าน วิถีชีวิต ความเชื่อและค่านิยม ลักษณะทางการปกครอง และลักษณะอื่นๆ ของหมู่บ้านได้อีกด้วย

Article Details

Section
Research Articles
Author Biographies

โอฬาร รัตนภักดี

วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

วิมลศิริ กลิ่นบุบผา

ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร