การเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยถิ่นภูเก็ตปัจจุบันผ่านการสัมผัสภาษาถิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปรากฏการณ์การสัมผัสภาษาถิ่นในภาษาไทยถิ่นภูเก็ต ผู้วิจัยเลือกใช้ตัวแปรทางภาษาประกอบด้วยศัพท์จานวน 36 หน่วยอรรถและตัวแปรเสียง 2 ตัวแปร ได้แก่ พยัญชนะท้าย (Ɂ) ในพยางค์ตายสระเสียงยาวและสระ (ei, əɨ, ou) ในพยางค์เปิด ผู้บอกภาษาเป็นคนในจังหวัดภูเก็ตจำนวน 120 คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตามภูมิลำเนาบรรพบุรุษของผู้บอกภาษา ได้แก่ ภูเก็ต ภาคใต้และเป็นคนพูดภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ภาคใต้และเป็นคนพูดภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก และภาคกลาง นอกจากนี้ แบ่งตามรุ่นอายุ 3 รุ่น ได้แก่ รุ่นที่ 1 อายุ 60 ปีขึ้นไป รุ่นที่ 2 อายุ 35-45 ปี และรุ่นที่ 3 อายุ 10-20 ปี โดยเก็บข้อมูลรุ่นอายุละ 10 คน การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษา (4 ถิ่น x 3 รุ่นอายุ x รุ่นละ 10 คน) โดยใช้การสนทนาแบบไม่เป็นทางการ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มรุ่นอายุมาก (60 ปีขึ้นไป) ส่วนใหญ่ใช้รูปแปรทางภาษาตามภาษาถิ่นของบรรพบุรุษ กลุ่มรุ่นอายุกลาง (35-45 ปี) ใช้รูปแปรทางภาษาที่หลากหลาย ในขณะกลุ่มรุ่นอายุน้อย (10-20 ปี) ใช้รูปแปรทางภาษาที่เป็นภาษาไทยมาตรฐานมากที่สุด ดังนั้น สรุปได้ว่า ภาษาไทยถิ่นภูเก็ตในปัจจุบันมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่ลู่เข้าหาภาษาไทยมาตรฐาน
Article Details
References
ชมพูนุท พุ่มท่าอิฐ. (2534). ความสัมพันธ์ระหว่างการย้ายถิ่นและการเลื่อนฐานะทางสังคมของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต อันเป็นผลมาจากการพัฒนาการท่องเที่ยว (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ฌัลลิกา มหาพูนทอง. (2539). การกำหนดแนวแบ่งเขตภาษาไทยถิ่นตะวันออกกับภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก โดยใช้พยางค์ที่มีสระเสียงยาวกับพยัญชนะท้าย /k/ หรือ /ʔ/ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ตามใจ อวิรุทธิโยธิน. (2553). การศึกษาลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ในภาษาไทยมาตรฐานสำเนียงใต้โดยเปรียบเทียบกับภาษาไทยมาตรฐานและภาษาไทยถิ่นใต้ (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
นพดล กิตติกุล. (2534). คำยืมภาษาจีนฮกเกี้ยนที่ใช้ในภาษาไทยถิ่นจังหวัดภูเก็ต (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
ภิญโญ จิตต์ธรรม. (2513). ภาษาถิ่น. สงขลา: โรงพิมพ์เมืองสงขลา.
เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. (2531). ภาษาถิ่นตระกูลไทย. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุรีย์ เสียงแสงทอง. (2524). การศึกษาวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจเมืองภูเก็ตระหว่าง พ.ศ. 2396-2475 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
อัครา บุญทิพย์. (2535). ภาษาไทยถิ่นใต้. กรุงเทพฯ: สหมิตร ออฟเซ็ท บางลำพู.
Brown, Marvin J. (1985). From Ancient Thai to Modern Dialects. Bangkok: Social Science Association Press of Thailand.
Chambers, J.K. and Peter Trudgill. (1980). Dialectology. Cambridge: Cambridge University Press.
Diller, Anthony V.N. (1976). Toward a Model of Southern Thai Diglossic Speech Variation. Ph.D. Dissertation, Cornell University.
Kamalanavin, Varisa. (2005). Phonetic features of standard Thai spoken by southern Thai speakers. Journal of Liberal Arts. 5(2), 200-240.
Kerswill, Paul. (2010). Contact and new variety. In Raymond Hickey (ed.). The Handbook of Language Contact. (pp. 230-251). West Sussex: Blackwell Publishing Ltd.
Trudgill, Peter. (1986). Dialects in Contact. Oxford: Blackwell.
Trudgill, Peter. (2004). New-Dialect Formation. Edinburgh: Edinburgh University Press.