จากงูกลายเป็นคน จากคนกลายเป็นงู ความลักลั่นของความเป็นมนุษย์และความเป็นสัตว์ในนวนิยายเรื่อง “นาคี”

Main Article Content

อรวรรณ ฤทธิ์ศรีธร
ปฐม หงษ์สุวรรณ
ธัญญา สังขพันธานนท์

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เจ้าแม่นาคีและคำแก้วจาก นวนิยายเรื่อง นาคี บทประพันธ์ของตรี อภิรุม ในเชิงสัญลักษณ์และบริบทของเนื้อเรื่องจากกรอบแนวคิดการวิจารณ์เชิงนิเวศ มีประเด็นการศึกษาดังนี้ 1) นัยยะของการสิงสู่ร่างมนุษย์ของเจ้าแม่นาคี 2) เจ้าแม่นาคีกับการปฏิเสธและโหยหาความเป็นสัตว์ 3) นัยยะของคนกลายเป็นงู ผลการศึกษาพบว่า นัยยะของการสิงสู่ร่างมนุษย์ของเจ้าแม่นาคี เจ้าแม่นาคีสิงร่างมนุษย์เพื่อถือกำเนิดเป็นชาติภพใหม่ แสดงให้เห็นถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของมนุษย์กับธรรมชาติ การถือกำเนิดดังกล่าวถือเป็นเรื่องอปกติในสังคม ส่งผลให้คำแก้วต้องถูกกำจัดและเป็นที่รังเกียจในสังคม นอกจากนั้นการที่เจ้าแม่นาคีสิงสู่ร่างของคำแก้ว เมื่อมองผ่านทฤษฎีการวิจารณ์เชิงนิเวศยังแสดงให้เห็นว่า มนุษย์ได้อาศัยจิตวิญญาณของธรรมชาติในการมีชีวิตอยู่ แสดงให้เห็นถึง “ร่าง” ของมนุษย์ที่ตายไปแล้วกลับมามีชีวิตได้ด้วยจิตวิญญาณของธรรมชาติ การปฏิเสธและโหยหาความเป็นสัตว์เป็นการมองเจ้าแม่นาคีในฐานะความอุจจาร มีลักษณะสาคัญคือ เป็นความอุจจารที่เป็นตัวตนของตนเอง กล่าวคือโหยหาแต่ก็ต้องการกำจัดออก ส่วนในประเด็นนัยยะของคนกลายเป็นงู พบว่าเจ้าแม่นาคีอาจเป็นตัวแทนความไม่เสถียรของมนุษย์ ประเด็นนี้ยังแสดงให้เห็นและเน้นย้ำว่าร่างของมนุษย์ไม่ได้มีความยิ่งใหญ่ โดยสรุปแล้วบทความเรื่องนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึง ความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติและความต่ำต้อยของเผ่าพันธุ์มนุษย์ผ่านตัวละคร “คำแก้ว” และ “เจ้าแม่นาคี”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เดวิด คินสลีย์. (2551). นิเวศวิทยากับศาสนา: จิตวิญญาณเชิงนิเวศในมุมมองต่างวัฒนธรรม. (ลภาพรรณ ศุภมันตรา, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.

ตรี อภิรุม. (2559). นาคี. กรุงเทพฯ: โพสต์.
พิเชฐ สายพันธ์. (2539). “นาคาคติ” อีสานลุ่มน้ำโขง: ชีวิตทางวัฒนธรรมจากพิธีกรรม ร่วมสมัย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เมธาวี โหละสุต. (2555). อ่านไฟต์คลับ ในฐานะนวนิยายแห่งความอุจจาร. วารสารศิลปศาสตร์, 12(2), 1-45.

รชฎ สาตราวุธ. (2555). จัดการความขัดแย้งด้วยความคลุมเครือ: ข้อเสนอทางปรัชญาของ ซิโมน เดอ โบวัวร์. ใน สุวรรณา สถาอานันท์ และเกษม เพ็ญภินันท์ (บ.ก.), ข้า ค่า ฆ่า: อัตลักษณ์ คุณค่า ความรุนแรง (น. 481-552). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม อังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วิศิษย์ ปิ่นทองวิชัยกุล. (2555). ร่างทรง: การใช้ตำนานล้านนาในฐานะอาวุธแห่งอิตถีเพศในนวนิยายสร้อยสุคันธาของมาลา คำจันทร์. ใน ตรีศิลป์ บุญขจร (บ.ก.), วารสารอาเซียน: สายสัมพันธ์และสตรีวิถี (น. 113-131). กรุงเทพฯ: แม่คำผาง.

ส. พลายน้อย. (2552). สัตว์หิมพานต์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ.

อวยพร แสงคำ. (2557). ลักษณะเด่นของนวนิยายไทยที่มีตัวละครเป็นครุฑและนาค (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Buell, L. (1995). The Environmental Imagination: Thoreau, Nature Writing, and the Formation of American Culture. Cambridge, MA: Belknap P of Havard UP.

Buell, L., Heise, U. & Thornber, K. (2011). Literature and Environment. Annual Reviews of Environment Resources, 36, 417-440.

Cirlot, J. E. (1971). A Dictionary of symbols. London: Routledge.Merchant.
Glottfelty, C. & Fromn, H. (Eds). (1996). The Ecocriticism Reader: Landmarks in Literary Ecology. Athens: University of Georgia Press.

Kristeva, J. (1982). Powers of Horror. (Roudiez, S., L, Trans.). New York: Columbia University Press.

Lonngren, A., S. (2015). Following Animal: Power, Agency, and Human-Animal Transformations in Modern, Northern-European Literature. Newcastle: Cambridge Scholar Publishing.

Nasser, S. A. (2016). Shape-shifting as a quest for liberation, empowerment and justice: metamorphosis and therianthropy in Rawi Hage’s novels. European Journal of English Language and Literature Studies, 4(3), 1-13.

Rabibhadana, A. (1992). Tourism and Culture: Bang-Fai Festival in Esan. In Report presented in The 1992 Year-End Conference Thailand’s Economic Structure: Toward Balanced Development? TDRI, 12-13.

Roy, A. (2014). Green Poems: An Ecocritical Reading of Select Indian Poem in English. MIT International Journal of English & Language & Literature, 1(2), 92-99.

Sacknoff, L.M. (2014). Fantastic ecosemiosis: An analysis of Fantasy as nature-text in The Lord of the Rings (Thesis of Master Degree). Iowa State University, Iowa.