Religious Culture in ASEAN A Case Study of Thailand and Cambodia

Main Article Content

ประเวศ อินทองปาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเชิงเอกสารนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อตรวจสอบวัฒนธรรมทางศาสนาในอาเซียน 2) เพื่อทบทวนวัฒนธรรมทางศาสนาในประเทศไทย 3) เพื่อสำรวจวัฒนธรรมทางศาสนาในประเทศกัมพูชา และ 4) วิเคราะห์วัฒนธรรมทางศาสนาในประเทศไทยและกัมพูชา
 
ผลการวิจัยพบว่าประเทศในกลุ่มอาเซียนมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งด้านภาษา ความเชื่อ ศิลปะ และประเพณี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนับถือศาสนาของประเทศนั้นๆ ศาสนาสำคัญที่ชาวอาเซียนนับถือ คือ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พระพุทธศาสนา ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม แต่ในยุคดั้งเดิมก่อนศาสนาหลักเหล่านี้เข้ามา ประชาชนในอาเซียนนับถือธรรมชาติและวิญญาณ ศาสนาแรกที่เข้ามาคือ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งมีอิทธิพลต่อทุกศาสนาในปัจจุบัน ลำดับต่อมาคือพระพุทธศาสนา มีการนับถือในประเทศพม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และสิงคโปร์ เมื่อศาสนาอิสลามได้แพร่เข้ามาสู่อาเซียนประมาณศตวรรษที่ 9 (พ.ศ.1400) ส่วนใหญ่จะนับถือบริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซีย ส่วนศาสนาคริสต์ได้เข้ามาในยุคล่าอาณานิคมของชาวตะวันตก มีการนับถือเป็นหลักที่ประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนประชาชนในอาเซียนที่มีเชื้อสายจีนนับถือศาสนาเต๋า ศาสนาขงจื้อ และพระพุทธศาสนาผสมผสานกัน

 
ทั้งประเทศไทยและกัมพูชามีความเชื่อแบบเดียวกันในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพระพุทธศาสนามาตั้งแต่สมัยอาณาจักรโบราณเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองพันปีทั้งสองศาสนาได้เป็นรากฐานวัฒนธรรมทางศาสนาของทั้งสองประเทศ ทำให้ประเทศไทยและประเทศกัมพูชามีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันและเป็นวัฒนธรรมที่ผสมผสานกันที่เรียกว่า พุทธผสมพราหมณ์ แต่ก็มีความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศ เช่น ภาษาไทยมีวรรณยุกต์ ในขณะที่ภาษากัมพูชาไม่มีวรรณยุกต์ นอกจากนี้ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีอิทธิพลต่อประเทศกัมพูชามากกว่าประเทศไทยอย่างที่ปรากฏในด้านสถาปัตยกรรมโบราณและรูปปั้น ในขณะที่พระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อประเทศไทยมากกว่าประเทศกัมพูชา ดังเช่นรูปแบบของเจดีย์พระพุทธรูปและภาษาบาลี อย่างไรก็ตามทั้งสองประเทศมีวัฒนธรรมทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกันและมีอิทธิพลต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ประเวศ อินทองปาน, ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

References

Chatterji, B.R. (1964). Indian Cultural Influence in Cambodia. Calcutta:
University of Calcutta.

De Casparis, J.G. & Mabbett, I.W. (2004). Religion and Popular Beliefs of Southeast Asia before C.1500. London: Hakluyt Society. Department of Curriculum and Instruction Development. (2001). Basic Education Curriculum B.E. 2544. Bangkok: Teacher Council of Thailand.

Department of Tourism. (1971). Tourism Community Yarang Sub-district, Yarang District, Pattani Province. Retrieved May 2, 2016 from https:// www.oknation.net/blog/ancient-city-yarang/entry.

Ditsakun, S., M.C. (2004). Brhmanism in Khmer Kingdom. Bangkok: Matichon.
Fine Arts Department. (1983). Inscription of Sukhothai Era. Bangkok: Fine Arts Department.

Kusalasai, K. & R. (1995). India: Amazing Subcontinent. (2ndEdition). Bangkok: Siam.

Mary, F. (1994). Living Religions. USA: University of Florida.

Na Bangchang, S. (1975). Buddhism in Sukhothai Era. (Thesis submitted for Master of Arts, Eastern Language Program). Chulalongkorn University, Bangkok.

Na Nakhon, P. (1980). Thai Literature History. Bangkok: Thai Wattana Panich.

Phoonsap, S. (2010). Ramakien: Thai-Indian Literature Interrelation. Indian Study Journal, 5(6). 21-23.
Phra Yothathammanithet, Maj. (2003). Statement of Former Capital Folks: Statement of Khun Luang Ha Wat and Royal Chronicle. Bangkok: Khlang Wittaya.

Phradhammapiok (P.A. Payutto). (1997). Buddhism in Asia. Bangkok: Thamma Sapha.

Phramah Suradet Surasakko (Intharasak). (1994). Influence of Buddhism toward Thai Literatures: Case Study of Sepha Khun Chang Khun Phaen (Thesis submitted for Master of Buddhist Studies, Buddhism Program). Mahachulalongkorn University, Bangkok.

Pramuanwit, U. (1962). Naryana’s Courthouse. Bangkok: Odian Store.

Punyanuphap, S. (1995). Religion History. (6th Edition). Bangkok: Ruamsan.

Rooney, D. (2003). Angkor. New York: Odyssey Publications L.td.
Sukhothai Thammathirat Open University. (2008). Socio-Cultural Basis. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.