สถานการณ์ปัจจุบันของเสียงบรรยายภาพสำหรับรายการโทรทัศน์ในประเทศไทย มุมมองจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากประกาศ พ.ศ.2559 และ 2560
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัย สถานการณ์ปัจจุบันของเสียงบรรยายภาพสำหรับรายการโทรทัศน์ในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอมุมมองของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเชิงนโยบาย ตลอดจนจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเสียงบรรยายภาพในประเทศไทยต่อไป
งานวิจัยนี้เป็นการเก็บข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเชิงนโยบายเสียงบรรยายภาพทั้ง 5 ภาคส่วน ได้แก่ ผู้พิการทางการมองเห็น ผู้ผลิตเสียงในรายการโทรทัศน์ นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ สถานีโทรทัศน์ และหน่วยงานผู้กากับเชิงนโยบาย (กสทช.) ต่อการให้บริการเสียงบรรยายภาพในรายการโทรทัศน์และการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย จากราชกิจจานุเบกษาเรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิผู้พิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ เมื่อ พ.ศ.2559 และ พ.ศ.2560
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันสถานการณ์เสียงบรรยายภาพในประเทศไทยมีความเคลื่อนไหวอยู่ในระดับสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาคนโยบาย และสถานีโทรทัศน์เท่านั้น ในขณะที่ผู้รับสารที่เป็นผู้พิการทางการมองเห็น และผู้ผลิตเสียงในรายการโทรทัศน์ยังไม่สามารถรับรู้ถึงความเคลื่อนไหวดังกล่าวได้ ปัญหาหลักที่เกิดขึ้นคือ การเพิ่มงบประมาณในการผลิต ความไม่เพียงพอของบุคลากรสาหรับการผลิต และการขาดความรู้ความชำนาญในการผลิต ซึ่งเป็นเสียงสะท้อนจากทุกภาคส่วนที่ต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐ ในขณะที่เนื้อหาจากประกาศฉบับดังกล่าวจำกัดประเภทรายการที่ให้มีการผลิตเสียงบรรยายภาพ เฉพาะรายการประเภทข่าวสารสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่มีการสะท้อนจากผู้เกี่ยวข้อง ทั้งจากผู้พิการทางการมองเห็นและนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ ระบุว่าต้องการให้มีการผลิตเสียงบรรยายภาพในรายการประเภทบันเทิงด้วย ในขณะที่สถานีโทรทัศน์ระบุว่าควรมีการทบทวนกรอบดังกล่าว เพื่อทำให้การผลิตบริการเสียงบรรยายภาพมีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งรูปแบบและปริมาณต่อไปในอนาคต
Article Details
References
กุลนารี เสือโรจน์. (2558). บทนำ. ใน อารดา ครุจิต, ภัทธีรา สารากรบริรักษ์, กุลนารี เสือโรจน์ และคนอื่นๆ. หลักการผลิตเสียงบรรยายภาพ. ปทุมธานี: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ตรี บุญเจือ. (2560, 24 สิงหาคม). ผู้อำนวยการส่วนไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและเลขานุการคณะอนุกรรมการสำนักคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.). [บทสัมภาษณ์].
ธารินี จันทรักษา. (2560, 22 สิงหาคม). เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรมทางวิชาการ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส. [บทสัมภาษณ์].
ธิปไตย ภิรมย์ภักดิ์. (2560, 20 สิงหาคม). ผู้ผลิตเสียงในภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ บริษัท เสียงสนุก ครีเอชั่น จากัด. [บทสัมภาษณ์].
ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงและรับรู้หรือใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์. (2559, 5 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนพิเศษ 35 ง., 6-14.
ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงและรับรู้หรือใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2. (2560, 4 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนพิเศษ 97 ง., 35-36.
พระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม. (2553, 19 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอน 78 ก., 1-46.
พระราชบัญญัติ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ. (2551, 14 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอน 8 ก., 1-25.
อารดา ครุจิต. (2560, 20 สิงหาคม). ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [บทสัมภาษณ์].
อารดา ครุจิต, ภัทธีรา สารากรบริรักษ์, กุลนารี เสือโรจน์ และคนอื่นๆ. (2558). หลักการผลิตเสียงบรรยายภาพ. ปทุมธานี: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Baran, S. J. (2012). Introduction to Mass Communication: Media Literacy and Culture. (7th ed.). USA: McGraw Hill.
Berlo, D. K. (1960). The Process of Communication: An Introduction to Theory and Practice. New York: Holt, Rinehart & Winston.
Wood, J. T. (2009). Communication in Our Lives. (6th ed.). USA: Wadworth Cengage.