การท่องเที่ยวซ้ำภูมิภาคเดิมของคนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
แนวโน้มและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่างๆ การศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของนักท่องเที่ยวจึงมีความสำคัญที่ทำให้การพัฒนาการท่องเที่ยวเกิดความยั่งยืน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนการเลือกภูมิภาคท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร อีกทั้งยังทาการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการท่องเที่ยวซ้ำในภูมิภาคเดิมสาหรับผู้ที่ท่องเที่ยวเท่ากับหรือมากกว่า 2 ครั้งในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา (มกราคม 2559-ธันวาคม 2560) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามสำรวจจากตัวอย่างจำนวน 385 คน ใช้กระบวนการมาร์คอฟและการถดถอยโลจิสติกในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า แบบแผนในการเลือกภูมิภาคท่องเที่ยวซ้าของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ในระยะยาว ร้อยละ 39.4 ท่องเที่ยวซ้ำในภูมิภาคกลาง ร้อยละ 22.6 ท่องเที่ยวซ้ำในภูมิภาคตะวันออก ร้อยละ 17.8 ท่องเที่ยวซ้ำในภูมิภาคเหนือ ร้อยละ 12.6 ท่องเที่ยวซ้ำในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 7.7 ท่องเที่ยวซ้ำในภูมิภาคใต้ ส่วนการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลในการท่องเที่ยวซ้ำภูมิภาคเดิม พบว่าปัจจัยด้านการหาข้อมูลท่องเที่ยว (Travel Literature) และปัจจัยด้านความพึงพอใจในการท่องเที่ยวครั้งที่ 1 (First Satisfactions) เป็นตัวแปรทำนายที่มีผลต่อการท่องเที่ยวซ้ำภูมิภาคเดิม โดยตัวแปรที่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การหาข้อมูลท่องเที่ยวหนึ่งช่องทางจากแหล่งออฟไลน์ (Offline) การหาข้อมูลท่องเที่ยวหนึ่งช่องทางจากแหล่งออนไลน์ (Online) ความพึงพอใจในการท่องเที่ยวครั้งที่ 1 ในด้านราคา (Price) และความพึงพอใจในการท่องเที่ยวครั้งที่ 1 ในด้านที่พักและสถานที่ (Accommodation facilities)
Article Details
References
กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์ และคณะ. (2558). อิทธิพลของบุคลิกห้าองค์ประกอบและความรู้เรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 30-44.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2555). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว (Tourist Behavior). กรุงเทพฯ: เฟิร์นข้าหลวง.
ปรีชา วิจิตรธรรมรส. (2542). กระบวนการมาร์คอฟ (Markov Processes). เสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ปิยนัฐ ธนะบุตร. (2559). อิทธิพลของวิธีวัดแบบมาตราส่วนประมาณค่าและแบบบังคับเลือก ที่มีต่อความเที่ยง และความตรงเชิงโครงสร้างในการวัดบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
มนัสสินี บุญมีศรีสง่า และคณะ. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่มีต่อตลาดฉัตรศิลาในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 6(1). 648-660.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2555). บุคลิกภาพและการวัด. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศลิษา ธีรานนท์ และเจริญชัย เอกมาไพศาล. (2559). ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวที่มีผลต่อการตัดสินใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำในกรุงเทพมหานครของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ: กรณีศึกษาภายหลังการเกิดวิกฤติการณ์ทางการเมือง พ.ศ.2556-2557. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ, 7(13), 38-55.
ศศิธร ศิริบูชา. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจมาท่องเที่ยวประเทศไทย กรณีเปรียบเทียบนักท่องเที่ยวกลุ่มประเทศประชาคมอาเซียนและเอเชียตะวันออก (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
ศิริเพ็ญ ดาบเพชร. (2557). การเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวครั้งแรกและนักท่องเที่ยวซ้ำ. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร, 9(2), 39-59.
สรพงษ์ เจริญกฤตยาวุฒิ. (2558). ตัวแบบสมการโครงสร้างความภักดีในแหล่งท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
สรรเพชญ ภุมรินทร์ และอานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2560). การวิเคราะห์แบ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนตามพฤติกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารวิชาการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(1), 99-132.
สานักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). การสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทย พ.ศ.2559 (ในรอบปี 2558).
Abraham Pizam, Y. M. (2000). Consumer Behavior in Travel and Tourism. New York.
Jani, D., & Han, H. (2015). Influence of environmental stimuli on hotel customer emotional loyalty response: Testing the moderating effect of the big five personality factors. International Journal of Hospitality Management, 44, 48-57.
Kumar Vivek et. (2017). Big five personality traits and tourist’s intention to visit green hotels. Indian Journal Science 15, 79-87.
Kvasova, O. (2015). The Big Five personality traits as antecedents of eco-friendly tourist behavior. Personality and Individual Differences, 83, 111-116.
Mei Fung Tang, C., & Lam, D. (2016). The Role of Extraversion and Agreeableness Traits on Gen Y's Attitudes and Willingness to Pay for Green Hotels. International Journal of Contemporary Hospitality Management. 29(1), 607-623.
Tourism Authority of Thailand. (2016). TAT Review Magazine. (4/2016).
Tourism Authority of Thailand. (2017). TAT Review Magazine. (4/2017).