วรรณยุกต์ภาษาไทยในเด็กกัมพูชาวัย 6-12 ปี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของวรรณยุกต์ภาษาไทยที่ออกเสียงโดยเด็กกัมพูชาที่มีภาษาแม่คือภาษาเขมรคำทดสอบประกอบด้วยคำ 27 คำในบริบทคำพูดเดี่ยว 5 หน่วยเสียง ได้แก่ วรรณยุกต์สามัญ วรรณยุกต์เอก วรรณยุกต์โท วรรณยุกต์ตรี และวรรณยุกต์จัตวา โดยเปรียบเทียบกับเด็กไทยในช่วงวัยเดียวกัน จากการวิเคราะห์ค่าความถี่มูลฐาน (F0) ด้วยโปรแกรม Praat เวอร์ชัน 6.0.28
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เด็กกัมพูชามีสัทลักษณะวรรณยุกต์แตกต่างจากเด็กไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวรรณยุกต์ตรี อีกทั้งปรากฏรูปแปรที่หลากหลายโดยเฉพาะในพยางค์ตาย รวมถึงพบปัญหาในการออกเสียงจากการเกือบรวมกันของวรรณยุกต์บางคู่ ได้แก่ วรรณยุกต์สามัญกับเอก วรรณยุกต์โทกับเอก และวรรณยุกต์ตรีกับจัตวา ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการมีสัทลักษณะบางส่วนที่คล้ายคลึงกันของวรรณยุกต์ทั้งคู่ นอกจากนี้ในกลุ่มวรรณยุกต์ระดับเด็กกัมพูชามีการออกเสียงที่เปลี่ยนแปลงระดับเสียงมาก ในทางกลับกันกลุ่มวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับกลับมีระดับการขึ้นตกของเสียงที่ชัดเจนน้อยกว่าเด็กไทย ผู้วิจัยสังเกตว่าน่าจะเกิดจากความพยายามออกเสียงจนทำให้เกิดการแก้ไขเกินเหตุหรือ overcorrection ในวรรณยุกต์ระดับและมีการแก้ไขการออกเสียงที่ไม่ชัดเจนเพียงพอหรือ undercorrection ในวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ ดังนั้นในการสอนการออกเสียงในเด็กกัมพูชาควรให้มีการฝึกฝนหน่วยเสียงที่น่าจะเป็นปัญหาข้างต้นเป็นพิเศษในรูปแบบของคู่เทียบเสียง
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2532). รายงานผลการศึกษาคำพื้นฐานที่ใช้ในการเรียนการสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
________________. (2560). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ชุดภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ระดับชั้นประถมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ : สกสค. ลาดพร้าว.
กันตินันท์ เพียสุวรรณ. (2557) . การศึกษาเปรียบเทียบเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยมาตรฐานที่พูดโดยคนไทยและคนอินเดียที่พูดภาษาฮินดีเป็นภาษาแม่ กรณีศึกษาปัจจัยทางเพศ. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ชมนาด อินทจามรรักษ์. (2559). โครงการสระและวรรณยุกต์ภาษาไทยที่ออกเสียงโดยผู้พูดภาษาเขมร เวียดนาม พม่า และมลายู : การศึกษาทางกลสัทศาสตร์และการรับรู้. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและมหาวิทยาลัยนเรศวร.
ณัฐพงษ์ วงษ์อำไพ. (2552). วรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯ ที่ออกเสียงโดยเด็กอายุ 6-7 ปี ซึ่งพูดภาษามลายูถิ่นปัตตานีเป็นภาษาแม่ : การศึกษาทางกลสัทศาสตร์และการรับรู้. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ธนภัทร สินธวาชีวะ. (2552). วรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯ ที่ออกเสียงโดยคนญี่ปุ่น : การศึกษาทางกลสัทศาสตร์และการรับรู้. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ. (2554). เสียงภาษาไทย : การศึกษาทางกลสัทศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นรเศรษฐ์ พิสิฐพันพรม. (2548). การพัฒนาของวรรณยุกต์ในภาษาเขมรพนมเปญ. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 1(3), 107-120.
ปราณีรัตน์ ปานประณีต. (2556). การรับรู้และการออกเสียงวรรณยุกต์ของเด็กไทยในต่างช่วงอายุ. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ปิ่นแก้ว กังวานศุภพันธ์. (2550). การศึกษาเปรียบต่างวรรณยุกต์ภาษาไทยระหว่างนักเรียนไทยเชื้อสายเขมรกับนักเรียนที่พูดภาษาไทยเป็นภาษาแม่: นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านแกใหญ่และมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไผทสมันต์จังหวัดสุรินทร์กับนักนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ผณินทรา ธีรานนท์. (2559). กลสัทศาสตร์และโสตสัทศาสตร์เสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยโดยชาวเวียดนามและชาวกัมพูชา. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 35(1), 81-100.
ผณินทรา ธีรานนท์และธนวัตน์ เดชชนะรัตน์. (2558). เสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยออกเสียงโดยเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการได้ยิน: การศึกษาลักษณะกลสัทศาสตร์, วารสารศิลปศาสตร์, 15(2).
ผู้จัดการออนไลน์. (2557, 23 กรกฎาคม). ลูกแรงงานต่างด้าวกว่า 2.5 แสนคนขาดโอกาสเรียนหนังสือ. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2559 จาก http://www.manager.co.th/qol/ViewNews.aspx?NewsID=9570000083267.
ภราดา ฟ. ฮีแลร์. (2556). ดรุณศึกษา ชั้นประถมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 58). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2551). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
ฤทัยวรรณ ปานชา. (2559). วรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯ ที่พูดโดยคนกัมพูชาที่มีประสบการณ์ภาษาไทยแตกต่างกัน. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์. (2555). การปรับค่าความถี่มูลฐานโดยการแปลงค่าเฮิร์ตเป็นเซมิโทน: แนวทางในการเสนอผลการวิเคราะห์วรรณยุกต์. The Journal of the Faculty of Arts, 8(2), 19-45.
_______________. (2558). วรรณยุกต์ในคำพูดเดี่ยวและอิทธิพลของวรรณยุกต์ที่มีต่อกันในคำพูดต่อเนื่องภาษาปะโอ. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
สมพร มีสมบัติและสุพรรณี อยู่นิ่ม. (2559). แบบฝึกหัดอ่านภาษาไทยสำหรับเด็ก. ฉะเชิงเทรา : บริษัท พีเอ็นเอ็น มีเดีย กรุ๊ป พับลิชชิ่ง จำกัด.
สุริยา รัตนกุล. (2537). นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ ภาคที่ 1 ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกและตระกูลจีน-ทิเบต (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว. (2559). สถิติจำนวนคนต่างด้าวกลุ่มประเทศอาเซียนได้รับอนุญาตทำงาน ประจำเดือนมีนาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2559 จาก https://www.m-society.go.th/ewt_news.php?nid=16604.
Brown, H. D. (2000). Principles of Language Learning and Teaching (4th ed.). New York, NY: Addison Wesley Longman.
Eliasson, S. (1997). The cognitive calculus and its function in language. In J. Gvozdanovic (Ed.), Language Change and Functional Explanations (pp. 53-70). New York, NY: Mouton de Gruyter.
Intajamornrak, C. (2017). Thai Tones Produced by Tonal and Non-Tonal Language Speakers: An Acoustic Study. Manusya, 20(2), 1-26.
Johnson, J. S. and Newport, E. L. (1989). Critical Period Effects in Second Language Learning: The Influence of Maturational State on the Acquisition of English as a Second Language. Cognitive Psychology, 21, 60-99.
Krashen, S. D. (1981). Second Language Acquisition and Second Language Learning. London: Pergamon.
Meng, H., Tseng, C., Kondo, M., Harrison, A., & Viscelgia, T., (2009). Studying L2 Suprasegmental Features in Asian Englishes: A Position Paper. In 10th Annual Conference of the International Speech Communication Association. United Kingdom: Brighton.
Selinker, L. (1972). Interlanguage. International Review of Applied Linguistics in Language Teaching, 10(3), 209-231.