นิติวิทยาศาสตร์ในนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวน เรื่องกาหลมหรทึกและรหัสลับดาวินชี

Main Article Content

สายวรุณ สุนทโรทก

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนิติวิทยาศาสตร์ในนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนเรื่องกาหลมหรทึกและรหัสลับดาวินชีมุ่งวิเคราะห์ตัวบทนวนิยายเรื่องกาหลมหรทึกของปราปต์ และรหัสลับดาวินชี (Davinci Code) ของแดน บราวน์ (Dan Brown) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะเด่นของนวนิยายสืบสวนสอบสวน และเพื่อวิเคราะห์การนำความรู้ทางนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในเรื่องกาหลมหรทึกและรหัสลับดาวินชี


ผลการวิจัยพบว่า นวนิยายทั้งสองเรื่องมีลักษณะเด่นสอดคล้องกับนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนแบบคลาสสิก กล่าวคือมีโครงเรื่องเริ่มที่เกิดเหตุฆาตกรรม นักสืบค้นหาปมปริศนาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุฆาตกรรมนั้น สืบหาความจริงจากเบาะแสเพื่อคลี่คลายปมปริศนา และเปิดเผยฆาตกรตัวจริงในตอนท้ายเรื่อง แต่นวนิยายทั้งสองเรื่องมีรายละเอียดของเหตุการณ์แตกต่างกัน ในกาหลมหรทึกกล่าวถึงคดีฆาตกรรมต่อเนื่อง 5 คดีที่เชื่อมโยงกันด้วยรอยสักบนร่างของเหยื่อ ส่วนรหัสลับดาวินชีเกิดฆาตกรรมขึ้นจากความปรารถนาจะได้รหัสลิขิตซึ่งเป็นความลับของตระกูลและเป็นความลับในคริสต์ศาสนานิกายหนึ่ง การมุ่งที่จะเปิดเผยความลับได้นำไปสู่การฆาตกรรมผู้เกี่ยวข้องอีก 3 คดี นอกจากนี้ยังพบว่าผู้เขียนนำความรู้ด้านนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประพันธ์คือ 1.การตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ 2.การหาสาเหตุการเสียชีวิตจากศพ 3. การไต่สวนการตาย และ 4.การหาแรงจูงใจให้ก่อคดีฆาตกรรม รายละเอียดที่แตกต่างกันนี้ ทำให้เห็นว่าผู้เขียนเรื่องกาหลมหรทึกได้ขยายความเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ไว้อย่างรวบรัด เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเป็นภูมิหลังเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนผู้เขียนเรื่องรหัสลับดาวินชีอธิบายสถานที่ต่างๆ ไว้อย่างละเอียด โดยเฉพาะกลุ่มที่มีศรัทธาต่อพระคริสต์ศาสนาในนิกายที่แตกต่าง จนทำให้ผู้อ่านกลุ่มหนึ่งสนใจจะศึกษาค้นคว้าต่อด้วยเชื่อว่าเรื่องราวทั้งหมดเป็นเรื่องจริง การนำความรู้ทางนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในการสืบหาสาเหตุของการตาย มีดังนี้ การชันสูตรพลิกศพ มีการนำความรู้มาใช้ในการไต่สวนพยาน และใช้ในการสืบหาแรงจูงใจของคนร้าย จากการวิจัยครั้งนี้ น่าจะมีการศึกษาการนำนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประพันธ์นวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนหรือแนวอื่นๆ เพื่อให้เห็นพัฒนาการของการนำความรู้ด้านนิติวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการประพันธ์บันเทิงคดีต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย บทความวิชาการ และวิทยานิพนธ์

References

แดน บราวน์ (2559) รหัสลับดาวินชี (อรดี สุวรรณโกมล, ผู้แปล). กรุงเทพฯ :แพรวสำนักพิมพ์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ทัศนะ สุวรรณจูฑะ, บรรณาธิการ. (2531) นิติเวชศาสตร์ (Forensic medicine). กรุงเทพฯ: ภักดีการพิมพ์.

ธงชัย แซ่เจี่ย. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบบันเทิงคดีสืบสวนสอบสวนเรื่อง เทวากับซาตาน ของแดน บราวน์ กับบันเทิงคดีสืบสวนสอบสวนไทยเรื่อง กาหลมหรทึก. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ครั้งที่ 5 วันที่ 31 สิงหาคม - 1 กันยายน 2560.

ปราปต์ (2557) กาหลมหรทึก พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

พรทิพย์ โรจนสุนันท์. (2544). การชันสูตรศพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

เมษ รอบรู้. (2550). การศึกษานวนิยายแปลเรื่อง รหัสลับดาวินชี ของอรดี สุวรรณโกมล. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.

อรสม สุทธิสาคร (บรรณาธิการ). (2553). เรื่องเล่าจากมีดหมอ. กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ.