มายาพิศวาส: อำนาจสัตว์ประหลาดเพศหญิง การคุกคามมนุษย์ และนัยของฉาก-กลวิธีการประพันธ์

Main Article Content

อรวรรณ ฤทธิ์ศรีธร

บทคัดย่อ

              บทความวิชาการเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานวนิยายเรื่อง มายาพิศวาส บทประพันธ์ของจินตวีร์ วิวัธน์ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอำนาจสัตว์ประหลาดเพศหญิง การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ 1) อำนาจสัตว์ประหลาดเพศหญิงและการคุกคามมนุษย์ 2) นัยของฉาก-กลวิธีการประพันธ์และการนำเสนออำนาจสัตว์ประหลาดเพศหญิง ผลการศึกษาพบว่า 1) สัตว์ประหลาดเพศหญิงคุกคามมนุษย์ในลักษณะการเข้ามาผสมสายเลือดกับมนุษย์และนำไปสู่การมีอำนาจเหนือร่างกายและจิตใจมนุษย์ 2) ฉากสำคัญของเรื่อง แบ่งเป็นฉากบรรยากาศและฉากสถานที่ ได้รับการนำเสนอให้เชื่อมโยงกับการสำแดงอำนาจสัตว์ประหลาดเพศหญิง โดยสรุปแล้วบทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นการนำเสนออำนาจของอมนุษย์และอำนาจเพศหญิงผ่านเรื่องเล่าแบบกอทิก

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จินตวีร์ วิวัธน์. (2560). มายาพิศวาส. กรุงเทพฯ: กรู๊ฟพับลิชชิ่ง.

เจือ สตะเวทิน. (2518). วรรณคดีวิจารณ์. กรุงเทพฯ: สุทธิสารการพิมพ์.

ชญาน์ทัต ศุภชลาศัย. (2556). ความใกล้ชิดของความหมายแห่งชีวิต: สังคมวิทยาชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ: สยามปริทรรศน์.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2547). เพราะเป็นคนที่ตาย. ฟ้าเดียวกัน, 2(3), 57-58.

เฌอทะเล สุวรรณพานิช. (2562). พิษสวาท: โศกนาฏกรรมในโรมานซ์ ชาตินิยมชายเป็นใหญ่ในความรัก. ใน วริศ ลิขิตอนุสรณ์ (บ.ก.), วาระสมมติ หมายเลข 01 ว่าด้วยวรรณกรรม (น. 42-68). กรุงเทพฯ: สมมติ.

ต้นข้าว ปาณินท์. (2553). คนและความคิดทางสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ: สมมติ.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2556). วรรณคดีสีเขียว กระบวนทัศน์และวาทกรรมธรรมชาติในวรรณคดีไทย. ปทุมธานี: นาคร.

บาร์เนตต์, ซี. (2561). ประวัติศาสตร์หยาดฝน (พลอยแสง เอกญาติ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์.

เมนส์, อาร์. พี. (2559). เทคโนโยนี: ประวัติศาสตร์ไวเบรเตอร์ ฮิสทีเรียและออกัสซั่มของผู้หญิง (นภ ดารารัตน์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: พารากราฟ.

รชฎ สาตราวุธ. (2555). จัดการความขัดแย้งด้วยความคลุมเครือ: ข้อเสนอทางปรัชญาของซิโมน เดอ โบวัวร์. ใน สุวรรณา สถาอานันท์, และเกษม เพ็ญภินันท์ (บ.ก.), ข้า ค่า ฆ่า: อัตลักษณ์ คุณค่า ความรุนแรง (น. 481-552). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม อังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วณัฐย์ พุฒนาค. (2561, 28 กันยายน). จากนาคีถึงนากินี คำสาปของผู้หญิงทรงอำนาจที่อาจไม่น่ากลัวอีกต่อไป. สืบค้นจาก https://thematter.co/social/nagi_nagini_curse_of_powerful_woman/61153.

วลีรัตน์ สิงหรา. (2528). เรื่องเหนือธรรมชาติในนวนิยายของจินตวีร์ วิวัธน์ (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

วิภาพ คัญทัพ. (2546). การวิเคราะห์ฉากตื่นเต้นสำคัญในนวนิยายสยองขวัญของจินตวีร์ วิวัธน์ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วีรี เกวลกุล. (2552). “ใต้เงาแห่งอดีต”: การศึกษาเปรียบเทียบการสร้างภาพแทนแบบกอทิกในงานเขียนของจินตวีร์ วิวัธน์ และพงศกร จินดาวัฒนะ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สมเกียรติ ตั้งนโม. (2549). มองหาเรื่อง: วัฒนธรรมทางสายตา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุภางค์ จันทวานิช. (2555). ทฤษฎีสังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2551). การละเมิดกรอบจารีตสังคมในวรรณกรรมกอทิกไทย: กรณีศึกษาชนชั้นและเพศสถานะในปราสาทมืด. วารสารศิลปศาสตร์, 8(2), 44-111.

สุวิมล พิณโสภณ. (2548). บทบาทของสัตว์ประหลาดในเรื่องปรัมปรากรีก. ดำรงวิชาการ, 4(1), 60-71.

Chusna, A., & Mahmudah, S. (2018). Female monsters: Figuring female transgression in Jennifer’s Body (2009) and The Witch (2013). Journal Humaniora, 30(1), 10-16.

Lindsey, M. K. (2011). “The Pull of Dark Depths”: Female monsters in nineteenth-century Gothic literature (Master’s thesis). University of Appalachian State, North Carolina.