การถอดบทเรียนการใช้ดนตรีสร้างเสริมสุขภาวะ ให้กับผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาอาจารย์พัฒนา สุขเกษม

Main Article Content

ณรุทธ์ สุทธจิตต์
วิทยา ไล้ทอง
ดนีญา อุทัยสุข
ณัชชา เตชะอาภรณ์ชัย
ศักดิ์ระพี รักตประจิต

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนการใช้ดนตรีสร้างเสริมสุขภาวะให้กับผู้สูงอายุ กรณีศึกษาอาจารย์พัฒนา สุขเกษม ด้วยการสัมภาษณ์และสังเกตกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 4 กลุ่ม โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง รวมจำนวนทั้งสิ้น 211 คน ดังนี้ 1) อาจารย์พัฒนา สุขเกษม 2) กลุ่มวิทยากรที่เข้ารับการอบรมเพื่อเป็นผู้นำกิจกรรมกับอาจารย์พัฒนา สุขเกษม จำนวน 8 คน 3) กลุ่มผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมดนตรีสร้างเสริมสุขภาวะให้กับผู้สูงอายุ จำนวน 200 คน และ 4) กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโครงการ จำนวน 2 คน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปกำหนดเป็นนโยบายและแนวทางเพื่อจัดกิจกรรมดนตรีสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทยได้


          ผลการวิจัยพบว่า 1) โฮงเฮียนผู้สูงอายุพะเยาเป็นชื่อเรียกเชิงสัญลักษณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะทางกายและใจ และการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี และมีความสุขให้กับผู้สูงอายุ 2) การถอดบทเรียนของอาจารย์พัฒนา สุขเกษม ตามหลักทฤษฎีทางการศึกษาของศาสตราจารย์ ดร.อลิซาเบ็ธ สไตเนอร์ แบ่งออกเป็น 1) ผู้สอน ต้อง “เข้าถึงเพลง” และ “เข้าถึงคน” 2) ผู้เรียน หรือผู้สูงอายุ ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานทางดนตรี แต่ต้องมีความสนใจและสามารถเดินทางมาร่วมกิจกรรมได้ 3) หลักสูตร เน้นส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุในด้านอารมณ์ สังคม และพัฒนาความจำ ด้วยหลักการสำคัญ 3 ประการ คือ สัญญาณมือของโคดาย หลักการสอนของหม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา และหลักสุขภาวะ และ 4) การจัดกิจกรรม เน้นการลงมือปฏิบัติให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน และประเมินผลตามสภาพจริงด้วยการสังเกตทักษะการบรรเลงอังกะลุง ความร่วมมือ และความสุขของผู้สูงอายุในการร่วมกิจกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2563). ก้าวย่างของประเทศไทย สู่ ‘สังคมผู้สูงอายุ’ อย่างสมบูรณ์แบบ. สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30476.

ชลัช สุภาพกุล และคณะ. (2559). การให้ความหมาย ที่มาของความหมาย และรูปแบบของการดำเนินกิจกรรมของจิตอาสาที่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุเล่นดนตรีเพื่อผู้ป่วยในโรงพยาบาล. Veridian E-Journal Silpakorn University (Humanities, Social Science and Arts), 9(1), 516-528.

ช่อผกา กิระพล, และสิริชัย ดีเลิศ. (2560). ทัศนคติและมุมมองการสร้างความสุขจากดนตรีของผู้สูงอายุ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. Veridian E-Journal Silpakorn University (Humanities, Social Science and Arts), 10(3), 363-373.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2541). จิตวิทยาการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). ดนตรีศึกษา หลักการและสาระสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุษกร บิณฑสันต์ (2553). ดนตรีบำบัด. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัฒนา สุขเกษม. (2560, 23 กันยายน). ผู้บริหารโฮงเฮียนผู้สูงอายุพะเยา. [บทสัมภาษณ์].

พัฒนา สุขเกษม. (2561, 13 มกราคม). ผู้บริหารโฮงเฮียนผู้สูงอายุพะเยา. [บทสัมภาษณ์].

พัฒนา สุขเกษม. (2561, 31 มีนาคม). ผู้บริหารโฮงเฮียนผู้สูงอายุพะเยา. [บทสัมภาษณ์].

พัฒนา สุขเกษม. (2561, 6 พฤษภาคม). ผู้บริหารโฮงเฮียนผู้สูงอายุพะเยา. [บทสัมภาษณ์].

แพง ชินพงศ์. (2551). ดนตรีเพิ่มพลังสมอง. กรุงเทพฯ: แฮปปี้แฟมิลี.

ภูริพงษ์ เจริญแพทย์, และทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. (2559). ผลของโปรแกรมการใช้ดนตรีบำบัดร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน. วารสารสภาการพยาบาล, 31(1), 44-55.

วิภาสินี เมาลานนท์. (2555). ศึกษาแนวทางทางการตลาดและการดำเนินธุรกิจโรงเรียนดนตรีสำหรับผู้สูงอายุ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ศุภวัลย์ พลายน้อย. (2549). บทเรียนของการถอดบทเรียนในการจัดการความรู้ภาคประชาสังคม สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI). กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2555). โฮงเฮียนผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก http://www.m-culture.in.th/album/157505/js/.

สภาวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา. (2560). แบบเสนอข้อมูลประวัติและผลงาน เพื่อประกาศเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง กลุ่มดนตรีไทยและนาฏศิลป์ไทย. พะเยา: สภาวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). รู้จัก สสส. สืบค้นจาก http://www.thaihealth.or.th/Aboutus.html.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2555). การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล (Universa Design for Learning). กรุงเทพ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา กลุ่มส่งเสริมการเรียนรู้ประสบการณ์กับชุมชน.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

หมอชาวบ้าน. (2553). การบริหารสมอง (Brain Activation). สืบค้นจาก https://www.doctor.or.th/article/detail/10955.

อุดม เพชรสังหาร. (2553). ดนตรีกับโรคความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ. โลกวันนี้วันสุข, 6(268), 37.

Belland, L., Rivera-Reyes, L., & Hwang, U. (2017). Using music to reduce anxiety among older adults in the emergency department: A randomized pilot study. Journal of Integrative Medicine, 15(6), 450-455.

Carefect Home Health Care Services. (2012). The benefits of music therapy for seniors with Alzheimer’s. Retrieved from http://www.carefecthomecareservices .com/ blog/the-benefits-of-music- therapy-for-seniors-with-alzheimers.

Gallego, M. G., & García, J. G. (2017). Music therapy and Alzheimer's disease: Cognitive, psychological, and behavioural effects. Neurología (English Edition), 32(5), 300-308.

Knowles, M. (1984). Andragogy in action. San Francisco: Jossey-Bass.

Knowles M., Holton E. F., & Swanson, R. A. (2005). The adult learner. Burlington, MA: Elsevier Inc.

Posey, A. (n.d.). Universal Design for Learning (UDL): A teacher’s guide. Retrieved from https://www.understood.org/en/school-learning/for-educators/universal-design-for-learning /understanding-universal-design-for learning.

Steiner, E. (1988). Methodology of theory building. Sydney: Educology Research Associates.

Wall, M., & Duffy, A. (2010). The effects of music therapy for older people with dementia. British Journal of Nursing. 19(2), 108-113.