ความต้องการและรูปแบบการสื่อสารนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลด้านความปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุ

Main Article Content

ชวพร ธรรมนิตยกุล
กันยารัตน์ ศรีวิสทิยกุล

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่าง 2) เพื่อศึกษาความต้องการของผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างในด้านนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลด้านความปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการสื่อสารนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลด้านความปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุ เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มกับตัวแทนผู้สูงอายุที่ใช้สื่อออนไลน์อย่างต่อเนื่อง จำนวน 8 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกกับตัวแทนผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง/ ติดบ้านที่มีเงื่อนไขเดียวกัน จำนวน 12 คน จาก 6 ภูมิภาค เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการสื่อสารนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลด้านความปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุ และนำรูปแบบการสื่อสารนวัตกรรมนี้ไปรับการประเมินความเป็นไปได้ในการพัฒนาการสื่อสารนวัตกรรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ผลการศึกษาพบว่า


          ผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างใช้ Line application มากที่สุด เพื่อติดต่อเพื่อนฝูงและครอบครัว รวมทั้งใช้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและหาความรู้เพิ่มเติมในการดูแลสุขภาพ รักษาอาการเจ็บป่วย และรับข่าวสารต่างๆ ผู้สูงอายุต้องการนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลด้านความปลอดภัยทางเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาศักยภาพในการใช้สื่อสารสนเทศเพื่อให้ได้ประโยชน์มากขึ้น ทั้งนี้รูปแบบการสื่อสารนวัตกรรมควรใช้วิธีการสื่อสารแบบเฉพาะบุคคล (Personalized) ด้วยการโต้ตอบการสนทนาผ่านระบบหุ่นยนต์สนทนา (Chatbot) ผ่าน Line application โดยผสมกับการสื่อสารด้วยบุคคลเพื่อโน้มน้าวให้ผู้สูงอายุตระหนักในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ จนเกิดความมั่นใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต หลังจากนำรูปแบบการสื่อสารนี้ไปรับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยกับรูปแบบการสื่อสารนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลด้านความปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุในระดับมาก สามารถนำไปพัฒนาเป็นนวัตกรรมได้จริงและช่วยส่งเสริมผู้สูงอายุในการพัฒนาทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยได้อย่างเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐกานต์ บุญรอด, และทิพยา จินตโกวิท. (2558). แนวทางในการออกแบบการสร้างเนื้อหาบนเว็บไซต์สำหรับผู้สูงอายุ. The 11th National Conference on Computing and Information Technology (NCCIT2015), 481-486.

สุวิช ถิระโคตร, และวีรพงษ์ พลนิกรกิจ. (2561). พฤติกรรมการใช้และการรู้เท่าทันอินเทอร์เน็ตและทัศนคติการใช้เนื้อหาด้านสุขภาวะบนอินเทอร์เน็ตของผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(1), 72-80.

อารีย์ มยังพงษ์, และเกื้อกูล ตาเย็น. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการการเรียนรู้เทคโนโลยีของผู้สูงอายุในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

อุษา บิ้กกิ้นส์, และชวพร ธรรมนิตยกุล. (2561). นวัตกรรมสื่อเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลผ่านมัลติแพลทฟอร์ม. กรุงเทพฯ: กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์.

Blackwood-Brown, C., Levy, Y., & D'Arcy, J. (2019). Cybersecurity awareness and skills of senior citizens: A motivation perspective. Journal of Computer Information Systems, 61, 1-12.

Dhamanitayakul, C. (2017). Conceptualization digital citizenship for digital natives in Thailand. Bangkok: National Institute of Development Administration.

Osgood, C. E., & Schramm, W. (1954). The process and effects of mass communication. Urbana: University of Illinois Press.

Przegalinska, A., Ciechanowski, L., Stróż, A., Gloor, P., & Mazurek, G. (2019). In bot we trust: A new methodology of chatbot performance measures. Business Horizons, 62, 785-797.

Rogers, E. M. (2003). Diffusion of innovations (5th ed.). New York: Free.

Sayago, S., Forbes, P., & Blat, J. (2012). Older people becoming successful ICT learners over time: Challenges and strategies through an ethnographical lens. Educational Gerontology, 38, 6.

Tascini, G. (2019). AI-Chatbot using deep learning to assist the elderly. In Minati, G., Abram, M., & Pessa, E. (Eds.), Systemics of incompleteness and quasi-systems (pp. 303-315). New York: Springer.

Toshinari, I., Shoma, A., Masatomo, K., & Hironobu, T. (2014). Involving senior workers in crowdsourced proofreading. In Proceedings of the 8th international conference on universal access in human-computer interaction: aging and assistive environments volume 8515 (pp. 106-117). Berlin: Springer.