มโนอุปลักษณ์ทิศทางของพื้นที่ในภาษาไทย: การสำรวจรายงานวิจัยด้านมโนอุปลักษณ์

Main Article Content

วรวรรณา เพ็ชรกิจ

บทคัดย่อ

               มโนอุปลักษณ์ทิศทางของพื้นที่ (orientational conceptual metaphor) ในภาษาไทยมีรายงานไว้ค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับมโนอุปลักษณ์โครงสร้างและรูปธรรม (structural and ontological conceptual metaphor) นอกจากนี้วิธีการระบุมโนทัศน์ต้นทาง (source domain) ของบางมโนทัศน์ยังมีลักษณะคาบเกี่ยวกับวิธีการนำเสนอมโนอุปลักษณ์เชิงโครงสร้างและเชิงรูปธรรมอีกด้วย การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจมโนอุปลักษณ์ทิศทางของพื้นที่ที่ปรากฏในงานวิจัยด้านมโนอุปลักษณ์ในภาษาไทยจำนวน 81 ชิ้น ในด้านจำนวน มโนทัศน์ปลายทาง วิธีการระบุมโนทัศน์ต้นทาง และปัจจัยที่อาจเกี่ยวข้องกับการรายงานมโนอุปลักษณ์ทิศทางของพื้นที่ไว้ค่อนข้างน้อย ผลการสำรวจพบการรายงานมโนอุปลักษณ์ทิศทางของพื้นที่ไว้ 12 มโนอุปลักษณ์ในงานวิจัยเพียง 7 ชิ้น โดยพบในมโนทัศน์นามธรรมที่มีคู่ตรงข้าม 4 มโนทัศน์ ได้แก่ ความสุข-ความเศร้า และชีวิต-ความตาย ส่วนมโนทัศน์นามธรรมที่ไม่มีคู่ตรงข้ามพบเพียง 2 มโนทัศน์คือ ใจ และ เวลา และพบการระบุมโนทัศน์ต้นทางด้วยคำบอกทิศทาง ตำแหน่งและพื้นที่ในแนวตั้งมากที่สุด ได้แก่ ขึ้น-ลง บน-ล่าง และสูง-ต่ำ นอกจากนี้มีการใช้คำแสดงการเคลื่อนที่และคำอื่นๆ ประกอบอีกด้วย ในด้านปัจจัยพบว่าประเภทของมโนทัศน์ที่เลือกศึกษา วิธีการจัดกลุ่มอุปลักษณ์และวิเคราะห์มโนอปุลักษณ์ และแหล่งข้อมูลภาษาที่ใช้ศึกษาอาจเกี่ยวข้องกับการรายงานมโนอุปลักษณ์ทิศทางของพื้นที่ในภาษาไทยไว้ค่อนข้างน้อย ผลการสำรวจช่วยให้แนวทางในการวิเคราะห์และระบุอุปลักษณ์และมโนอุปลักษณ์ทิศทางของพื้นที่ในภาษาไทย รวมทั้งการเลือกมโนทัศน์และแหล่งข้อมูลภาษาที่จะศึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อนักวิจัยและนักวิชาการด้านมโนอุปลักษณ์และด้านภาษาและปริชานได้ในระดับหนึ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ สมบูรณ์พงษ์, และเชิดชัย อุดมพันธ์. (2563). อุปลักษณ์มโนทัศน์ความขัดแย้งทางการเมืองไทย: การศึกษาเชิงอรรถศาสตร์ปริชานในข่าวหนังสือพิมพ์. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 10(4), 129-135.

กรกต กลิ่นเดช, และณรงค์กรรณ รอดทรัพย์. (2562). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับความรักในบทเพลงที่ประพันธ์โดยแก้ว อัจฉริยะกุล. วารสารมังรายสาร, 7(2), 33-44.

กรกนก รัมมะอัตถ์. (2556). การเปรียบเทียบอุปลักษณ์ความรักในเพลงลูกทุ่งกับเพลงไทยสากล (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

คยอง อึน ปาร์ค. (2558). มโนทัศน์ของคำว่า ใจ ในภาษาไทยเปรียบเทียบกับภาษาเกาหลี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 15(2), 199-212.

คลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ม.ป.ป.). สืบค้นจาก http://www.arts.chula.ac.th/~ling/tnc3/.

ชัชวดี ศรลัมพ์. (2561). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ “เวลาเป็นพื้นที่”: การศึกษาตามแนวทางภาษาศาสตร์ปริชาน คำว่า “หน้า” และ “หลัง” ในภาษาไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 13(2), 1-22.

ซูเจิน หนง. (2553). การเปรียบเทียบอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในข่าวเศรษฐกิจภาษาไทยและภาษาจีน (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์. (2558). อุปลักษณ์เกี่ยวกับอารมณ์กลัวในภาษาไทย. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ, 18(36), 65-80.

ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์. (2561). มโนอุปลักษณ์แสดงอารมณ์โศกเศร้าในนวนิยายไทย. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 6(2), 55-76.

ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์. (2562). มโนอุปลักษณ์แสดงภูตผีปีศาจหรือวิญญาณในภาษาไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 12(6), 209-233

ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์, อัญชลี วงศ์วัฒนา, และพัชรินทร์ อนันต์ศิริวัฒน์. (2560). อุปลักษณ์เกี่ยวกับอารมณ์กลัวในรวมเรื่องสั้นและรายการโทรทัศน์ภาษาไทย. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน, 8(2), 85-107.

ธนณ์พรรศดิ์ แก้วประดิษฐ์พร. (2563). มโนอุปลักษณ์ในข่าวบันเทิงบนเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ออนไลน์ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ธนพล เอกพจน์. (2561). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ความจนในภาษาไทย: กรณีศึกษาการใช้ภาษาไทยบนเว็บไซต์ของพันทิปดอทคอม. รมยสาร, 16(1), 377-400.

เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. (2536). พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ฉบับใหม่. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.

นพรัตน์ น้อยเจริญ. (2558). ครูคือใคร: มโนอุปลักษณ์ครูในบทเพลงไทย. ใน เอกสารการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (น. 933-941). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นพวรรณ เมืองแก้ว, และอธิปัตย์ นิตย์นรา. (2564). อุปลักษณ์ความรักในบทเพลงของธงไชย แมคอินไตย์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 9(1), 108-124.

นรินทร์ บัวนาค. (2559). มโนอุปลักษณ์กีฬาฟุตบอลในหนังสือพิมพ์ไทย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

นันท์นภัส อยู่ประยงค์. (2553). การศึกษาเปรียบเทียบอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ของความสุข ความโกรธและความเศร้าในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

น้ำเพชร จินเลิศ. (2551). การศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับผู้หญิงในวรรณกรรมนิราศ. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 10(1), 157-190.

นิภาดา โพธิ์เรือง. (2559). การศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์นางร้ายในนิยายพาฝัน (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

บุณย์เสนอ ตรีวิเศษ. (2560). มโนอุปลักษณ์การเมืองในบทกวีรางวัลพานแว่นฟ้า. รมยสาร, 15(1), 73-91.

ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร. (2560). อุปลักษณ์แสดงอารมณ์ในภาษาไทย. วิวิธวรรณสาร, 1(1), 63-86.

ปิ่นอนงค์ อำปะละ. (2559). ระบบมโนทัศน์ “เวลา” ของผู้พูดภาษาไทยถิ่นเหนือ (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ปิ่นอนงค์ อำปะละ. (2563). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เวลาเป็นการเคลื่อนที่ “ลง” ในภาษาไทยถิ่นเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 45-59.

ปิยภรณ์ อบแพทย์. (2552). อุปลักษณ์เกี่ยวกับชีวิตในหนังสือธรรมะ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พงษ์ศักดิ์ รัตนวงศ์. (2549). เมื่อการเมืองเป็นเรื่องหมัดมวย. มนุษยศาสตร์สาร, 7(2), 1-10.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554). สืบค้นจาก https://dictionary.orst.go.th/.

ภัทราภรณ์ ละมุล. (2560). อุปลักษณ์ชีวิตในบทบันทึกชีวิตของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล. วิวิธวรรณสาร, 1(2), 37-60.

ภาณุพงษ์ อินต๊ะวงค์, และอนุสรา ศิริมงคล. (2562). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์แห่งสงครามของการเลือกตั้ง 62 ในข่าวออนไลน์. พิฆเนศวร์สาร, 15(2), 33-44.

มิรินด้า บูรรุ่งโรจน์. (2548). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับผู้หญิงในบทเพลงลูกทุ่งไทย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ยมลภัทร ภัทรคุปต์. (2553). อุปลักษณ์ความตายในหนังสือธรรมะ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

รัชนีย์ญา กลิ่นน้ำหอม. (2551). อุปลักษณ์ที่นักการเมืองไทยใช้: การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ปริชานและวัจนปฏิบัติศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

รัชนีย์ญา กลิ่นน้ำหอม, และมนตรี เจียมจรุงยงศ์. (2556). ชีวิตคืออะไร: มโนทัศน์ชีวิตในเว็บบล็อกของไทยและจีน. วารสารวจนะ, 1(2), 43-60.

ฤทัย พานิช. (2557). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับข้าวในสังคมไทย. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน, 5(2), 161-190.

วิลาวัณย์ วิษณุเวคิน. (2550). อุปลักษณ์ในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ไทย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ศรณ์ชนก ศรแก้ว. (2560). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับบุคคลที่สามของความรักในเพลงไทย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์, และวุฒินันท์ แก้วจันทร์เกตุ. (2562). เวลาคือพื้นที่ปิดล้อม: อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์แสดงเวลาตามปฏิทินในภาษาไทยถิ่นลำปาง. วรรณวิทัศน์, 19(1), 136-159.

ศุภชัย ต๊ะวิชัย. (2550). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์แสดงอารมณ์โกรธในภาษาไทย. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 29(ฉบับพิเศษ), 209-232.

สรียา ทับทัน. (2549). อุปลักษณ์ชีวิต: ระบบฌานทัศน์ของคนไทยเกี่ยวกับศีลธรรม. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 7(12), 40-44.

สินีนาฏ วัฒนสุข. (2549). อุปลักษณ์แสดงอารมณ์รักในเพลงไทยสากลสำหรับวัยรุ่นไทย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สิริศิระ โชคทวีกิจ. (2564). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ความกลัวในวรรณกรรม: กรณีศึกษาเรื่องสั้น “สงบงงในดงงู”. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 28(1), 116-153.

สุกัญญา รุ่งแจ้ง. (2548). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ของการใช้คำว่า “ใจ” ในภาษาไทย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สุรเชษฐ์ พิชิตพงศ์เผ่า. (2553). อุปลักษณ์ชีวิตในหนังสือแนะนำการดำเนินชีวิต: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับมโนทัศน์ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เหยา ซือฉี. (2563). อุปลักษณ์มโนทัศน์ “ใจเป็นพื้นที่” ในภาษาไทยเปรียบเทียบกับภาษาจีน. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 27(2), 215-239.

อาทิมา วรินทร์อุดมสุข, และชัชวดี ศรลัมพ์. (2562). อุปลักษณ์ที่แสดงมโนทัศน์น้ำท่วมในข่าวภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศส. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Hamanities, Social Sciences and Arts), 12(3), 872-897.

อำนาจ ปักษาสุข. (2559). มโนอุปลักษณ์เกี่ยวกับบุญในภาษาไทย: กรณีศึกษากลุ่มสาธารณะในเฟซบุ๊ก. ใน ภาษาและวรรณกรรมเอกสารรวบรวมบทความการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 6 เรื่องอัตลักษณ์แห่งเอเชีย (น. 47-57). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร. อุษา พฤฒิชัยวิบูลย์. (2544). การศึกษาอุปลักษณ์เรื่องการเมืองในภาษาไทยตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เอกพล ดวงศรี. (2561). กรรม: อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ที่สะท้อนความเชื่อในสังคมไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 10(1), 86-102.

Al-Saleh, T., Al-Shuaibi, J., Sharab M., & Almomani, R. (2020). A cognitive analysis of head and heart metaphors in English and Spanish. International Journal of Arabic-English Studies (IJAES), 20(2), 115-132.

Bultinck, B. (1998). Metaphors we die by: Conceptualization of death in English and their implications for the theory of metaphor. Antwerp: Antwerp papers in Linguistics 94.

Chen, C. (2014). A contrastive study of time as space metaphor in English and Chinese. Theory and Practice in Language Studies, 4(1), 129-136.

Hamdi, S. (2015). A cognitive study of happiness metaphors in English, Tunisian Arabic and Spanish, Arab World English Journal, 6(1), 132-143.

Kövecses, Z. (2002). Metaphor: A practical introduction (2nd ed.). New York: Oxford University Press.

Kövecses, Z. (2010). Metaphor: A practical introduction (2nd ed.). New York: Oxford University Press.

Kuczok, M. (2018). The biblical metaphors of sin: A cognitive-semantic perspective on the English version of the Bible. Linguistica Silesiana, 39, 171-186.

Lakoff, G., & Johnson, M. (1980). Metaphors we live by. Chicago: University of Chicago press.

Liu, X., & Zhao, G. (2013). A comparative study of emotion metaphors between English and Chinese. Theory and Practice in Language Studies, 3(1), 155-162.

Petchkij, W. (2008). Conception of men with negative behaviors in Thai metaphors. Windows to reality: Investigating representations and meanings in discourses. Malaysia: Pearson.

Radden, G. (2011). Spatial time in the West and the East. In M. Brdar, M. Omazic, V. P. Takac, T. Gradecak-Erdeljic, & G. Buljan (Eds). Space and time in language (pp. 1-40). Frankfurt et al.: Peter Lang.

Stefanowitsch, A. (2006). Words and their metaphors: A corpus-based approach. In S. T. Gries, & A. Stefanowitsch (Eds.), Corpus-Based approaches to metaphor and metonymy (Trends in Linguistics 171) (pp. 61-105). Berlin and New York: Mouton de Gruyter.

Tian, C. (2014). A contrastive study of death metaphors in English and Chinese. International Journal of English Linguistics, 4(6), 134-142.

Trào, Ng. V. (2014). A cross-cultural analysis of the metaphorical conceptualization of sadness in modern English and Vietnamese. VNU Journal of Science: Foreign Studies, 30(2), 33-47.