การพัฒนาฐานข้อมูลคำศัพท์ด้านการขนส่งทางน้ำ ด้วยแนวทางออนโทโลยี

Main Article Content

กิ่งกาญจน์ สังขรัตน์
มุกข์ดา สุขธาราจาร

บทคัดย่อ

             บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการขนส่งทางน้ำเพื่อสร้างฐานข้อมูลคำศัพท์ตามแนวทางออนโทโลยี โดยคัดเลือกข้อมูลคำจากเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และเอกสารสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางน้ำ จำนวน 1,286 คำ ดำเนินการวิจัยโดยใช้แนวทางภาษาศาสตร์ 3 แนวทาง ได้แก่ การวิเคราะห์คำนามประสมและนามวลีจากข้อมูลที่เป็นรายการคำศัพท์ การวิเคราะห์คำสำคัญที่เชื่อมโยงกันในข้อความด้วยเกณฑ์ความสัมพันธ์ทางความหมายของคำ และการเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้จากผลการวิเคราะห์เพื่อจัดลำดับคำตามแนวทางการสร้างออนโทโลยีการขนส่งทางน้ำโดยอาศัยความสัมพันธ์ทางความหมายของคำแบบลดหลั่น ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าสามารถแบ่งคำศัพท์ออกเป็น 8 หมวดหมู่มโนทัศน์ ได้แก่ สินค้า ตู้ภาชนะ เครนหรือปั้นจั่น เรือที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้า ท่าเรือ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางน้ำ เส้นทางเดินเรือ และหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางน้ำ โดยในหมวดหมู่มโนทัศน์ “หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางน้ำ” พบมโนทัศน์ย่อยมากที่สุด จำนวน 19 มโนทัศน์ย่อย และหมวดหมู่มโนทัศน์ “ตู้ภาชนะ” มีจำนวนมโนทัศน์ย่อยน้อยที่สุด จำนวน 2 มโนทัศน์ย่อย จากจำนวนมโนทัศน์ย่อยทั้งหมด 605 มโนทัศน์ย่อย ส่วนการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อสร้างออนโทโลยีการขนส่งทางน้ำพบว่าสามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้สูงสุด 6 ลำดับชั้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นววรรณ พันธุเมธา. (2559). ไวยากรณ์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราณี กุลละวณิชย์. (2545). แบบลักษณ์ภาษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพียรศิริ วงศ์วิภานนท์. (2545). เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย 3. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มาลี กาบมาลา, ลำปาง แม่นมาตย์, และครรชิต มาลัยวงศ์. (2549). ออนโทโลยี: แนวคิดการพัฒนา. บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศน์ศาสตร์ มข., 24(1-3), 24-49.

วรรษพร อารยะพันธ์, และพัฑรา พนมมิตร. (2562). การพัฒนาออนโทโลยีความรู้ด้านผ้าล้านนา. วารสารมนุษยศาสตร์สาร, 20(2), 133-170.

ศิริพร ปัญญาเมธีกุล. (2549). การศึกษาความหมาย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สัญญา เคณาภูมิ. (2557). ปรัชญาการวิจัย: ปริมาณ คุณภาพ. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 3(2), 22-55.

สารานุกรมเสรี วิกิพีเดีย. (2565). ภววิทยา (วิทยาการสารสนเทศ). สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ภววิทยา_(วิทยาการสารสนเทศ)#อ้างอิง.

อภิฤดี จันทะเดช, และมาลี กาบมาลา. (2561). การพัฒนาออนโทโลยีนิทานพื้นบ้านเพื่อการสืบค้นและเข้าถึง. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา, 10(20), 191-206.

Gruber, T. R. (1993). Toward principles for the design of ontologies used for knowledge sharing. International Journal Human-Computer Studies, 43(5-6), 907-928.

Kawtrakul, A., Suktarachan M., & Imsombut A. (2004). “Automatic Thai Ontology Construction and Maintenance System”, workshop on OntoLex (LREC Post-conference workshops), Bisbon, Portugal. 68-74.

Suktarachan, S., & Jukhamsri, P. (2018). Ontology construction from Thailand labor protection act. In Proceedings of the 10th international conference on management of digital ecosystems (pp. 47-54). New York: Association for Computing Machinery.

Thunkijjanukij, A., Kawtrakul, A., Panichsakpatana, S., & Veesommai, V. (2009). Ontology development: A case study for Thai rice. Kasetsart Journal: Natural Science, 43(3), 594-604.

Toulni, H., & Nsiri, B. (2015). A hybrid routing protocol for VANET using ontology. Procedia Computer Science, 73, 94-101.