พระธาตุเชิงชุม: ตำนานและบทบาทที่มีอิทธิพล ต่อวิถีชีวิตชาวสกลนคร

Main Article Content

สุรชัย ชินบุตร

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมตำนานที่เกี่ยวข้องกับองค์พระธาตุเชิงชุมและศึกษาบทบาทขององค์พระธาตุเชิงชุมที่มีต่อวิถีชีวิตของชาวสกลนคร โดยเก็บข้อมูลจากคำบอกเล่าของปราชญ์ชาวบ้านซึ่งเป็นข้อมูลมุขปาฐะและเอกสารชั้นต้นที่เป็นลายลักษณ์อักษร และวิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดด้านคติชนวิทยา


         ผลการศึกษาพบว่าตำนานพระธาตุเชิงชุมแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นตำนานพื้นบ้านและส่วนที่เป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ส่วนที่เป็นตำนานพื้นบ้าน ได้แก่ ตำนานแม่กาเผือก อุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) ตำนานเมืองล่ม ตำนานพญานาค ส่วนที่สองบันทึกในมิติทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ พงศาวดารเมืองสกลนครบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นหลักฐานที่ใช้อธิบายประวัติความเป็นมาของจังหวัดสกลนคร โดยเฉพาะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประวัติศาสตร์เมืองสกลนคร ปูมเมืองสกลนคร และจดหมายเหตุการณ์บูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร พ.ศ. 2557 ทั้ง 3 เรื่องอธิบายประวัติความเป็นมาของจังหวัดสกลนคร ช่วยคลี่คลายประวัติความเป็นมาของจังหวัดสกลนคร ส่วนบทบาทของพระธาตุเชิงชุมต่อชาวสกลนครนั้น ได้แก่ บทบาทการถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นท้องถิ่น บทบาทการสร้างอัตลักษณ์ของท้องถิ่น และบทบาทการจัดระเบียบสังคม 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2483). อุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม). พระนคร: ไทยเขษม.

เกรียงไกร ปริญญาพล. (2558). พงศาวดารเมืองสกลนคร (ถอดความจากฉบับเดิม). สกลนคร: สกลนครการพิมพ์.

ขุนถิระมัยสิทธิการ. (2509). ตำนานพระธาตุเชิงชุมและพงศาวดารอีสานฉบับของพระยาขัติยวงษา. พระนคร: กรมการปกครอง.

ขุนศรีนครานุรักษ์. (2467). ตำนานเมืองสกลนคร. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร.

คณะกรรมการเมืองสกลนคร. (2531). ประวัติศาสตร์เมืองสกลนคร. สกลนคร: สกลนครการพิมพ์.

ดวงหทัย ลือดัง. (2554). การสืบทอดประเพณีเทศน์กาเผือกในชุมชนไทยยวน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เติม วิภาคย์พจนกิจ. (2559). ประวัติศาสตร์อีสาน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธวัช ปุณโณทก. (2530). ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว. กรุงเทพฯ: คุณพินอักษรกิจ.

รองอำมาตย์โท พระบริบาลศุภกิจ. (2558). พงศาวดารเมืองสกลนคร. สกลนคร: สกลนครการพิมพ์.

วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร. (2557). จดหมายเหตุการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุเชิงชุมจังหวัดสกลนคร. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2540). แอ่งอารยธรรมอีสาน: แฉหลักฐานโบราณคดีพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มติชน.

สำนักศิลปากรที่ 10 ร้อยเอ็ด. (2555). ร้อยรอยเก่าสกลนคร. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

สุทิน ศิริขันธ์. (2565, 25 มกราคม). ปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดสกลนคร. [บทสัมภาษณ์].

สุรชัย ชินบุตร. (2559). อุรังคธาตุนิทานพุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลกฉบับอีสานล้านช้าง: การสืบทอดและการสร้างสรรค์. วารสารไทยศึกษา, 12(1), 1-31.

สุรัตน์ วรางค์รัตน์. (2537). ประวัติศาสตร์สกลนคร. สกลนคร: วิทยาลัยครูสกลนคร.

อนันต์ ลากุล. (2560). ตำนานเมืองล่มในภาคอีสาน: ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรม ความเชื่อกับท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.