กลยุทธ์การบริหารนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานของโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ลัญระวี ปฏิพิมพาคม

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ลำดับความต้องการจำเป็นของการพัฒนาและกลยุทธ์การบริหารนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูภาษาญี่ปุ่นในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 123 คน ได้มาจากการเทียบตารางสำเร็จรูปของเครซีและมอร์แกน และสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบตอบสนอง ชนิด 5 มาตรา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา


               ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารนวัตกรรมการสอนภาษาญี่ปุ่นโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตาม ลำดับดังนี้ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน การประเมินผล และการวิเคราะห์ผู้เรียน 2) สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยครูสอนภาษาญี่ปุ่นต้องการให้มีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นสำคัญ รองลงมาคือ การเลือกเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนภาษาญี่ปุ่น 3) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน ได้แก่ ด้านการวิเคราะห์ผู้เรียน ด้านการวิเคราะห์เทคโนโลยี ด้านการวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ ด้านการออกแบบ การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี และ 4) กลยุทธ์การบริหารนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์หลัก และ 7 กลยุทธ์ย่อย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ เลาหบูรณะกิจ คะตะกิริ. (2561). การเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาการเรียนรู้แบบตื่นตัวและไตร่ตรอง. วารสารอักษรศาสตร์, 47(2), 331-391.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นและภาษาเยอรมันตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชลชลิตา กมุทธภิไชย. (2563). แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ ในรายวิชาการสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา. วารสารพิกุล, 18(1), 291-307.

ดารณี เอื้อชนะจิต. (2561). การวิเคราะห์ผู้เรียนและการทบทวนบทเรียนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(1), 49-58.

เตวิช เสวตไอยาราม. (2559). กลยุทธ์การอ่านของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยที่มีความสามารถต่างกัน. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 3(2), 59-78.

ธิษณา ศรัทธารัตน์ธนา. (2562). การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในวิถีชีวิตใหม่ในบริบทการศึกษาของประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 20(3), 1-15.

บุญรอด โชติวชิรา. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศ กรุงมัณฑเลย์ (MUFL) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(4), 170-182.

ปิยะดา เนียมสุวรรณ. (2564). การศึกษาการจัดการการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

พัทรียา หลักเพ็ชร. (2560). การจำแนกกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นด้วยเทคนิคการวิเคราะห์การจัดกลุ่มปัจจัยจิตพิสัยพฤติกรรมการตลาดและรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกประเทศไทยเพื่อการพำนักระยะยาว. วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทรรศน์, 39(153), 20-58.

เพ็ญวารี วิจิตรเวชไพศาล, สุวิมล นภาผ่องกุล, และลัคนา ชัยศักดิ์เลิศ. (2559). ความแตกต่างของกลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ. วารสารวิจัย มทร. กรุงเทพ, 10(2), 93-106.

ภรณีย์ พินันโสตติกุล, และยูมิโกะ ยามาโมโตะ. (2562). ทัศนคติของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนการสอนร่วมระหว่างผู้สอนชาวไทยและชาวญี่ปุ่น ในรายวิชาการฟัง-พูดภาษาญี่ปุ่นชั้นต้น. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา, 9(2), 26-40.

มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน. สืบค้นจาก https://connexted.org/foundation/.

วิเนส จันทะวงษ์ศรี และคณะ. (2562). การบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารราชนครินทร์, 16(36), 61-67.

สมบัติ คชสิทธิ์, จันทนี อินทรสูต, และธนกร สุวรรณพฤฒิ. (2560). การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียนยุค THAILAND 4.0. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(2), 175-186.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สุทธนู ศรีไสย์. (2551). สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมาลี วังทรายทอง. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TGT (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

Japan Foundation. (2016). ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/jfbangkok/.

Witthayasakphan, S. (2006). Teaching Thai as a foreign language. Chiang Mai: Ming Mueang.

梶浦真. (2015). アクティブラーニ ングの基礎知識―活童的な授業づくりへのアプローチ. Saitama: Kyouiku Houdou Publishing.