“ได้ดื่มจากน้ำให้รักษาน้ำ ได้กินจากป่าให้รักษาป่า”: แนวคิดเรื่องชาติพันธุ์กับสิ่งแวดล้อมในสารคดีเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

Main Article Content

คณภูมิ รตินที
ชัยรัตน์ พลมุข

บทคัดย่อ

              บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องชาติพันธุ์กับสิ่งแวดล้อมในสารคดีเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอที่ปรากฏในตัวบทสารคดีเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ จำนวน 30 เรื่อง ตีพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2559 ผลการศึกษาพบว่าสารคดีกลุ่มดังกล่าวนำเสนอแนวคิดเรื่องชาติพันธุ์กับสิ่งแวดล้อม 3 แนวคิด ได้แก่ 1) แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอกับธรรมชาติที่นำเสนอให้เห็นวิถีชีวิตของชาวปกาเกอะญอที่ผูกพันใกล้ชิดกับสิ่งแวดล้อม 2) แนวคิดเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับมิติทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นว่าการพิจารณาประเด็นสิ่งแวดล้อมไม่สามารถแยกขาดจากการเข้าใจความเชื่อและวิถีปฏิบัติของกลุ่มชาติพันธุ์ได้ และ 3) แนวคิดเรื่องสิ่งแวดล้อมกับสิทธิมนุษยชนที่สะท้อนให้เห็นการต่อสู้ของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอเพื่อเข้าถึงแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติ ทั้งนี้ กลวิธีสำคัญที่ใช้ในการนำเสนอแนวคิดดังกล่าว ได้แก่ การเลือกสรรเนื้อหาที่แสดงวิถีชีวิตของชาวปกาเกอะญอในด้านต่างๆ การอ้างอิงวรรณกรรมมุขปาฐะของกลุ่มชาติพันธุ์ การเปรียบเทียบมุมมองผู้เล่าเรื่องทั้งจากมุมมองของกลุ่มชาติพันธุ์กับคนนอกพื้นที่และการใช้ภาพพจน์โวหารเพื่อนำเสนอความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์กับสิ่งแวดล้อม โดยแนวคิดและกลวิธีทางวรรณศิลป์ที่นำเสนอผ่านเนื้อหาและเรื่องเล่าต่างๆ นั้น แสดงให้เห็นคุณค่าของวรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศในด้านการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมผ่านเรื่องเล่าเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ พรมเสาร์, และเบญจา ศิลารักษ์. (2542). ป่าเจ็ดชั้น: ปัญญาปราชญ์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิภูมิปัญญา.

จุไรพร จิตพิทักษ์. (2553). วัยรุ่นชาติพันธุ์ชายขอบกับการปรับตัวในเมืองเชียงใหม่: กรณีศึกษาวัยรุ่นปกาเกอะญอ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2556). วรรณคดีสีเขียว กระบวนทัศน์และวาทกรรมธรรมชาติในวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: นาคร.

บุหลัน รันตี. (2554ก). กะเหรี่ยงผู้พิทักษ์หัวเมืองตะวันตก. กรุงเทพฯ: บ้านหนังสือ.

บุหลัน รันตี. (2554ข). สวนผึ้ง ดินแดนแห่งหุบเขาทะเลหมอก. กรุงเทพฯ: บ้านหนังสือ.

บุหลัน รันตี. (2559). บุกป่าแก่งกระจาน. กรุงเทพฯ: บ้านหนังสือ.

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (2539). ภูมิปัญญานิเวศวิทยาชนพื้นเมือง ศึกษากรณีชุมชนกะเหรี่ยงในป่าทุ่งใหญ่นเรศวร. กรุงเทพฯ: โลกดุลยภาพ.

พชรวรรณ บุญพร้อมกุล. (2562). Ecocriticism นิเวศวิจารณ์: วรรณกรรม ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม โลก. ใน สุรเดช โชติอุดมพันธ์ (บ.ก.), นววิถี: วิธีวิทยาร่วมสมัยในการศึกษาวรรณกรรม (น. 375-437). กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

พรสุข เกิดสว่าง. (2555). ตัวตนคนปกาเกอะญอ. เชียงใหม่: ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ไพสิฐ พาณิชย์กุล และคณะ. (2560). รายงานฉบับสมบูรณ์ สิทธิของชุมชนชาวกะเหรี่ยง (ปกาเกอญอ) กับการดำเนินเขตวัฒนธรรมพิเศษไร่หมุนเวียนในพื้นที่ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาข้อพิพาทกรณีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของชุมชนกะเหรี่ยงในพื้นที่ป่าภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

ยศ สันตสมบัติ. (2547). นิเวศวิทยาชาติพันธุ์ ทรัพยากรชีวภาพ และสิทธิชุมชน. เชียงใหม่: วินอินดีไซน์.

วินัย บุญลือ. (2545). ทุนทางวัฒนธรรมและการช่วงชิงอำนาจเชิงสัญลักษณ์ของชุมชนชาวปกาเกอะญอ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง. (2548). หลังม่านต้นไม้. กรุงเทพฯ: สานใจคนรักป่า.

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน. (2555). แม่อมกิ ชีวิตแห่งผืนป่ากับมายาคติในกระบวนการยุติธรรม. กรุงเทพฯ: สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน.

สมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. (2562). ต่า เอาะ เลอะ คึ อาหารในไร่หมุนเวียน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

สังคีต จันทนะโพธิ. (2542). คนภูเขาชาวกะเหรี่ยง. กรุงเทพฯ: ธารบัวแก้ว.

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2560). รายงานการศึกษาวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

สุนทร คำยอด. (2558). ภาพเสนอและอุดมการณ์สิ่งแวดล้อมของชาติพันธุ์ปกาเกอะญอในวรรณกรรมเยาวชนของมาลา คำจันทร์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 3(1), 73-94.

สุวิชานนท์ รัตนภิมล. (2554). จอนิ โอ่โดเชา ในสวนของคนขี้เกียจ. กรุงเทพฯ: สันติภาพเพื่อสังคม.

หญ้าน้ำ ทุ่งขุนหลวง. (2547). เพลงภูเขา เสียงชนเผ่า คีตกวีแห่งโลก. กรุงเทพฯ: นาครมีเดีย.

หญ้าน้ำ ทุ่งขุนหลวง. (2550). คนกลางแจ้ง. กรุงเทพฯ: นาคร.

อัครพงศ์ อนุพันธ์พงศ์. (2550). บ้านเรือนชาวเขากะเหรี่ยงปกาเกอะญอ: ความยั่งยืนและการปรับตัวภายใต้นิเวศวัฒนธรรมไร่หมุนเวียน (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.