การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดการแปลป้ายสาธารณะภาษาจีนของท่าอากาศยานในไทย

Main Article Content

อมรรัตน์ เนตรธัญญกรวงศ์

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อผิดพลาดด้านการแปลป้ายสาธารณะภาษาจีนที่ปรากฏอยู่ใน 16 ท่าอากาศยานในไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2562-2565 โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มโดยบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวิเคราะห์ข้อผิดพลาดโดยการแจกแจงความถี่เป็นค่าร้อยละ และใช้ทฤษฎีการแปล “ถูกต้อง-สื่อความ-งามตามแบบแผน” (信、达、雅) ของเหยียนฟู่ (2009) และหลักและข้อควรระวังในการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน 10 ข้อ ของกนกพร นุ่มทอง (2554) เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยและนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ จากการวิเคราะห์ป้ายสาธารณะภาษาจีนที่มีข้อผิดพลาดด้านการแปล จำนวน 159 ป้าย พบข้อผิดพลาดรวมทั้งสิ้น 257 แห่ง พบข้อผิดพลาดด้านคำศัพท์มากที่สุด คือ 1) ด้านการแปลคำศัพท์ที่ไม่ตรงกัน 2) การแปลคำศัพท์ผิด 3) การใช้คำศัพท์ที่มีความหมายสับสน 4) ความสับสนด้านการใช้คำศัพท์ของคนฮ่องกงและไต้หวันกับการใช้คำศัพท์ของคนจีนแผ่นดินใหญ่ 5) การใช้ศัพท์บัญญัติ 6) การถอดเสียงของคำนามเฉพาะ รวมคิดเป็นร้อยละ 62 รองลงมาคือข้อผิดพลาดด้านไวยากรณ์ คือ 1) ความสับสนทางไวยากรณ์และประโยคที่คลุมเครือ 2) ข้อผิดพลาดด้านการใช้คำว่า “被” 3) ข้อผิดพลาดด้านการใช้คำบอกตัวเลขและคำลักษณนาม 4) ข้อผิดพลาดด้านการใช้คำกริยา 5) การแปลตกหล่นนำมาซึ่งข้อผิดพลาดด้านไวยากรณ์ รวมคิดเป็นร้อยละ 23 ข้อผิดพลาดด้านตัวอักษรจีน คือ 1) การใช้ตัวอักษรจีนผิด 2) การผสมอักษรจีนตัวเต็มและตัวย่อ 3) การผสมอักษรจีน ตัวย่อและอักษรต่างรูป รวมคิดเป็นร้อยละ 9 ข้อผิดพลาดด้านเครื่องหมายวรรคตอน คือ 1) การใช้เครื่องหมายวรรคตอนผิด 2) การขาดเครื่องหมายวรรคตอน 3) การใช้เครื่องหมายวรรคตอนภาษาจีนและภาษาอังกฤษผสมกัน 4) ตำแหน่งเครื่องหมายวรรคตอนผิด 5) ข้อผิดพลาดเครื่องหมายวรรคตอนอื่นๆ รวมคิดเป็นร้อยละ 4 และข้อผิดพลาดด้านวัฒนธรรมที่ถูกละเลยในการแปล รวมคิดเป็นร้อยละ 2 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร นุ่มทอง. (2554). ตำราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน. กรุงเทพฯ: สถาบันขงจื๊อ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กนกพร นุ่มทอง, และศิริวรรณ ลิขิตเจริญธรรม. (2562). หลักและข้อควรระวังในการแปลจีน-ไทย ไทย-จีน. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 12(2), 105-151.

กัญญา ภูริพัฒน์. (2560). การเพิ่มการบริการด้านภาษาจีนเพื่อผลักดันชาวจีนมาเที่ยวไทย: กรณีศึกษาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, สมุทรปราการ.

จิราพร เนตรสมบัติผล, และเดชา ชาติวรรณ. (2562). ทัศนะของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีต่อป้ายภาษาจีนในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของกรุงเทพมหานคร. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 21(2), 99-107.

เซินเย่, และกนกพร นุ่มทอง. (2565). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการแปลป้ายสาธารณะภาษาจีนและการกำหนดมาตรฐานป้ายสาธารณะในประเทศไทย. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 15(1), 240-285.

นูรีซัน อาลี. (2557). มุสลิมพลัส: แอพพลิเคชัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการละหมาด (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

บุรินทร์ ศรีสมถวิล. (2562). การก้าว “ไม่” ข้ามความเป็นอื่นด้านภาษาในพระราชนิพนธ์เรื่อง “แก้วจอมซน” ฉบับพากย์จีน. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 12(2), 259-315.

สหัทยา สิทธิวิเศษ. (2564). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดและสาเหตุข้อผิดพลาดในการแปลภาษาจีน บนป้ายสาธารณะในจังหวัดเชียงราย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(1), 88-98.

Landry, R., & Bourhis, R. Y. (1997). Linguistic landscape and ethnolinguistic vitality: An empirical study. Journal of Language and Social Psychology, 16(1), 23-49.

Vinay, J. P., & Darbelnet, J. (1995). Comparative stylistics of French and English: A methodology for translation. England: John Benjamins Publishing.

段连城. (1990). 呼吁: 请译界同仁都来关心对外宣传.中国翻译, 5, 2-10.

戴宗显,吕和发. (2005). 公示语汉英翻译研究——以 2012 年奥运会主办城市伦敦为例.中国翻译, 26(6), 38-42.

赫胥黎, 严复. (2009). 天演论(严复,译者). 北京: 中国青年出版社.

黄伯荣, 廖旭东. (2002). 现代汉语. 北京: 高等教育出版社.

李琰. (2018).中国翻译协会年会:做好公示语翻译提升城市国际形象. Retrieved from http://world. people.com.cn/n1/2018/1121/c1002-30414311.html.

吕和发, 蒋璐. (2013). 公示语翻译教程. 北京: 清华大学出版社.

苏培成. (2013). 近百年来汉字的简化与规. Retrieved from http://www.moe.gov.cn/jyb_xwfb/xw_fbh/moe_2069/s7135/s7562/s7569/201308/t20130827_156355.html.