มุมมองการเมืองในกวีนิพนธ์ที่ได้รับรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2563

Main Article Content

ภูษิต ศรีมณี
ดิเรก หงษ์ทอง
ธันวพร เสรีชัยกุล

บทคัดย่อ

              บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองการเมืองของกวีในกวีนิพนธ์ที่ได้รับรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2563 จำนวน 13 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่ากวีนำเสนอมุมมองการเมืองต่อผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองในระบอบการเมืองไทย โดยมีมุมมองต่อผู้ปกครอง 2 ประเด็น ได้แก่ 1) มุมมองเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมือง กวีมองว่านักการเมืองควรรับฟังความคิดเห็นของประชาชนให้รอบด้าน เพื่อนำไปพัฒนาและสร้างสรรค์สังคมให้เจริญรุ่งเรือง และนักการเมืองต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชาติและประชาชน และ 2) มุมมองเรื่องความสำคัญของสถาบันทางสังคมต่อการสร้างประชาธิปไตย กวีมองว่าสถาบันทางสังคมที่ดีคือรากฐานสำคัญที่มีส่วนสร้างความเป็นประชาธิปไตยให้เกิดแก่ประชาชนในชาติ ส่วนมุมมองการเมืองของกวีต่อผู้อยู่ใต้ปกครองมี 3 ประเด็น ได้แก่ 1) มุมมองเรื่องการเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างของคนในสังคม กวีมองว่าประชาชนควรรับฟังและยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมถึงเปิดพื้นที่ให้ผู้เห็นต่าง เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการอยู่ร่วมกันในสังคม 2) มุมมองเรื่องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน กวีมองว่าประชาชนในชาติต้องธำรงรักษาสิทธิและเสรีภาพของตนเอาไว้ด้วยความชอบธรรม เพื่อส่งต่อประชาธิปไตยให้แก่คนรุ่นหลัง อีกทั้งมองว่าประชาชนไม่ควรมองข้ามและเพิกเฉยต่อปัญหาต่างๆ ของสังคม และควรตระหนักรู้ในสิทธิและหน้าที่ของตนเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาเหล่านั้น และ 3) มุมมองเรื่องการซื้อสิทธิ์ขายเสียงของประชาชน กวีมองว่าประชาชนที่ขายเสียงเป็นเหตุให้นักการเมืองชั่วเข้ามาทำลายประเทศ มุมมองดังกล่าวเป็นการนำเสนอความคิดเห็นของกวีที่สัมพันธ์กับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคม เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดีและร่วมกันสร้างความเป็นประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นแก่ประเทศชาติอย่างสมบูรณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2550). การรัฐประหารในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

กันตพัฒน์ ชนะบุญ. (2563). การเมืองการปกครองของไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะกรรมการรางวัลพานแว่นฟ้า ปี 2563. (2563, 18 สิงหาคม). ผลการตัดสินเรื่องสั้นและบทกวี การประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2563. ประกาศคณะกรรมการรางวัลพานแว่นฟ้า ปี 2563.

จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2561). การวิเคราะห์ข้อความ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. (2561). ความรู้พื้นฐานทางรัฐศาสตร์ มนุษย์กับการเมือง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาดา นนทวัฒน์. (2557). นายกรัฐมนตรีไทย ผู้ขึ้นสู่ตำแหน่งจากการปฏิวัติ-รัฐประหาร ประวัติศาสตร์การเมืองไทยในวังวนของอำนาจ. กรุงเทพฯ: ยิปซี กรุ๊ป.

ชำนาญ รอดเหตุภัย. (2522). สัมมนาการใช้ภาษาไทยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์.

ดวงมน จิตร์จํานงค์. (2543). แนวคิดสําคัญของกวีนิพนธ์ไทยในยุคโลกาภิวัตน์. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 6(1), 1-13.

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2523). นวนิยายกับสังคมไทย พ.ศ. 2475-2500. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์.

เทิดไท นามแทน. (2563). แผนที่และเขี้ยวปลวก. ใน วาสนา ชูรัตน์ (บ.ก.), สิ่งที่รออยู่หลังเส้นชัย (น. 206-208). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ธงชัย แซ่เจี่ย. (2555). แนวคิดประชาธิปไตยในกวีนิพนธ์การเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า พ.ศ. 2546-2553 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ธเนศ เวศร์ภาดา. (2549). หอมโลกวรรณศิลป์. กรุงเทพฯ: ปาเจรา.

ธัญณ์ณภัทร์ เจริญพานิช. (2565). การเมืองไทยร่วมสมัย พ.ศ. 2540-2563 พัฒนาการทางการเมือง ความขัดแย้ง และประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิศานาจ โสภาผล, และอาทิตย์ ดรุนัยธร. (2555). กวีนิพนธ์รางวัลพานแว่นฟ้า: กลศิลป์ในการนำเสนอวรรณกรรมการเมือง. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์. (2562). ใครควรจะเป็นผู้ปกครอง. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 2(2), 172-198.

บุณย์เสนอ ตรีวิเศษ. (2560). มโนอุปลักษณ์การเมืองในบทกวีรางวัลพานแว่นฟ้า. รมยสาร, 15(1), 73-92.

ประภาพร สีทา. (2560). ความขัดแย้งทางการเมืองกับรัฐประหาร ปี พ.ศ. 2557. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 4(2), 145-166.

ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์. (2563). เราอยู่ตรงนี้นานเกินไปแล้ว. ใน วาสนา ชูรัตน์ (บ.ก.), สิ่งที่รออยู่หลังเส้นชัย (น. 230-232). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

รางวัลพานแว่นฟ้า. (2557, 12 พฤษภาคม). เรื่องเล่ารางวัลพานแว่นฟ้า. สืบค้นจาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_news.php?nid=32802.

วาสนา นาน่วม. (2557). ลับ ลวง พราง ภาค 8 อวสานยิ่งลักษณ์. กรุงเทพฯ: มติชน.

วิทย์ ศิวะศริยานนท์. (2531). วรรณคดีและวรรณคดีวิจารณ์. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.

วิศาล ศรีมหาวโร. (2556). สังคมวิทยาการเมืองการปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สมเกียรติ รักษ์มณี. (2551). ภาษาวรรณศิลป์. กรุงเทพฯ: สายน้ำใจ.

สันดร แก้วเกิดมี. (2563). เส้นแบ่ง. ใน วาสนา ชูรัตน์ (บ.ก.), สิ่งที่รออยู่หลังเส้นชัย (น. 238-239). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สันติ ทิพนา. (2562). ปรากฏการณ์ทางการเมืองและสังคมที่ปรากฏในบทกวีรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2561. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 10(1), 119-139.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2561). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสภา (แก้ไขเพิ่มเติม) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา. (2549). เจิมจันทน์กังสดาล: ภาษาวรรณศิลป์ในวรรณคดีไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธีร์ พุ่มกุมาร. (2563). 35 ชั่วโมง สัปปายะสภาสถาน. ใน วาสนา ชูรัตน์ (บ.ก.), สิ่งที่รออยู่หลังเส้นชัย (น. 213-215). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุปาณี พัดทอง. (2540). ศิลปะการประพันธ์ภาษาไทย: ร้อยกรอง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสฏฐ์ บุญวิริยะ. (2563). พินัยกรรม. ใน วาสนา ชูรัตน์ (บ.ก.), สิ่งที่รออยู่หลังเส้นชัย (น. 221-223). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

หทัยรัตน์ จตุรวัฒนา. (2563). เมืองนี้มีภูเขา แม่น้ำ ฯลฯ. ใน วาสนา ชูรัตน์ (บ.ก.), สิ่งที่รออยู่หลังเส้นชัย (น. 209-210). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อภิชาติ ดำดี. (2563). แม่น้ำสี่สาย. ใน วาสนา ชูรัตน์ (บ.ก.), สิ่งที่รออยู่หลังเส้นชัย (น. 227-229). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อังคาร จันทาทิพย์. (2563). เรื่องเล่าเพื่อลดอคติความเห็นต่าง. ใน วาสนา ชูรัตน์ (บ.ก.), สิ่งที่รออยู่หลังเส้นชัย (น. 233-235). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Collins English Dictionary (4th ed.). (2010). Retrieved from https://www.collinsdictionary.com/dictionary/english/perspective.

The Standard. (2562, 24 มีนาคม). 24 มีนาคม 2562 เลือกตั้งครั้งแรกหลังรัฐประหาร 2557. สืบค้นจาก https://thestandard.co/onthisday24032562/.

VOICE online. (2556, 6 กันยายน). เชน เทือกสุบรรณ ทุ่มเก้าอี้ประท้วงในสภา. สืบค้นจาก https://www.voicetv.co.th/read/81048.