กระบวนการกลายเป็นรูปไวยากรณ์ของคำ “มัก”

Main Article Content

สัณห์ธวัช ธัญวงษ์

บทคัดย่อ

              งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงของคำ มัก จากคลังข้อมูลตัวบทภาษาไทยสมัยเก่าตั้งแต่ พ.ศ. 1882 (สมัยสุโขทัย) ถึง พ.ศ. 2450 ตามแนวคิดเรื่องการกลายเป็นรูปไวยากรณ์ ผลการวิจัยพบว่าคำ มัก กลายหน้าที่ทางไวยากรณ์จากคำกริยาซึ่งมีความหมายว่า ‘ชอบ’ ไปสู่คำวิเศษณ์-คำช่วยกริยา ‘ความบ่อยของการเกิดเหตุการณ์’ กระบวนการกลายเป็นรูปไวยากรณ์ของคำ มัก เริ่มต้นขึ้นเมื่อคำกริยา มัก ปรากฏเป็นคำกริยาตัวแรกในหน่วยสร้างกริยาเรียง ส่งผลให้เกิดความกำกวมทั้งในแง่โครงสร้างไวยากรณ์และความหมายในปริบทการใช้ ความกำกวมดังกล่าวเอื้อให้คำ มัก ผ่านการวิเคราะห์ใหม่ จากเดิมที่คำ มัก เป็นคำกริยาหลักไปสู่คำวิเศษณ์-คำช่วยกริยาในตำแหน่งหน้ากริยา รวมถึงทำให้คำ มัก มีโอกาสที่จะเกิดการอนุมานความหมายโดยกระบวนการนามนัยว่าการชอบทำกิจกรรมหนึ่งย่อมแปลว่าทำกิจกรรมนั้นบ่อย คำ มัก ซึ่งแรกเริ่มแสดงหน้าที่ทางไวยากรณ์คำวิเศษณ์-คำช่วยกริยา ‘ความบ่อยของการเกิดเหตุการณ์’ ในปริบทเฉพาะผ่านการเปลี่ยนแปลงต่อ โดยการเทียบแบบและกระบวนการอุปลักษณ์ แล้วขยายปริบทการใช้ กระทั่งมีลักษณะเป็นคำวิเศษณ์-คำช่วยกริยาชัดเจนขึ้น ดังจะเห็นได้จากหลักฐาน 3 อย่าง ได้แก่ 1) การขยายการปรากฏจากเดิมที่ปรากฏเฉพาะกับหน่วยประธานที่มีคุณสมบัติทางความหมาย ‘มีชีวิต’ ไปสู่หน่วยประธานคุณสมบัติทางความหมาย ‘ไม่มีชีวิต’ 2) การขยายการปรากฏจากเดิมที่ปรากฏเฉพาะกับกริยาแสดงการกระทำ ไปสู่กริยาแสดงการประสบและกริยาแสดงสภาพ และ 3) การที่โครงสร้างวากยสัมพันธ์กลายไปมีลักษณะอย่างคำแสดงการณ์ลักษณะชัดเจนขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมตำรา. (2470). ปทานุกรม. พระนคร: โรงพิมพ์กรมตำรา กระทรวงธรรมการ.

กรมศิลปากร. (2545). ปูมราชธรรม เอกสารสมัยอยุธยาจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

กรมศิลปากร. (2554). ไตรภูมิ เอกสารจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา. (2559). กระบวนการกลายเป็นรูปไวยากรณ์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

นววรรณ พันธุเมธา. (2558). ไวยากรณ์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2551). TNC: Thai National Corpus (3rd ed.). สืบค้นจาก https://www.arts.chula.ac.th/ling/tnc3/.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

สัณห์ธวัช ธัญวงษ์. (2566). คำ “ภาย”: การศึกษาตามแนวคิดเรื่องกระบวนการเกิดคำใหม่และการกลายเป็นรูปไวยากรณ์. ภาษาและภาษาศาสตร์, 41(2), 1-30.

สุรีเนตร จรัสจรุงเกียรติ. (2551). ยัง: การศึกษาเชิงประวัติ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อภิญญา สร้อยธุหร่ำ. (2553). พหุหน้าที่ของคำว่า “จะ” ในภาษาไทย (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Anthony, L. (2023). AntConc (version 4.2.4) (computer software). Retrieved from https://www.laurenceanthony.net/software.

Bradley, D. B. (1873). Dictionary of the Siamese language. Bangkok: D.B. Bradley.

Brezina, V. (2018). Statistics in corpus linguistics: A practical guide. Cambridge: Cambridge University Press.

Caswell, J. (1846). A Dictionary of the Siamese language (Copied and enlarged by J.H. Chandler). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Chormai, P., Prasertsom, P., & Rutherford, A. (2019). Attacut: A fast and accurate neural Thai word segmenter. Retrieved from https://arxiv.org/abs/1911.07056.

Diller, A. (2001). Grammaticalization and Tai syntactic change. In K. M. R. Tingsabadh, & A. S. Abramson, (Ed.), Essays in Tai linguistics (pp. 139-176). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Enfield, N. (2007). A Grammar of Lao. Berlin: De Gruyter Mouton.

Haas, M. R. (1964). Thai-English student’s dictionary. Stanford, CA: Stanford University Press.

Hopper, E. C., & Traugott, E. C. (2003). Grammaticalization (2nd ed.). Cambridge: Cambridge University Press.

Hudak, T. J. (2007). William J. Gedney’s comparative Tai source book. Honolulu: University of Hawaii Press.

Jones, E. G. (1833). Thai-English Dictionary. Retrieved from http://sealang.net/dictionary/jones/.

Kuteva, T., Heine, B., Hong, B., Long, H., Narrog, H., & Rhee, S. (2019). World lexicon of grammaticalization. Cambridge: Cambridge University Press.

Lakoff G., & Johnson, M. (2003). Metaphors we live by. Chicago: The University of Chicago Press.

Langacker, R. (1977). 2. Syntactic Reanalysis. In C. Li (Ed.), Mechanisms of syntactic change (pp. 57-140). New York: University of Texas Press.

Noss, R. B. (1964). Thai reference grammar. Foreign Service Institute, Washington, DC: Department of State.

Pallegoix, J. B. (1854). Dictionarium linguae Thaĭ. Parisiis: Jussu Imperatoris Impressum.

Pothipath, V. (2023). Comitatives and instrumentals in Thai: A diachronic typological perspective. Manusya: Journal of Humanities, 26(1), 1-20.

Tansiri, K., & Thepkanjana, K. (2015). Functional extension of the verb for ‘to like’ in Thai to the frequentative aspectual marker. Paper presented at the 32nd Annual Meeting of the Southeast Asian Linguistics Society (SEALS 2015), Chiang Mai, Thailand.

Tansiri, K., Thepkanjana, K., & Kaenmuang, J. (2023). Functional extension of the verb for ‘to like’ in Thai to the frequentative aspectual marker. Unpublished manuscript.

Trask, R. L. (1993). A dictionary of grammatical terms in linguistics. London and New York: Routledge.

Vickery, M. (1974). A note on the date of the Traibhumikatha. Journal of the Siam Society, 62(2), 275-284.

Vickery, M. (1991). On Traibhumikatha. Journal of the Siam Society, 79(2), 24-36.