ปัญหาการใช้ภาษาสุภาพเชิงธุรกิจของผู้เรียนชาวไทย ระดับปริญญาตรีที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจเป็นวิชาเอก

Main Article Content

ณรงค์ศักดิ์ พิชญพิศุทธิ์

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัญหาการใช้ภาษาสุภาพเชิงธุรกิจของผู้เรียนชาวไทยระดับปริญญาตรีที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจเป็นวิชาเอก ชั้นปีที่ 3 จำนวน 28 คน โดยใช้แบบทดสอบการใช้ภาษาสุภาพเชิงธุรกิจในภาษาญี่ปุ่น 6 สถานการณ์ ปัญหาการใช้ภาษาสุภาพเชิงธุรกิจแบ่งออกเป็น 6 ประเภท คือ 1. ปัญหาจากการใช้รูปแบบคำผิด 2. ปัญหาจากการใช้ประเภทของภาษาสุภาพสลับกัน 3. ปัญหาจากผู้เรียนไม่สามารถจำคำ หรือสำนวนสุภาพได้ 4. ปัญหาจากผู้เรียนใช้คำผิดความหมายที่กำหนดไว้ หรือไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ 5. ปัญหาจากการใช้คำยกย่อง หรือคำถ่อมตนแบบที่ 1 หรือคำถ่อมตนแบบที่ 2 ทั้งๆ ที่ไม่ควรใช้ในบริบทนั้น 6. ปัญหาจากการใช้รูปสุภาพและรูปธรรมดาไม่เหมาะสม ผลการวิจัยพบว่าปัญหาการผันรูปทางไวยากรณ์ผิดยังคงเป็นปัญหาหลัก เนื่องจากผู้เรียนยังมีโอกาสในการนำไปใช้ไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดความชำนาญ อีกสาเหตุของปัญหาการใช้ภาษาสุภาพเชิงธุรกิจที่พบคือ ผู้เรียนยังมีปัญหาการพิจารณาใช้ภาษาสุภาพเชิงธุรกิจในมุมมองที่ตนเองยังเป็นผู้เรียนในสถาบันอุดมศึกษา ยังไม่เห็นภาพการทำงานในบริษัทได้อย่างชัดเจน เพราะยังไม่มีประสบการณ์ตรง จึงทำให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาสุภาพเชิงธุรกิจ โดยเฉพาะการเลือกใช้ภาษากับผู้ที่มีอาวุโสมากกว่า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คูซานางิ ยูตากะ. (2552). เคโกะ ภาษาสุภาพ เพื่อเข้าสังคมญี่ปุ่น (เสาวรีย์ นากางาวา, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ภาษาและวัฒนธรรม.

ตรรกวิทย์ มิ่งขวัญ. (2552). ความเข้าใจและทัศนคติเกี่ยวกับภาษาสุภาพรูปยกย่องและรูปถ่อมตนของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยหลังการเรียนรู้ระดับชั้นต้น (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ธนิส พูนวงศ์ประเสริฐ. (2559). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาสุภาพของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 26(2), 33-54.

ประภา แสงทองสุข, และ Nakao, Y. (2560). ภาษาญี่ปุ่น อะกิโกะโตะโทะโมะดะจิ 6 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: ภาษาและวัฒนธรรม.

วราลี จันทโร, และธนภัส สนธิรักษ์. (2563). การวิเคราะห์ปัญหาด้านการใช้ภาษาญี่ปุ่นที่พบในการฝึกงาน: กรณีศึกษาผู้เรียนวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา, 10(1), 65-82.

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). (2560). มินนะ โนะ นิฮงโกะ 4. กรุงเทพฯ: ภาษาและวัฒนธรรม.

上田あき帆. (2014). 「社会人にとって敬語とは何かーマナーブックと学校教育の比較からー」『信大国語教育』, 23, 1-12.

岡野喜美子. (2000). 「留学生の待遇表現使用ー発話調査の結果から」『早稲田大学日本語研究教育センター紀要』, 13, 1-13.

沖野谷美波. (2020). 「敬語が与える印象に関する研究-マニュアル敬語の事態に着目してー」『東京女子大学言語文化研究』, 29, 68-98.

タナサーンセーニー美香,當山純,高坂千夏子,中井雅也,深澤伸子. (2005). 「ビジネスで使う日本語を考える―企業と教育現場の視点からー」『国際交流基金バンコク日本文化センター 日本語教育紀要』, 2, 207-222.

チャニカー・チッターラーラック. (2020). 「ビジネス場面におけるタイ人と日本人による尊敬語・謙譲語の使用に関する考察 ―指標性の観点からー」『社会言語科学会 第44回大会発表論文集』, 198-201.

陳文敏. (2012). 「台湾人中級日本語学習者における損益語と謙譲語の学習上の問題点」『外国語文研究』, 13, 36-50.

戸田和子, 小柳津智子. (2012). 「外国語としての日本語の敬意表現学習における問題点ー大学留学生別科日本語教育課程の事例から」『湘南工科大学紀要』, 47(1), 85-90.

白土保, 丸元聡子, 村田真樹, 内元清貴, 井佐原均. (2006). 「日本語発話文に含まれる敬語の誤用を自動的に指摘するシステム-ウチソトの考慮,及び GUI の開発-」『言語処理学会』, 3-11.

半田佳奈子. (2019). 「日本語教育における「ビジネス日本語」に関する一考」『関西外国語大学留学生別科日本語教育論集』, 29, 21-30.

板野永理, 池田庸子, 大野裕, 品川恭子, 渡嘉敷恭子. (2020). 『初級日本語 げんきⅡ』第3版. 株式会社ジャパンタイムズ出版.

文化庁. (2005). 『国語に関する世論調査』. สืบค้นจาก https://www.bunka.go.jp/tokei_hakusho_shuppan/tokeichosa/kokugo_yoronchosa/pdf/92701201_14.pdf.

文化審議会. (2007). 『敬語の指針』. สืบค้นจาก https://www.bunka.go.jp/seisaku/bunkashingikai/sokai/sokai_6/pdf/keigo_tousin.pdf.

宮田剛章. (2005). 「中国人・韓国人学習者と日本語母語話者に見られる敬語動詞 の誤用訂正能力」『ジャーナルCAJLE』, 7, 59-74.

八重樫幸孝. (2020). 「現代日本語における敬語の誤用について」『岩大語文』, 19, 24-27.

ユパカー・フクシマ. (2018). 「タイの大学におけるビジネス日本語コースの現状と課題—カセサート大学を事例として—」『専門日本語教育研究』, 20, 3-8.