ภาพแทนคนอัฟริกันและอคติด้านเชื้อชาติ: การฉวยรับและการต่อรองกับลัทธิอาณานิคม ในนวนิยายแปลเรื่องสาวสองพันปีของครูเหลี่ยม

Main Article Content

ฟาริส โยธาสมุทร

บทคัดย่อ

                  บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาการแปลนวนิยายเรื่อง She ของเฮนรี ไรเดอร์ แฮกการ์ด มาเป็นนวนิยายภาษาไทยเรื่องสาวสองพันปีโดยนกโนรีหรือครูเหลี่ยม โดยอาศัยกรอบแนวคิดแบบหลังอาณานิคม ผลการศึกษาพบว่าในการแปลนวนิยายเรื่อง She ครูเหลี่ยมรักษาและขับเน้นภาพแทนด้านลบของคนอัฟริกันตามขนบวรรณกรรมโรมานซ์แนวจักรวรรดินิยมของต้นฉบับไว้อย่างชัดเจน ภาพแทนเช่นนี้แสดงอคติด้านเชื้อชาติที่เน้นความเหนือกว่าของคนยุโรปตามวาทกรรมแบบจักรวรรดินิยม อคติด้านเชื้อชาติที่ปรากฏนี้สอดรับกับวาทกรรมเรื่องเชื้อชาติที่นักเขียนชาวไทยช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ถึงต้นรัชกาลที่ 6 ส่วนหนึ่งแสดงออก แสดงให้เห็นถึงแนวคิดอคติด้านเชื้อชาติต่อคนอัฟริกันที่แพร่หลายในสังคมไทยบางส่วนในเวลานั้น เมื่อมองในกรอบหลังอาณานิคมทำให้ตีความได้ว่าครูเหลี่ยมได้ฉวยรับวาทกรรมของจักรวรรดิมาเพื่อสร้างความรู้สึกเหนือกว่าด้านเชื้อชาติโดยสร้างคนอัฟริกันให้เป็นคนป่าเถื่อนที่ด้อยกว่าตน นอกจากนี้กระบวนการแปลของครูเหลี่ยมยังทำให้เห็นว่าตัวบทเปิดโอกาสให้เกิดการบ่อนเซาะอำนาจครอบงำของชาติตะวันตกเจ้าอาณานิคม โดยชี้ให้เห็นความเป็นไปได้แห่งความเสื่อมถอยของจักรวรรดิ รวมถึงแทรกเอาคุณค่าแบบพุทธเข้าไปในตัวบทเพื่อก่อให้เกิดการต่อรองระหว่างความเป็นไทยกับความเป็นอื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. (2558). อ่านจนแตก: วรรณกรรม ความทันสมัย และความเป็นไทย (พงษ์เลิศ พงษ์วนานต์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: อ่าน.

ธนกร เพชรสินจร. (2557). วิเคราะห์ตัวละครชายขอบในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน: อำนาจ พื้นที่ และการเมืองในวรรณกรรมไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 6(2), 1-24.

นกโนรี (นามแฝง). (2459). สาวสองพันปี. พระนคร: กรุงเทพเดลิเมล์.

นัทธนัย ประสานนาม. (2561). หลวงวิจิตรวาทการกับนิยายโรมานซ์แนวจักรวรรดินิยม. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

แบรดเลย์, ดี. บี. (2514). อักขราภิธานศรับท์. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2494). ประมวลบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคปกิณกะ. พระนคร: พระจันทร์.

แม่วัน (นามแฝง). (2444). หมายเหตุเบ็ดเตล็ด. ลักวิทยา, 2(3), 241-244.

ราชบัณฑิตยสภา. (2567). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้นจาก https://dictionary.orst.go.th/.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (2563). จารึกโคลงภาพคนต่างภาษา แผ่นที่ 4 (ภาพอาฟริกัน) ด้านที่ 1. สืบค้นจาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/22772.

สรณัฐ ไตลังคะ. (2556). ความไม่พยาบาทของ ‘นายสำราญ’ กับอุดมการณ์ชนชั้นกลาง. ใน นัทธนัย ประสานนาม (บ.ก.), พิพิธพรรณวรรณา: ความทรงจำและสยาม-ไทยศึกษาในบริบทสากล (น. 117-136). กรุงเทพฯ: ภาควิชาวรรณคดีและคณะกรรมการฝ่ายวิจัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกับสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์.

สุพรรณี วราทร. (2516). ประวัตินวนิยายไทยตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Ashcroft, B., Griffiths, G., & Tiffin, H. (2013). Post-Colonial Studies: The key concepts. London and New York: Routledge.

Brantlinger, P. (1988). Rule of darkness: British literature and imperialism, 1830-1914. Ithaca and London: Cornell University Press.

Brantlinger, P. (2011). Taming cannibals: Race and the Victorians. Ithaca and London: Cornell University Press.

Britannica. (2024). Sir H. Rider Haggard. Retrieved from https://www.britannica.com/biography/H-Rider-Haggard.

Chittiphalangsri, P. (2014). The emerging literariness: Translation, dynamic canonicity and the problematic verisimilitude in early Thai prose fictions. in U. S. Kwan & L. W. Wong. (Eds.), Translation and global Asia: Relocating networks of cultural production (pp. 207-240). Hong Kong: The Chinese University Press.

Chittiphalangsri, P. (2019). From plagiarism to incense sticks: The making of self and the other in Thai translation history. In Y. Gambier & U. Stecconi (Eds.), A world Atlas of translation (pp. 105-124). Amsterdam/Philadelphia: John Benjamins Publishing Company.

Cuddon, J. A. (2013). A Dictionary of literary terms and literary theory (5th ed). Chichester: Wiley-Blackwell.

Green, M. (1979). Dreams of Adventure, Deeds of Empire. New York: Basic Books, Inc.

Haggard, H. R. (2017). She. Retrieved from https://www.apple.com/eg/apple-books/.

Hall, S. (1997). The work of representation. In S. Hall (Ed.), Representation: Cultural representation and signifying practices (pp. 13-58). London: Sage.

Harrison, R. (2014). Mummies, sex and sand: Bangkok gothic and the adventure fiction of “Victorian” Siam. In R. Harrison (Ed.), Disturbing convention: Decentering Thai literary cultures (pp. 79-110). London and New York: Rowman & Littlefield International.

Herzfeld, M. (2002). The absence presence: Discourses of Crypto-Colonialism. The South Atlantic Quarterly, 101(4), 899-926.

Jackson, P. A. (2004). The performative state: Semi-coloniality and the tyranny of images in modern Thailand. SOJOURN: Journal of Social Issues in Southeast Asia, 19(2), 219-253.

Jackson, P. A. (2008). Thai semicolonial hybridities: Bhabha and García Canclini in dialogue on power and cultural blending. Asian Studies Review, 32(2), 147-170.

Jackson, P. A. (2010). The ambiguity of semicolonial power in Thailand. In R. Harrison & P. A. Jackson (Eds.), The ambiguous allure of the West: Traces of the colonial in Thailand (pp. 37-56). Hong Kong: Hong Kong University Press.

Jedamski, D. (2002). Popular literature and postcolonial subjectivities: Robinson Crusoe, the Count of Monte Cristo and Sherlock Holmes in colonial Indonesia. In K. Foulcher & T. Day. (Eds.). Clearing a space: Postcolonial readings of modern Indonesian literature (pp. 19-47). Leiden: KITLV Press.

Jedamski, D. (2009). The vanishing act of Sherlock Holmes and Indonesia’s national awakening. In D. Jedamski (Ed.). Chewing over the west: Occidental narratives in non-western readings (pp. 349-379). New York: Amsterdam.

Jones, S. (2004). Into the Twentieth century: Imperial romance from Haggard to Buchan. In C. Saunders (Ed.). A companion to romance: from classical to contemporary (pp. 406-423). Oxford and Victoria: Blackwell.

Katz, W. R. (1987). Rider Haggard and the fiction of empire. New York and Melbourne: Cambridge University Press.

MacMaster, N. (2001). Racism in Europe 1870-2000. Hong Kong: Palgrave.

Newmark, P. (1988). A textbook of translation. New York: Prentice-Hall International.

Patteson. R. F. (1978). King Solomon’s Mines: Imperialism and narrative structure. The Journal of Narrative Technique, 8(2), 112-123.

Rafael, V. L. (1988). Contracting colonialism: Translation and Christian conversion in Tagalog society under early Spanish rule. Ithaca: Cornell University Press.

Said, E. (2003). Orientalism. London: Penguin books.