การออกแบบสถาปัตยกรรมและพื้นที่สำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี (Architectural and Spatial Designs for Young Children from Montessori Approach)

Main Article Content

นัฎฐิกา นวพันธุ์

Abstract

บทคัดย่อ


     การศึกษาชิ้นนี้เป็นการค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ความรู้ทางด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวการสอนแบบมอนเตสเซอรี โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การประมวลองค์ความรู้และสร้างฐานข้อมูลด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมและพื้นที่สำหรับเด็กปฐมวัย ตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี สาระ และกรรมวิธีการศึกษาของงานชิ้นนี้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) โดยมีกระบวนการการศึกษา 3 ขั้นตอน คือ 1) การระบุเป้าหมายทางการศึกษาที่ชัดเจน 2) การศึกษาถึงความเป็นไปได้ที่สภาพแวดล้อมทางกายภาพจะช่วยพัฒนาไปสู่เป้าหมายทางการศึกษา และ 3) การแปลงเป้าหมายในลักษณะของแนวคิดการจัดการไปสู่การออกแบบทางกายภาพ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงประเด็นสำคัญของการออกแบบพื้นที่ตามแนวทางมอนเตสซอรี นั่นคือ สภาพแวดล้อมมีความสำคัญต่อการเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี โดยสภาพแวดล้อมถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้การเรียนรู้บรรลุเป้าหมายแนวทางของมอนเตสซอรีต้องการรูปแบบสภาพแวดล้อมที่ถูกจัดเตรียมอย่างมีจุดมุ่งหมาย (Prepared Environment) ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมของเด็กซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างอิสระและเป็นธรรมชาติภายในสภาพแวดล้อมนั้น ทั้งนี้ เพื่อให้เด็กมีอิสระในการเลือกมีอิสระในตนเอง และเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ ค้นพบ เกิดความตระหนัก และพัฒนาได้ด้วยตนเอง


คำสำคัญ: สถาปัตยกรรมสำหรับเด็ก สภาพแวดล้อมสำหรับเด็ก เด็กปฐมวัย มอนเตสซอรี


Abstract


     This study searches for the knowledge about architectural and spatial designs for young children led
by Montessori approach. It aims to compile the relevant information and then to create a data base that could assist the architectural and spatial designs following the Montessori philosophy. Based on a document analysis, the study process consists of 1) identification of the educational goals, 2) recognition of the potential which the physical environment has for achieving the goals, and 3) phrasing the goals in operative concepts that can be translated into physical design. The result of the study displays the main ideas of the architectural and spatial designs following the Montessori approach. According to Montessori, environment is significant in children’s learning processes and “prepared environment” is a key to provoke children’s freedom to choose, to be independent, and ultimately, to discover, to have awareness and to develop all by themselves.


Keywords: Architectural and Spatial Designs for Children, Children’s Space, Early Childhood, Montessori

Article Details

How to Cite
นวพันธุ์ น. (2018). การออกแบบสถาปัตยกรรมและพื้นที่สำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี (Architectural and Spatial Designs for Young Children from Montessori Approach). Asian Creative Architecture, Art and Design, 25(2), 11–23. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/108676
Section
Academic Articles