ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
-
1) บทความต้องไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน (ทั้งในและนอกประเทศ) หากเคยเผยแพร่ ต้องมีการอนุญาตพิมพ์ซ้ำเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของบทความ
-
2) บทความต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสื่อสิ่งพิมพ์อื่น
-
3) บทความต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
-
14) ผู้เขียนโปรดปกปิดชื่อหรือข้อมูลที่ชี้นำหรือระบุตัวตนของท่านซึ่งอาจปรากฏในบทความ เช่น การอ้างอิงตัวท่านเองแทรกในเนื้อหา รายการอ้างอิง หรือกิตติกรรมประกาศ
-
4) บทความทุกบทความที่ส่งมาจะได้รับการประเมิน และตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ท่านที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในสาขานั้น ๆ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบชื่อและสังกัดของผู้เขียนบทความ (Double Blind)
-
5) บทความนำเสนอองค์ความรู้ใหม่ในแวดวงวิชาการ เช่น จากผลการวิจัย/ผลการศึกษา ระเบียบวิธีวิจัย/วิธีการศึกษา วิธีการเก็บข้อมูล หรือวิธีการวิเคราะห์
-
6) บทความอธิบายแนวคิดหลักการหรือทฤษฎีเฉพาะทางที่เพียงพอต่อการสร้างกรอบตัวแปรหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการวิจัยหรือศึกษา
-
7) บทความอธิบายระเบียบวิธีวิจัย (บทความวิจัย) ครอบคลุมขอบเขตการวิจัย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง การเลือกจำนวนและขนาด วิธีการวิจัย เครื่องมือวิจัย วิธีการเก็บข้อมูล หรือวิธีการศึกษา (บทความวิชาการ) ครอบคลุมรูปแบบและวิธีการ ขอบเขตการศึกษา ลักษณะเฉพาะของตัวอย่างที่ศึกษา เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา วิธีการเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
-
8) ต้นฉบับที่ส่งมาต้องมีคุณภาพการเรียบเรียงเขียนภาษาไทยและหรือภาษาอังกฤษในระดับดี มีระบบการจัดการหัวข้อ เนื้อหา กระชับตรงประเด็นเข้าใจง่าย ไวยากรณ์และตัวสะกดถูกต้อง
-
9) รูปแบบการจัดพิมพ์บทความถูกต้องตามกำหนดในรูปแบบอัตโนมัติและคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความวิชาการ
-
10) บทความควรมีความยาว 10-25 หน้า กระดาษ A4 รวมภาพประกอบ
-
11) บทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษรชนิด TH-Sarabun-PSK
-
12) บทความยึดถือรูปแบบการอ้างอิงในเนื้อหาบทความและในรายการอ้างอิงท้ายบทจาก การเขียนรายการอ้างอิง APA Style Reference List (7th edition)
-
13) วารสารฯ ขอส่งคืนบทความที่ต้องปรับปรุงคุณภาพการเรียบเรียงภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไวยากรณ์และตัวสะกด ระบบการจัดการหัวข้อและเนื้อหาให้กระชับตรงประเด็นเข้าใจง่าย รูปแบบการจัดพิมพ์ให้ถูกต้อง ก่อนดำเนินการต่อไป
-
15) บทความในลักษณะอื่น นอกเหนือจากรายละเอียดข้างต้นได้รับการพิจารณาจากกองบรรณาธิการเป็นกรณีเฉพาะ
หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
(Instructions for Authors)
1. ประเภทของผลงานทางวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
1.1 บทความวิจัย (Research Article) ได้แก่ บทความการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ จากการตั้งสมมติฐาน หรือกำหนดปัญหา ระบุวัตถุประสงค์ ทบทวนงานวิจัย แนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีที่สอดคล้องวัตถุประสงค์ วิเคราะห์ข้อมูล ตีความ อภิปรายและสรุปผล
1.2 บทความวิชาการ (Academic Article) ได้แก่ บทความการวิเคราะห์ วิจารณ์ เพื่อประมวลแนวคิดและองค์ความรู้ใหม่ ที่เรียบเรียงขึ้นจากผลงานทางวิชาการของตนเองหรือของผู้อื่น
1.3 บทความปริทัศน์ (Review Article) ได้แก่ บทความที่รวบรวมความรู้จากตำรา หนังสือ และวารสารใหม่ หรือจากผลงานและประสบการณ์ของผู้นิพนธ์มาเรียบเรียงขึ้น โดยมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบกัน
2. เนื้อหาของบทความ
ประกอบด้วย
2.1 ชื่อเรื่อง (Title)
สอดคล้องวัตถุประสงค์ ขอบเขตหรือผลการวิจัย กระชับ ตรงประเด็นและเข้าใจง่าย ขึ้นต้นด้วยชื่อเรื่องภาษาไทยตามด้วยภาษาอังกฤษ
2.2 ชื่อผู้เขียนและหน่วยงานสังกัด (Authors)
ระบุชื่อเต็ม-นามสกุลเต็มของผู้เขียนทุกคน หน่วยงานหรือสถาบันที่สังกัด ทั้งภาษาไทยภาษาอังกฤษ
2.3 บทคัดย่อ (Abstract)
ประกอบด้วยบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 350 คำ กระชับและตรงประเด็นครอบคลุมวัตถุประสงค์การวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย วิธีการเก็บข้อมูล เครื่องมือวิจัย ประชากร กลุ่มตัวอย่างหรือผู้ให้ข้อมูลและผลการวิจัย (บทความวิจัย) หรือครอบคลุมวัตถุประสงค์การศึกษา วิธีการศึกษา และผลการศึกษา (บทความวิชาการ)
2.4 คำสำคัญ (Keywords)
กำหนดคำสำคัญที่เหมาะสมสำหรับเป็นคำค้นในระบบฐานข้อมูล ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างละไม่เกิน 5 คำ
2.5 บทนำ (Introduction)
อธิบายถึงที่มา ความสำคัญของปัญหา และเหตุผลที่นำไปสู่การวิจัยหรือการศึกษา
2.6 วัตถุประสงค์การวิจัย (Research Aims) หรือการศึกษา (Study Aims)
ระบุเป้าหมายของการวิจัยหรือการศึกษา หลีกเลี่ยงการระบุประโยชน์หรือผลที่คาดว่าจะได้รับ
2.7 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง (Related Concepts and Theories)
การประมวลความคิดเชิงลึกจากการทบทวนแนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างกรอบการวิจัยหรือการศึกษาอย่างเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ สะท้อนการกำหนดปัจจัย ขอบเขต ระเบียบวิธีการ การเก็บหรือรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สรุปและนำมาเปรียบเทียบเมื่ออภิปรายผล
2.8 ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) หรือวิธีการศึกษา (Study Methodology)
อธิบายกระบวนการวิจัยที่สะท้อนความน่าเชื่อถือของผลการวิจัย ประกอบด้วยรูปแบบและวิธีการวิจัย ประชากร กลุ่มตัวอย่างและการเลือก จำนวน ขนาด เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการวิจัย วิธีการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ (ถ้ามี) อธิบายกระบวนการศึกษา (บทความวิชาการ) ประกอบด้วย รูปแบบและวิธีการศึกษา จำนวน ขนาด ลักษณะเฉพาะของตัวอย่างที่ศึกษา เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา วิธีการเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
2.9 ผลการวิจัย (Research Results) หรือผลการศึกษา (Study Results)
ตีความการวิเคราะห์ผลการวิจัยหรือผลการศึกษาอย่างครอบคลุม และสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ และชี้ให้เห็นถึงการสร้างองค์ความรู้และประโยชน์ในเชิงวิชาการ
2.10 การอภิปรายผล (Discussions)
อธิบายผลการวิจัยหรือผลการศึกษาว่าสอดคล้องหรือขัดแย้งกับองค์ความรู้ หรือผลการวิจัยหรือผลการศึกษาของผู้อื่นมีอยู่ก่อนหรือไม่อย่างไร เหตุผลใดจึงเป็นเช่นนั้น พร้อมแทรกแหล่งอ้างอิงประกอบ
2.11 การสรุปผลวิจัย (Conclusions)
สรุปผลการวิจัยหรือผลการศึกษาอย่างสอดคล้องตามวัตถุประสงค์/สมมติฐาน (ถ้ามี)
2.12 ข้อเสนอแนะ (Recommendations)
เสนอแนะการใช้ประโยชน์ของผลการวิจัยหรือผลการศึกษา หรือทิ้งประเด็นคำถามเป็นแนวทางสำหรับการวิจัยหรือการศึกษาต่อไป
2.13 กิติกรรมประกาศ (Acknowledgements)
ระบุแหล่งทุนสนับสนุนหรือความช่วยเหลือการดำเนินการวิจัยหรือการศึกษา โดยลบข้อความที่เปิดเผยตัวตนและสังกัดของผู้เขียน
2.14 การอ้างอิง (References)
โปรดใช้รูปแบบการอ้างอิงตามที่อธิบายในไฟล์ชื่อ การเขียนรายการอ้างอิง APA Style Reference List (7th edition) บนเว็บไซต์ของวารสาร ฯ และแนะนำผู้เขียนใช้ไฟล์ชื่อ รูปแบบอัตโนมัติและคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความวิชาการ บนเว็บไซต์ของวารสาร ฯ เป็นรูปแบบในการเขียนบทความ