ปัญหาและอุปสรรคในการใช้พื้นที่เปิดโล่งของวัด: กรณีศึกษาวัดราษฎร์ในเขตธุรกิจพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยในเขตเมืองชั้นในกรุงเทพมหานคร, Problems and Obstacles of the Use of Temple Open Space: Case Studies of Temples in Business Districs, and Residential Distri
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบการวางผังวัดและความสัมพันธ์กับพื้นที่เปิดโล่งในวัด ศึกษาประเภทของกิจกรรม และลักษณะการใช้สอยพื้นที่เปิดโล่งของวัด และนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของพื้นที่เปิดโล่ง
ประเภทของกิจกรรม และลักษณะการใช้สอยพื้นที่เปิดโล่งของวัด เพื่อที่จะได้นำไปวิเคราะห์และสรุปศักยภาพ ประเด็นปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในการใช้งานพื้นที่เปิดโล่งของวัด โดยเก็บข้อมูลจากการสำรวจ สังเกต และการสัมภาษณ์ผู้ใช้พื้นที่วัดใน
การทำกิจกรรม และการสัมภาษณ์ผู้ดูแลรับผิดชอบพื้นที่เปิดโล่งของวัดที่เป็นกรณีศึกษาทั้ง 6 กรณีศึกษา คือ วัดบางโพโอมาวาส วัดเลียบราษฎร์บำรุง วัดมัชฌันติการาม วัดจันทร์ใน วัดไผ่ตัน และวัดพรหมวงศาราม โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิง
พรรณนา ผลการศึกษาพบว่า สามารถจำแนกประเภทพื้นที่เปิดโล่งของวัดตามประโยชน์การใช้พื้นที่เปิดโล่งได้ 7 ประเภท ดังต่อไปนี้ 1) พื้นที่เปิดโล่งเพื่อทางสัญจรและจอดรถยนต์ 2) พื้นที่เปิดโล่งเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา 3) พื้นที่เปิดโล่งเพื่อตอบ
สนองต่อความเชื่อและศรัทธา 4) พื้นที่เปิดโล่งเพื่อการนันทนาการ 5) พื้นที่เปิดโล่งเพื่อการสื่อสาร 6) พื้นที่เปิดโล่งเพื่อการมองเห็นและเน้นความสำคัญ 7) พื้นที่เปิดโล่งเพื่อการค้า และผลการศึกษาชี้ให้เห็นปัจจัยปัญหา และอุปสรรค แยกเป็น 3 ประเด็น
หลัก คือ 1) ด้านทัศนคติของพระผู้บริหารและประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ให้ความสำคัญหรือนึกถึงประโยชน์ใช้สอยของพื้นที่เปิดโล่งภายในวัดในเรื่องของการมองเห็นและเน้นความสำคัญให้กับเขตพุทธาวาสและส่งเสริมแนวแกนในการวางผังเพื่อผลด้าน
การมองเห็นสิ่งก่อสร้างในเขตพุทธาวาสซึ่งเป็นหัวใจหลักที่สำคัญของวัดดังเช่นในอดีต 2) ด้านเศรษฐกิจ การเน้นเรื่องการหารายได้จากพื้นที่เปิดโล่ง เพื่อนำเงินมาทำนุบำรุงวัด 3) ด้านการบริหารจัดการพื้นที่ วัดขาดการบริหารจัดการพื้นที่ภายใน
วัด ทั้งงบประมาณและกำลังคนในการดูแลพื้นที่เปิดโล่งต่าง ๆ
คำสำคัญ: พื้นที่เปิดโล่ง วัดราษฎร์ ประเภทพื้นที่เปิดโล่ง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
Copyright Transfer Statement
The copyright of this article is transferred to Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang with effect if and when the article is accepted for publication. The copyright transfer covers the exclusive right to reproduce and distribute the article, including reprints, translations, photographic reproductions, electronic form (offline, online) or any other reproductions of similar nature.
The author warrants that this contribution is original and that he/she has full power to make this grant. The author signs for and accepts responsibility for releasing this material on behalf of any and all co-authors.
References
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2550). โครงการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานพื้นที่สีเขียวเพื่อเมือง
ที่น่าอยู่. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
จามรี อารยานิมิตสกุล. (2527). ความเป็นมาของบริเวณลานโล่ง. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เนตรนภิศ นาควัชร. (2525). วัดในกรุงเทพฯ: การเปลี่ยนแปลงในรอบ 200 ปี( พ.ศ 2325-2525). กรุงเทพมหานคร:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505. (2505). ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท..
ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพมหานครอักษรเจริญทัศน์.
สมคิด จิระทัศนกุล. (2548). รูปแบบพระอุโบสถและพระวิหารในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.กรุงเทพมหานคร: ศิลปากร.
สมคิด จิระทัศนกุล. (2544). วัด: พุทธศาสนสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร. (2553). รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อม 2553-2554. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.
สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร. (2550). หนังสือรายงาน และแผนปฏิบัติการว่าด้วยการลดปัญหาภาวะโลกร้อนของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550 – 2555. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.
สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร. (2546). แผนแม่บทพื้นที่สีเขียวกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มก.
สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร. (2554). ยุทธศาสตร์ผังเมืองนำการพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.