เครื่องประดับอัตลักษณ์จังหวัดกาญจนบุรี ภายใต้แนวคิดการเชื่อมต่อทางประวัติศาสตร์, Jewelry’s Identity of Kanchanaburi Province: under the Concept Related to Its History

Main Article Content

วรชัย รวบรวมเลิศ

Abstract

บทคัดย่อ


        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการออกแบบเครื่องประดับของวิสาหกิจชุมชนกาญจนบุรี สู่รูปแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทั้งการออกแบบและการผลิตที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ของจังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทางของเครื่องประดับร่วม
สมัยเชิงวัฒนธรรม โดยใช้แนวทาง “การทำให้เกิดลูกผสม” ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมเดิม (ปัจจัยท้องถิ่น) ผล คือเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของชุมชนปากแพรก ผสมกับอิทธิพลวัฒนธรรมภายนอก (ปัจจัยภายนอก) วิธีการดำเนินงาน
วิจัย ได้แก่ การลงพื้นที่สังเกตวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของประชากรในท้องถิ่น รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ ผลคือแนวทางการออกแบบ “การเชื่อมต่อ” ผลวิจัยได้ว่าอัตลักษณ์ใหม่ของเครื่องประดับสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน
กาญจนบุรีในโครงการวิจัยฯ คือ “การเชื่อมต่อทางประวัติศาสตร์” ซึ่งมาจากแนวคิดการนำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของชุมชนเป็นแก่นสำคัญในการพัฒนาการออกแบบเครื่องประดับ ผู้วิจัยสร้างงานเครื่องประดับต้นแบบคอลเลคชั่นผู้ชายได้แก่
เรื่องราวประวัติศาสตร์สำหรับเขา และคอลเลคชั่นผู้หญิงได้แก่ เรื่องราวประวัติศาสตร์สำหรับเธอ โดยงานต้นแบบทั้ง 2 ชุดนี้ส่งผลให้เกิดอัตลักษณ์ใหม่ของเครื่องประดับวิสาหกิจชุมชนกาญจนบุรี และนำไปสู่การพัฒนานักออกแบบในชุมชน


คำสำคัญ: การเชื่อมต่อทางประวัติศาสตร์ การออกแบบเครื่องประดับ อัตลักษณ์จังหวัดกาญจนบุรี การทำให้เกิดลูกผสม

Article Details

How to Cite
รวบรวมเลิศ ว. (2018). เครื่องประดับอัตลักษณ์จังหวัดกาญจนบุรี ภายใต้แนวคิดการเชื่อมต่อทางประวัติศาสตร์, Jewelry’s Identity of Kanchanaburi Province: under the Concept Related to Its History. Asian Creative Architecture, Art and Design, 26(1), 276–287. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/132844
Section
Research Articles

References

เกษมรัสมิ์ วิวิตรกุลเกษม และสุรเชษฐ ไชยอุปละ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อแสดงเอกลักษณ์ท้องถิ่นหลวงพระบาง. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. 24(1), 65-77.

สำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี. (2561). ข้อมูลทั่วไปจังหวัดกาญจนบุรี. เข้าถึงได้จาก: http://www.kanchanaburi.go.th. เดอะพับลิก. (2558). ผ้าขาวม้าร้อยสีกับลวดลายเอกลักษณ์ของกลุ่มผ้าทอมือบ้านหนองขาวกาญจนบุรี. เข้าถึงได้
จาก: http://www.publicpostonline.net/4487.

ทวีศักดิ์ มูลสวัดดิ์ และวรชัย รวบรวมเลิศ, (2560) ความคิดสร้างสรรค์กับการประยุกต์ เพื่อพัฒนาธุรกิจด้านอัญมณีและเครื่องประดับ สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนกาญจนบุรี. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัย
และพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

สุนิสา ละวรรณวงษ์ และนรินทร์ สังข์รักษา (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ของวิสาหกิจชุมชนอัญมณีและเครื่องประดับจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อการแข่งขันทางการค้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal.
8(1), 1192-1211.

Fiera di Vicenza. (2017). TrendVision Jewellery + Forecasting Trendbook 2018. Vicenza: Vicenzaoro.