แนวทางการพัฒนากายภาพแหล่งทรัพยากรท่องเที่ยวทางธรรมชาติ กรณีศึกษา ป่าชุมชนเขาสามสิบส่างและเขาเขียว จังหวัดนครราชสีมา The Physical Development Guideline for Natural Tourist Attraction: the Case Study of Khao Samsib Sang and Khao Kieow Community Forest, Nakhon Ratchasima Province

Main Article Content

ศราวุฒิ ใจอดทน

Abstract

บทคัดย่อ


        การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่มุ่งเน้นการเก็บรวบรวมข้อมูลแหล่งทรัพยากรท่องเที่ยวทางธรรมชาติป่าชุมชนเขาสามสิบส่างและเขาเขียว ตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา วิเคราะห์ศักยภาพ แหล่งทรัพยากรท่องเที่ยว ความต้องการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน และเสนอแนวทางการพัฒนากายภาพ เพื่อเพิ่มศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว โดยใช้วิธีการลงพื้นที่สำรวจภาคสนาม เก็บข้อมูลด้วยการถ่ายรูป และการสนทนา กลุ่มย่อยกลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของพื้นที่นำมาวิเคราะห์ในเชิงบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า ป่าชุมชน เขาสามสิบส่างและเขาเขียวเป็นแหล่งทรัพยากรท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีความหลากหลาย มีทัศนียภาพที่สวยงาม น่าสนใจ และเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพการท่องเที่ยว แต่ยังพบว่าปัญหาด้านสิ่งอำนวยความสะดวกนั้นเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อทางกายภาพของแหล่งทรัพยากรท่องเที่ยวมากที่สุด และความต้องการของชุมชนในการพัฒนาพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวนั้นมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่พบ จึงมาสู่การนำเสนอแนวทางการพัฒนากายภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติพื้นที่เขาสามสิบส่างและเขาเขียว คือ ควรจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ส่งเสริม การเรียนรู้และกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและผู้ที่มาทำกิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จากการศึกษานี้จึงสามารถนำไปเป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดแผนการ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของพื้นที่ต่อไป


 คำสำคัญ: แนวทางการพัฒนากายภาพ ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ป่าชุมชนเขา สามสิบส่างและเขาเขียว


 Abstract


        This research is aimed at collecting data about natural tourist attractions in Khao Samsibsang and Khao Kieow Community Forest, Maklueakao Sub-District, Sung Noen District, Nakhon Ratchasima province, in order to analyze the potential for tourist attractions, the need to develop tourist attractions of community and also to propose physical development guidelines to increase potential for tourist attractions. The fieldwork survey included photographs and focus group interviews of people in the area. Descriptive analysis is used to describe the study results. The study indicates that Khao Samsibsang and Khao Kieow Community Forest have a diversity of natural resources, beautiful scenery and potential tourist areas. The research also found that the facility issues are the most important problem affecting the physical of tourist attractions and community needs for tourist attractions development are consistent with the problems encountered. The 110 proposed physical development guidelines to increase the potential of natural tourist attractions in Khao Samsibsang and Khao Kieow Community Forest, are that facilities and activities should be provided that promote learning to support tourists and those who come to the activities of the Sufficiency Economy Learning Center. This study can be used as a guideline for relevant agencies to apply the development plan for further natural tourism.


Keywords: Physical Development Guideline, Potential of Tourism Attraction, Natural Tourism Attraction, Khao Samsib Sang and Khao Kieow Community Forest

Article Details

How to Cite
ใจอดทน ศ. (2018). แนวทางการพัฒนากายภาพแหล่งทรัพยากรท่องเที่ยวทางธรรมชาติ กรณีศึกษา ป่าชุมชนเขาสามสิบส่างและเขาเขียว จังหวัดนครราชสีมา The Physical Development Guideline for Natural Tourist Attraction: the Case Study of Khao Samsib Sang and Khao Kieow Community Forest, Nakhon Ratchasima Province. Asian Creative Architecture, Art and Design, 27(2), 109–125. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/169249
Section
Research Articles

References

กมลพร อัศวมงคลสว่าง. (2552). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ ธานี.
(วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ชุติมา สามารถ และเก็ตถวา บุญปราการ. (2559). การจัดการดูแลป่าชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านนิคมพัฒนา ที่ 1
ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ทักษิณ. 11(1), 193-235.
ดวงตา พิมลศิริ ,ชนินทร์ อัยวรรณ และปวีณา บัวแก้ว. (บ.ก.). (2558). องค์การบริหารส่วนตำบลมะเกลือเก่า. กรุงเทพฯ: สมาร์ท บิซิเนส ไลน์.
ถิรพร แสงพิรุณ. (2557). ศักยภาพพื้นที่เขาแม่กระทู้อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ต่อการพัฒนาเป็น แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 125
ปาณิตา แสไพศาล. (2554). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว : กรณีศึกษาทะเลน้อย ตำบลนางตุง อำเภอ ควนขนุน จังหวัดพัทลุง. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
รำไพพรรณ แก้วสุริยะ. (2547). การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: กองอนุรักษ์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ศราวุฒิ ใจอดทน. (2560). แนวทางการพัฒนากายภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. โฮมภูมิ. 3(1), 349-363.
ศิริ จรรยา ประพฤติกิ จ. (2553). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดตราด เพื่อจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. (ปริญญานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ). องค์การบริหารส่วนตำบลมะเกลือเก่า. (2557).
แผนพัฒนาสามปี (2558-2560). นครราชสีมา: องค์การบริหารส่วนตำบลมะเกลือเก่า. อุทยานธรณีโคราช. (2560). นม. 20 เขาสามสิบส่าง. เข้าถึงได้จาก: https://www.khoratgeopark.com/kgp/index.php/th/ข้อมูลท่องเที่ยว/tourism/14-tour/50-นม-20-เขาสามสิบส่าง.