Threats Affecting Physical Characteristics of the Old Waterfront Communities in the Chao Phraya River Basin

Main Article Content

Patiphol Yodsurang

Abstract

บทคัดย่อ


        ชุมชนเก่าริมน้ำในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำข้างเคียงอันได้แก่ ลุ่มน้ำบางปะกงและลุ่มน้าแม่กลองมีทั้งสิ้น 138 ชุมชน แต่ละชุมชนมีกลุ่มของรูปแบบการตั้งถิ่นฐานและลักษณะทางกายภาพต่างกันตามสภาพภูมิทัศน์วัฒนธรรมและกิจกรรมทางการเกษตรที่สัมพันธ์กับการไหลของแม่น้ำและพฤติกรรมของน้ำ ก่อกำเนิดวิถีชีวิตริมน้ำที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นเครือข่ายชุมชนริมน้ำที่มีความสัมพันธ์กันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่การเปลี่ยนแปลงเนื่องจากความต้องการของเศรษฐกิจสังคมร่วมสมัยที่รวดเร็วและรุนแรง ทำให้ชุมชนเก่าริมน้ำค่อย ๆ สูญเสียลักษณะเฉพาะบางประการหรือหายไปจนเราแทบไม่รู้ตัว


        บทความนี้มุ่งแสดงรูปแบบของภัยคุกคามต่าง ๆ ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อลักษณะทางกายภาพของชุมชนเก่าริมน้ำเพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจความเปลี่ยนแปลงต่อชุมชนเก่าริมน้ำในอนาคต โดยการนำเสนอข้อมูลทางด้านสถาปัตยกรรม ภูมิทัศน์วัฒนธรรม และชุมชน ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณโดยอาศัยการประเมินด้วยเครื่องมือสำรวจอย่างเร็วในระดับเมือง ร่วมกับการศึกษาเอกสารประกอบการวิเคราะห์ข้อมูล และอภิปรายผลที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและภัยคุกคามที่มีผลต่อชุมชนเก่าริมน้ำ ซึ่งพบว่าความเป็นเมืองและโครงสร้างพื้นฐานที่สร้างขึ้นมาหลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปี พ.ศ. 2554 เช่น การสร้างเขื่อนริมน้ำ การสร้างถนนที่ใช้เป็นคันกั้นน้ำ เป็นต้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพและภูมิทัศน์วัฒนธรรมของชุมชนเก่าริมน้ำ โดยเฉพาะในกลุ่มตลาดเมืองท่าริมน้ำอันมีผลโดยตรงในการทำให้ชุมชนต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และอาจส่งผลกระทบต่อชุมชนอื่น ๆ ในภาพรวม


คำสำคัญ: ชุมชนริมน้ำ ความเปลี่ยนแปลง ภัยคุกคาม ลักษณะทางกายภาพ ที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา


Abstract


        There are 138 old waterfront communities along the Chao Phraya river basin and the other neighborhood river basins, including Bang Pakong and Mae Klong river basins. Each community had its own settlement patterns and physical characteristics varied by cultural landscapes and agricultural activities in relating to river flow and behavior. This shaped a unique water-based livelihood and created a network of waterfront communities linking a life from past to present. However, without realizing, several communities started to lose their characteristics, or even disappear, due to the rapid and unprecedented changes of social and economy demands of contemporary society.


        To understand the fundamental changes of the communities’ characteristics, the patterns of threats that affected physical characteristics of the old waterfront communities were revealed. This article reviewed the information of traditional architecture, cultural landscape, and community. A mixed method was implemented through both quantitative research on rapid surveys in community level and qualitative research on documentation and literature review. Issues relating threats that affected traditional waterfront communities were analyzed and discussed. The result revealed the factors that affecting the physical and cultural landscape changes, especially in the river port town, that were the urbanization and the irrigation infrastructures, e.g., a construction of the dam and the road that serves as a water barrier, which were developed by the government after the 2011 floods. These caused the changes of the community’s way of life, and systematically affected the traditional community’s network.


Keywords: Waterfront Community, Threats, Changes, Physical Characteristics, Chao Phraya River Basin

Article Details

How to Cite
Yodsurang, P. (2019). Threats Affecting Physical Characteristics of the Old Waterfront Communities in the Chao Phraya River Basin. Asian Creative Architecture, Art and Design, 28(1), 21–34. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/169599
Section
Research Articles

References

กิริยา กุลกลการ และ ธนะพงษ์โพธิปิติ. (2543). ทฤษฎีไร้ระเบียบ (Chaos Theory) กับทฤษฎีแบบใหม่ (New Economy). ชีพจรเศรษฐกิจ. 8 (5), 19-24.
เกียรติ จิวกุล. (2525). ตลาดในกรุงเทพมหานคร: การขยายตัวและพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2553). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยมาตรฐานที่อยู่อาศัยและชุมชนเพื่อคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง. กรุงเทพฯ: ฝ่ายวิชาการพัฒนาที่อยู่อาศัย การเคหะแห่งชาติ.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2551). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชรินทร์พรรณ อะสีติรัตน์. (2553) การจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กับวิถีชีวิตชุมชน กรณีศึกษาตลาดน้ำอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาชนบทศึกษาและการพัฒนา สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ปูรณ์ ขวัญสุวรรณ. (2558). ย่านชุมชนเก่า: นิยาม คุณค่า กลไกการฟื้นฟู สู่ชีวิตประจำวัน. วารสารวิชาการคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. 20 (1), 1-17.
ผู้จัดการออนไลน์. (2559). ไฟไหม้ตลาด “บางหลวง รศ.122” ในอำเภอบางเลน นครปฐม เบื้องต้นวอด 30 คูหา. เข้าถึงได้จาก: https://mgronline.com/local/detail/9590000100148.
วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2551). พรรณนาภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา เอกสารจากหอหลวง: ฉบับความสมบูรณ์. มรดก ความทรงจำแห่งพระนครศรีอยุธยา: เล่ม 1. กรุงเทพฯ: อุษาคเนย์.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2558). โครงการจัดทำมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม ศิลปกรรมประเภทย่านชุมชนเก่า. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
สำนักงานเกษตรอำเภอเสนา. (2559). แผนการจัดการพื้นที่การผลิตข้าวภายใต้โครงการบริหารจัดการเขตเกษตร เศรษฐกิจสำหรับสินค้าเกษตรที่สำคัญ. อยุธยา: กรมส่งเสริมการเกษตร.
อมร กฤษณพันธุ์. (2555). สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในบริบทพลวัตภูมิทัศน์วัฒนธรรม: กรณีศึกษา ชุมชนชาวแพ แม่น้ำสะแกกรัง จ.อุทัยธานี. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย (Built Environment Inquiry – BEI). 11 (1), 1-13.
Foundation of Reclaiming Rural Agriculture and Food Sovereignty Action (RRAFA). (2007). Endangered: Small Rice Farmers—The Impact of the Agreement on Agriculture on Small Rice Farmers in Thailand. Retrieved from: https://www.panap.net/sites/default/files/endangered_smallrice farmers-thailand.pdf.
Google (n.d.). [ตลาดสดเสนา คลองรางจรเข้]. Retrieved from: https://www.google.co.th/maps/@14.3534918, 100.3860183,13z?hl=th. Hinkle,
D.E, William, W. and Stephen G. J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4th ed. New York: Houghton Mifflin.
Panin, O. (1999). The Central Region Thai Vernacular Houses. In International Conference on Conservation and Revitalization of Vernacular Architecture and ICOMOS-CIAV Annual Meeting. (pp. 38-58). Bangkok: Thailand.
Taiyun, W. and Viliam, S. (2017). R package "corrplot": Visualization of a Correlation Matrix (Version 0.84). Retrieved from: https://github.com/taiyun/corrplot.
Yodsurang, P., and Uekita, Y. (2016). A Traditional Waterfront Community in the Chao Phraya River Basin II: Influence of Water Circulation on the Traditional Living Culture according to the Settlement Pattern. Asian Culture and History. 8(1), 112-125.
Yodsurang, P., Miki, H., and Uekita, Y. (2016). A Traditional Waterfront Community in the Chao Phraya River Basin: Classification and Characteristics of a Waterfront Community Complex. Asian Culture and History. 8(1), 57-68.