การวางแผนป้องกันการบุกรุกพื้นที่และพัฒนาสภาพภูมิทัศน์ คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต และคลองสาขา จังหวัดสมุทรปราการ The Planning on the Prevention of Land Invasion and Environmental Landscape Development at Klong Pra-ong Jao Chaiyanuchit and Branches, Samutprakan
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ปัจจุบันคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิตและคลองสาขาและพื้นที่โดยรอบประสบปัญหาในด้านต่างๆ เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนเมืองทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากพื้นที่สาธารณะประโยชน์ไปเป็นพื้นที่อยู่อาศัย ก่อให้เกิดปัญหาการบุกรุกพื้นที่สาธารณะริมคลองสภาพพื้นที่ริมน้ำเสื่อมโทรม โครงการวิจัยนี้เกิดขึ้นเพื่อศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ริมคลอง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสำรวจ การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งข้อมูลทุติยภูมิ และข้อมูลปฐมภูมิ นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ประกอบด้วยการวิเคราะห์ ปัจจัยต่างๆ ลงผังพื้นฐานแผนที่การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา การใช้สถิติแบบร้อยละ นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาประมวลผล เพื่อสรุปถึงผังพื้นที่แสดงศักยภาพการป้องกันการบุกรุกและการพัฒนาสภาพภูมิทัศน์พื้นที่ริมน้ำคลองพระองค์ เจ้าไชยานุชิตและคลองสาขา และนำมาซึ่งการเสนอแนะพื้นที่ตัวอย่างในการป้องกันการบุกรุกและการพัฒนาสภาพภูมิทัศน์พื้นที่ริมคลอง พระองค์เจ้าไชยานุชิต
ผลการวิจัยสรุปถึงแนวทางการป้องกันการบุกรุกและการพัฒนาภูมิทัศน์คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต และคลองสาขา โดยกำหนดขอบเขตพื้นที่สาธารณะริมคลองให้มีความชัดเจน จัดทำทะเบียนที่สาธารณะประโยชน์และการกำหนดพื้นที่ตัวอย่างเพื่อการนันทนาการ การท่องเที่ยว และการคมนาคมทางน้ำ กำหนดวัตถุประสงค์ในการพัฒนาภูมิทัศน์บริเวณริมคลองเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการป้องกันการบุกรุกพื้นที่สาธารณะริมคลองและแนวคิดการออกแบบพื้นที่โล่งสาธารณะ
การเสนอแนะแนวทางการดำเนินการปฏิบัติแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือระยะที่1) ประกาศพื้นที่ห้ามบุกรุกพื้นที่สาธารณะริมคลองและปักหมุดในบริเวณที่เป็นพื้นที่โล่ง ระยะที่2) ดำเนินการจัดทำทะเบียนที่สาธารณะประโยชน์โดยการออกหนังสือสำคัญสาหรับที่หลวง (น.ส.ล.) ระยะที่ 3) จัดทำพื้นที่สาธารณะริมคลองตัวอย่างตามแนวคิดเป็นพื้นที่การนันทนาการ การท่องเที่ยว และการคมนาคมทางน้ำ เพื่อไม่ให้มีการบุกพื้นที่สาธารณะประโยชน์แบบยั่งยืน
คำสำคัญ: การใช้ประโยชน์ที่ดินริมคลอง ชุมชนริมน้ำ ภูมิทัศน์ นิเวศริมคลอง นันทนาการ
Abstract
Currently, Pra-ong Jao Chaiyanuchit Canal and its branches are experiencing various problems due to the expansion of urban areas, resulting in the change of land use from public area to residential area. This results in public space encroachment by the canal and its surrounding degraded area. The research project is initiated to study the solution to the problem of public space invasion of the canal area.
The methods used in this research are questionnaires, surveys, interviews, and observations. Both secondary and primary data were collected and analyzed. Based on area mapping, descriptive statistical analysis and percentage were evaluated resulting in the area map showing the potential area for prevention of land invasion and development of landscape area for Pra-ong Jao Chaiyanuchit Canal and its branches. The results are proposals of the area for planning for prevention of land invasion and environmental landscape development.
The results of this research are summarized as follows: The public area should be clearly defined by the canal. A recreational public space should be registered and developed as a local pilot area for tourism and water transportation; the objectives of the canal landscape development must be initiated to guide for the development planning of the public area by the canal and, a public space design concept.
The proposed actions to solve the public canal area invasion problem are divided into three phases: Phase 1, place a public notice to prohibit encroachment of identified open space as a public area along the canal; Phase 2, officially register the area for public recreational area and local officials are to take actions with offenders; and Phase 3, develop a pilot recreational project as a sample area along the canal according to the design concept for tourism and water transportation. This is to avoid the encroachment of public space for sustainable benefits for all.
Keywords: Waterfront Land Use, Waterfront Community, Landscape, Waterfront Ecology, Recreation
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
Copyright Transfer Statement
The copyright of this article is transferred to Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang with effect if and when the article is accepted for publication. The copyright transfer covers the exclusive right to reproduce and distribute the article, including reprints, translations, photographic reproductions, electronic form (offline, online) or any other reproductions of similar nature.
The author warrants that this contribution is original and that he/she has full power to make this grant. The author signs for and accepts responsibility for releasing this material on behalf of any and all co-authors.
References
นิติชาญ ปลื้มอารมย์. (2539). แนวทางการพัฒนาพื้นที่นันทนาการ บริเวณเขตรอบนอกกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร.
พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2473. (2473, 18 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 47 หน้า 442.
พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2535 (2535, 2 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109 ตอน 44 หน้า 8.
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ. 2457 (2457, 17 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 31 หน้า 229.
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 (2497, 30 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 71 ตอนที่. 78 ฉบับพิเศษ หน้า 1. 216
ยุทธพงศ์ ปิ่นอนงค์. (2559). ประมวลกฎหมายอาญา ปัญหาการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐสำนักงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม. (2540). การศึกษาความเป็นไปได้ใน การปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ริมคลองและขุมน้ำสาธารณะ เทศบาลเมืองภูเก็ต. ภูเก็ต: สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.
สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร. (2541). โครงการจัดหาและพัฒนาสวนสาธารณะ สนามเด็กเล่นและภูมิทัศน์ของเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร.
Müller, W. (1979). Stadtebau. Stutgart: Vieweg+Teubner Verlag. Pleumarom, N. (1988). Soziale,ökalogische und ästhetische Aspekte der Freiraumplanung in Bangkok. Kassel: Gesamthochschulbibliothek.